State of Finance for Nature 2023
รายงาน “State of Finance for Nature 2023” นำเสนอสถานะการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่โครงการการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ประจำปี 2023 และเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินมูลค่าของการไหลเวียนเงินทุนในเชิงลบต่อธรรมชาติจากทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration
“รายงาน “”The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration”” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหาร การอพยพ และการโยกย้ายถิ่น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศและความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อย่างไรก็ตาม รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการพยากรณ์ล่วงหน้าและระบบเตือนภัยล่วงหน้า และพบว่าเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างปี 2011 ถึง 2020 รายงานนี้รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและการประเมินผลกระทบจากผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศหลายสิบคน จาก National Meteorological and Hydrological Services, Regional Climate Centres สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ องค์กรภายใต้สหประชาชาติ” หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators
หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]
Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can Address Sustainable Development Challenges and the Triple Planetary Crisis
รายงาน “Nature-Based Infrastructure: How natural infrastructure solutions can address sustainable development challenges and the triple planetary crisis” นำเสนอผลการศึกษาว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based infrastructure) มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้มากถึง 79% ของเป้าหมายย่อยทั้งหมด และยังช่วยปิดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services: UNOPS) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Climate-changed Child
รายงาน “The Climate-changed Child” เป็นรายงานฉบับต่อยอดจากดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับเด็ก (Children’s Climate Risk Index) ปี 2011 โดยมุ่งเน้นไปที่เด็ก ๆ ที่ต้องเผชิญภัยคุกตามจากภาวะน้ำขาดแคลนและภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ควบคู่ไปกับการระบุถึงแนวทางสำคัญที่ประชาคมโลกต้องดำเนินการ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health
เอกสาร “Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health” เป็นกรอบปฏิบัติการด้านการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นไปที่การยกระดับความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศของระบบสุขภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการออกแบบระบบสุขภาพเชิงปฏิรูปที่สามารถให้บริการดูแลรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพได้แม้ว่าอยู่ในภาวะที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2023
รายงาน “The State of Food and Agriculture 2023” เสนอแนวทางประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ของระบบเกษตร-อาหาร (Agrifood System) เนื่องจากการสร้างระบบเกษตร-อาหารที่ยั่งยืนนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายเป้าหมาย และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประเมินต้นทุนที่แท้จริงในทุกระดับ นวัตกรรมด้านการวิจัยและข้อมูล และการลงทุนในการรวบรวมข้อมูลและเสริมสร้างขีดความสามารถด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals
รายงาน “Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals” ได้สำรวจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเสี่ยง (risk-informed sustainable development) มีลักษณะอย่างไรในโลกที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นไปที่การอธิบายความเชื่อมโยงของความเสี่ยงและการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (resilience) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพร้อมเผชิญภัยที่ซับซ้อนมากขึ้นอันเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นและภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวจะต้องเป็นศูนย์กลางในการวางกรอบการดำเนินงานวาระการพัฒนาหลังปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่