Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate
รายงาน “Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate” ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดและมลพิษทางอากาศ โดยค้นพบว่าปัญหาสุขภาพของแรงงาน ทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไตทำงานผิดปกติ และความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิต มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานยังศึกษาการตอบสนองของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงหรือสร้างกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ เช่น มาตรการประหยัดพลังงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action
รายงาน “UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action” เป็นรายงานฉบับแรกที่ศึกษาว่า “ปัญญารวมหมู่” (collective intelligence) สามารถยกระดับการรับมือกับปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ผ่านการระดมข้อมูลสภาพภูมิอากาศแบบเรียลไทม์ในพ้นที่อย่างละเอียด รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนจำนวนมากขึ้นและมุมมองที่หลากหลายขึ้น ให้ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว่าประเทศในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) กว่า 100 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) 36 ประเทศและกลุ่มรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States: SIDS) 38 ประเทศ วิเคราะห์โดย UNDP Accelerator Labs Network หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A Review in the Context of El Nino
เอกสารข้อสรุปเชิงนโยบาย “Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A review in the context of El Nino” ศึกษาผลกระทบของคลื่นความร้อนและภัยแล้งอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอล นีโญ (El Niño) ต่อความมั่นคงทางอาหาร ผลผลิตทางเศรษฐกิจ และงานดูแลของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงเน้นย้ำถึงอัตราการเกิดความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศที่น่าอันตรายในช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ เอกสารฉบับนี้ยังเสนอแนะแนวทางเชิงรุกที่คำนึงถึงมิติด้านเพศสภาพในการแก้ปัญหาทั้งด้านมนุษยธรรมและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติที่เกิดต่อผู้หญิง หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Guide for Adaptation and Resilience Finance
เอกสาร “Guide for Adaptation and Resilience Finance” เป็นคู่มือเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวและเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับและฟื้นคืนทางการเงินเมื่อต้องรับมือกับภัยพิบัติ โดยเสนอแนวทางในการบูรณาการการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction: DRR) เข้ากับแผนการเงินแห่งชาติ ผ่านหลายกิจกรรมที่แนะนำมากกว่า 100 รายการที่สามารถระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว เช่น การพัฒนาพืชที่ทนต่อสภาวะอากาศ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลรัฐ และการอนุรักษ์ป่าชายเลน ด้วยการลงทุนเหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินจากภัยพิบัติและเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนักลงทุนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN Office for Disaster Risk Reduction: UNDRR) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และบริษัทผู้สอบบัญชี KPMG ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2024 Financing for Sustainable Development Report: Financing for Development at a Crossroads
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2024: Financing for Development at a Crossroads” นำเสนอสถานการณ์การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่าความท้าทายด้านการเงินยังเป็นรากฐานปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการดำเนินการเพื่อแก้ไขและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ช่องว่างทางการเงินสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีขนาดใหญ่และกว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุมาจากทั้งกรอบนโยบายและกฎระเบียบที่ยังไม่สามารถกำหนดแรงจูงใจ (incentive) ที่เหมาะสม งบประมาณภาครัฐและการใช้จ่ายยังไม่สอดคล้องกับ SDGs อย่างเต็มที่ นักลงทุนภาคเอกชนยังขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนใน SDGs และในกิจกรรมเพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มากพอ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Hepatitis Report 2024: Action for Access in Low- and Middle-income Countries
รายงาน “Global Hepatitis Report 2024” เป็นรายงานฉบับรวบรวมเล่มแรกขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบและการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขและยา โดยมีข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินการ โดยเน้นไปที่ประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูง รายงานฉบับนี้ นำเสนอข้อมูลประมาณการล่าสุดเกี่ยวกับภาระของโรคและการเข้าถึงบริการไวรัสตับอักเสบที่จำเป็นจาก 187 ประเทศทั่วโลก แบ่งการวิเคราะห์ตาม 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Role of Volunteers in Leaving No One Behind: Supporting United Nations Entities and National Governments towards Realizing the 2030 Agenda for Sustainable Development
เอกสารการศึกษา “The Role of Volunteers in Leaving No One Behind: Supporting United Nations Entities and National Governments towards Realizing the 2030 Agenda for Sustainable Development” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับบทบาทของอาสาสมัครในการสนับสนุนเป้าหมายของการ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leave No One Behind) เน้นย้ำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และเสนอแนะนโยบายที่หน่วยงานภาครัฐบาลของชาติต่าง ๆ และองค์กรสหประชาชาติจะสามารถบูรณาการและส่งเสริมการทำงานของอาสาสมัครในกลยุทธ์การทำงานเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ (UN Volunteers: UNV) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific
เอกสาร “Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific” ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) สำหรับการจัดการน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้วิธีการป้องกันน้ำท่วมแบบเดิมไม่เพียงพอ NbS นำเสนอแนวทางใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบตามธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและยังก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รายงานนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีแนวทางที่ชัดเจนและกลไกการเงินเพื่อนำ NbS ไปใช้ในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การพัฒนาแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Development Centre) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่