Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons
คู่มือ “Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons” หรือ “คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งรวมถึงวงล้อสี SDGs และเครื่องหมาย (ไอคอน) SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย” (ฉบับปรับปรุงล่าสุด: พฤษภาคม 2020) ครอบคลุมแนวทางการใช้โลโก้ SDGs สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (non-UN entities) และอยู่ใต้องค์การสหประชาชาติ (UN entities) ข้อห้ามในการใช้โลโก้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งหมด ข้อกำหนดโดยละเอียดในการจัดวาง ขนาดและสัดส่วน การจับคู่โลโก้ วงล้อสี และเครื่องหมาย SDGs กับโลโก้อื่นเพื่อบริบทการใช้งานต่าง ๆ ฟอนต์และโค้ดสี พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดไฟล์โลโก้ทั้งหมดเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index
Policy Brief จากสถานการณ์โลกที่เผชิญกับภาวะโลกร้อน โรคระบาด วิกฤติภาวะทุพโภชนาการ และวิกฤติความขัดแย้งและการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้เด็กเปราะบางและมักตกเป็นเหยื่อ รายงานสรุปเชิงนโยบาย “Measuring children’s well-being: the Child Flourishing and Futures Index” จึงนำเสนอดัชนีโลก (global index) ที่สำรวจ 180 ประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับการที่เด็กจะมีได้มีสุขภาพที่ดีทั้งในวันนี้และในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ – Social justice and inequality journal
วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ ผ่านกระบวนทัศน์ในการนิยามและการรับรู้ นโยบายและกระบวนการทางนโยบายเพื่อยกระดับความเป็นธรรมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและปัจเจกบุคคลกับสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความเข้าใจต่ออำนาจในมิติอันหลากหลาย หน่วยงานที่จัดทำ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
Global Report on Food Crises 2020
รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2563 อธิบายถึงขนาดของความหิวโหยอย่างรุนแรงในโลก พร้อมวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติอาหาร และสำรวจสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่ามีผลต่อประเด็นความมั่นคงอาหารอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2020
รายงานความสุขโลกประจำปี 2020 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ และเป็นฉบับแรกที่มีการจัดอันดับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกตามความเป็นอยู่ที่ดี และเจาะลึกว่ามิติด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม พื้นที่เมือง และธรรมชาติ รวมกันนั้นส่งผลต่อความสุขของเราอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
บันทึกงานเสวนาหัวข้อ จาก ESG สู่ SDGs ทำไมจึงสำคัญ
วิดีโอบันทึก “การเสวนาหัวข้อ จาก ESG สู่ SDGs ทำไมจึงสำคัญ” เป็นช่วงหนึ่งของงานสัมมนา “From ESG to SDGs : Integrating SDGs Impact Measurement and Management Framework in Business and Investment Strategies” ซึ่งจัดโดยสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน สนับสนุนภาคเอกชนดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รับชมวิดีโอได้ที่นี่:
รายงานประเมินสถานะข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
“รายงานประเมินสถานะข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก” จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลสถานะตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในปัจจุบัน วิเคราะห์ช่องว่างของข้อมูลที่เกิดขึ้น ความก้าวหน้าการดําเนินงานในการพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัด ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ความท้าทายต่าง ๆ ในการทํางานเกี่ยวกับเรื่อง SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges
เอกสาร “GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges” รวบรวมและอภิปรายตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับ Global Citizenship Education (GCED) ที่ถูกนำปรับไปใช้ในแต่ละบริบทพื้นที่ มุมมองที่แตกต่างกันต่อ GCED จากผู้คนในประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ข้อกังวลของคนพื้นที่ต่อปัญหาระดับโลก และแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาด้วยการใช้แนวทาง GCED หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่