เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2562
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2562 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019
รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยในฉบับแรกภายใต้หัวข้อ “The Future is Now: Science for Achieving Sustainable Development” พบว่าการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมายกับระบบในสังคมที่เป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเสริมพลังกัน (synergy) และสวนทางกัน (trade-off) จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint external evaluation of IHR core capacities of New Zealand
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of New Zealand” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของประเทศนิวซีแลนด์ ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์กาารอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Six Transformations to achieve the Sustainable Development Goals
‘6 ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs’ เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Accord) มีมาตรการสำคัญ (Key Interventions) คือต้องดำเนินการควบคู่กันทั้ง 6 ด้าน เพื่อทำให้เกิดผลผลิต/ผลลัพธ์ขั้นกลาง (Intermediate Output/Outcome) ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs อีกต่อหนึ่ง ผู้แต่ง: Jeffrey Sachs และคณะ ดาวน์โหลดที่นี่
National Systems to Support Drinking-Water, Sanitation and Hygiene: Global Status Report 2019
รายงานสถานะระดับโลก ที่สำรวจระบบการบริหารจัดการน้ำสำหรับบริโภค สุขาภิบาล และระบบที่ส่งเสริมการมีสุขอนามัยที่ดีของ 115 ประเทศทั่วโลกในช่วงปี 2018 – 2019 รวมไปถึงการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ (external support agencies: ESAs) ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ:United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Building the Bridge To Reduce Armed Violence: Disrupt the Supply and Demand for Arms and Ammunition
รายงานวิจัยฉบับนี้นำเสนอบทวิเคราะห์ แนวปฏิบัติที่ดี และบทเรียนต่าง ๆ เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การบูรณาการการควบคุมอาวุธตามแบบ (conventional arms control) ในวิธีคิดและดำเนินการตามแนวทางการป้องกันและการพัฒนา (prevention and development) ซึ่งเป็นแนวคิดด้านการควบคุมอาวุธ สันติภาพ และความมั่นคงที่สอดแทรกอยู่ในวาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 โดยรายงานจะเน้นที่การจัดการกับอุปสงค์และอุปทานอาวุธ เพื่อให้สามารถลดความรุนแรงที่ใช้อาวุธลงได้ (armed violence) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (UN Institute for Disarmament Research – UNIDIR) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Africa SDG Index and Dashboards Report
รายงาน “2019 Africa SDG Index and Dashboards Report” เรียกร้องให้ประเทศในแอฟริกาลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และพัฒนาข้อมูลที่ต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยเน้นถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะผนวกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในยุทธศาสตร์ชาติ งบประมาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ SDG Center for Africa ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2019
Safeguarding against economic slowdowns and downturns รายงานฉบับนี้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าระดับโลกในการบรรลุ SDG 2 โดยได้ให้ข้อมูลการประมาณการล่าสุดของจำนวนผู้หิวโหยในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และข้อมูลล่าสุดของภาวะแคระแกร็นและภาวะผมแห้งในเด็ก รวมถึงโรคอ้วนในทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รายงานยังมีการวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนของความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะจากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่