Joint External Evaluation Tool: International Health Regulations (2005)-First Edition
รายงาน “Joint External Evaluation (JEE)” เป็นกระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและขีดความสามารถของประเทศหนึ่ง ๆ ในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านสาธารณสุข โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการติดตามและประเมินผลของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ที่เรียกว่า IHR Monitoring and Evaluation framework (2005) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
From the MDGs to Sustainable Development for All: Lessons from 15 Years of Practice
รายงาน “From the MDGs to Sustainable Development for All: Lessons from 15 Years of Practice” นำเสนอบทเรียนสำคัญจากยุค MDGs ซึ่งรวบรวมโดยรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเองผ่านรายงานความคืบหน้า MDGs ระดับชาติ ระหว่างปี 2013 ถึง 2015 โดยมี 55 ประเทศจัดทำรายงานความคืบหน้า MDGs ระดับชาติ และระบุบทเรียนที่นำไปใช้กับการดำเนินการ SDGs ในปัจจุบัน บทเรียนเหล่านี้อาจมีประโยชน์ในการนำไปใช้กับการดำเนินการ SDGs ในประเทศรายได้สูง แต่รายงานนี้มุ่งเน้นไปที่ประเทศรายได้น้อยและกำลังพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ Word Bank ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development
คู่มือ “Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผู้ที่ทำงานกับศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และองค์กรชุมชนอื่นๆ ในการพัฒนาความร่วมมือเพื่อยกระดับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นฐาน (community-based Education for Sustainable Development) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Institute for Lifelong Learning: UIL) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of World Population 2015
– Shelter From The Storm – A transformative agenda for women and girls in a crisis-prone world รายงานฉบับนี้เน้นความสำคัญของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยเฉพาะที่เป็นการให้บริการด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นในสภาพแวดล้อมของความขัดแย้ง/สงคราม และภัยพิบัติ รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs
คู่มือ “SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs” ฉบับนี้นำเสนอเครื่องมือและองค์ความรู้ให้กับภาคธุรกิจ โดยเน้นที่ธุรกิจขนาดใหญ่อย่างบรรษัทข้ามชาติ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงองค์กรด้านธุรกิจอื่น ๆ ว่าจะสามารถนำหลักการความยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผนวกในการพัฒนายุทธศาสตร์/กลยุทธ์ขององค์กร หรือในการบริหารจัดการ สถานที่ทำงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI), UN Global Compact และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ อังกฤษได้ ที่นี่
Health in 2015: from MDGs to SDGs
ปี 2558 เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ได้หมดวาระลง และได้เปลี่ยนมาเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แทน ซึ่งเป็นการกำหนดวาระการพัฒนาห้วงหลังจากปี 2558 จนถึง 2573 โดยรายงาน “Health in 2015: from MDGs to SDGs” ฉบับนี้ เป็นการทบทวนทิศทางการดำเนินงาน การขับเคลื่อน ตลอดจนความสำเร็จในช่วง 15 ปีก่อนปี 2558 และประเมินความท้าทายในช่วง 15 ปีข้างหน้าที่จะส่งผลต่อประเด็นด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2558
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2558 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
The Sustainable Development Goals: What Local Governments Need to Know
รายงาน “The Sustainable Development Goals: What Local Governments Need to Know” อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ กับภารกิจประจำวันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภูมิภาค นอกจากนี้ ยังระบุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดของแต่ละเป้าหมาย และเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายเหล่านี้กับวาระระดับโลกอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ HABITAT III เป็นต้น สามารถเข้าชมในรูปแบบเว็บไซต์ได้ด้วยที่ https://www.sdgs.uclg.org หน่วยงานที่จัดทำ: United Cities and Local Governments (UCLG) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่