Asia-Pacific Migration Data Report 2022
“รายงาน “”Asia-Pacific Migration Data Report 2022″” รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานล่าสุด และข้อมูลเชิงลึกในด้านแนวโน้มต่างๆ ที่สังเกตการณ์ได้ตลอดปี 2022 ซึ่งแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักของการโยกย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังคงทิ้งผลลัพธ์ทางอ้อมไว้ต่อผู้อพยพทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย-แปซิฟิกฉบับนี้เป็นรายงานฉบับที่สาม ที่จัดทำมาต่อเนื่องประจำปีนับตั้งแต่ปี 2020″ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Finance Landscape of Asia and the Pacific
รายงาน “Climate Finance Landscape of Asia and the Pacific” ประเมินภาพรวมสถานการณ์การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และวิเคราะห์แนวทางที่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนเหล่านี้เพื่อขยายการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นช่องว่างทางการเงิน เสนอแนะการพิจารณาแนวทางเพิ่มการลงทุนสำหรับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เงินทุนเหล่านี้ไปถึงยังประเทศและภาคส่วนที่ต้องการมากที่สุด หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2565 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2022) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Climate Litigation Report: 2023 Status Review
รายงาน “Global Climate Litigation Report: 2023 Status Review” ทบทวนภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันและเทรนด์การดำเนินคดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก รายงานนี้มุ่งเน้นเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้พิพากษา ทนายความ นักวิจัย นักสิ่งแวดล้อม นักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศ นักสิทธิมนุษยชน NGOs ภาคธุรกิจ และประชาคมโลก ที่สามารถแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านคดีส่วนใหญ่ที่ฟ้องร้องต่อศาล โดยรวบรวมข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2022 จาก Climate Change Litigation Databases ของ Sabin Center for Climate Change Law หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Journey of Food
อินโฟกราฟิก “The Journey of Food” แสดงภาพรวมของความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่าของระบบอาหาร พร้อมด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Green Jobs Policy Readiness Assessment in Thailand
รายงาน “Green Jobs Policy Readiness Assessment in Thailand” สรุปภาพรวมของกรอบนโยบายและกิจกรรมด้านงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green job) และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just transition) ในระดับมหภาคของประเทศไทย โดยรวมถึงขอบเขตและความสอดคล้องของนโยบายและยังประเมินความพร้อมของประเทศและภูมิภาคในการสนับสนุนงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับกิจกรรมใด ๆ ที่มุ่งสร้างศักยภาพเพื่อไปสู่การเกิดงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม หน่วยงานที่จัดทำ: Partnership for Action on Green Economy (PAGE) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship (GCS) Index 2022
การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2022 ให้ข้อมูลล่าสุดของการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) โดยรายงานฉบับนี้เผยให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกประสบความสำเร็จในการจัดการเพื่อบรรลุการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง (วัดโดย GDP ต่อหัวหรือดัชนีการพัฒนามนุษย์) และกลุ่มประเทศร่ำรวย เช่น ในกลุ่ม G20 ส่งผ่านผลกระทบทางลบในระดับสูงอันเป็นผลมาจากการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Rescuing SDG 11 for a Resilient Urban Planet
รายงาน “Rescuing SDG 11 for a resilient urban planet” แสดงสถานะของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ว่ายังห่างไกลจากความสำเร็จและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการดำเนินการในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่