Tracking Universal Health Coverage: 2023 Global Monitoring Report
รายงาน “Tracking universal health coverage: 2023 global monitoring report” ศึกษาความครอบคลุมของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับโลก ที่ทำให้เห็นสถานการณ์การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นที่ยากลำบากและอุปสรรคทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนยากจนและคนที่เปราะบางมากกว่าคนกลุ่มอื่น ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าโลกยังอยู่นอกเส้นทางสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาและขยายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สำเร็จได้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda
รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
“คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” ให้ข้อมูลรายละเอียดของ ‘กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งเดิมคือกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบ ภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda
รายงาน “Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda” นำเสนอข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับเพื่อแสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการโยกย้ายถิ่นฐานสามารถช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อที่ประชุม SDG Summit ปี 2023 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023
รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines
รายงาน “Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines” นำเสนอประมาณการแนวโน้มความยากจนในเด็ก 10.4 ล้านคนจาก 147 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2013 – 2022 พบว่ามีเด็กประมาณ 333 ล้านคนทั่วโลก หรือ 1 ใน 6 ใช้ชีวิตอยู่ความยากจนขั้นรุนแรง (มีระดับรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อวันต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐ) และจากการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าระดับปัจจุบัน การยุติความยากจนขั้นรุนแรงในเด็กจะไม่สามารถบรรลุได้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together
รายงาน “Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together” เป็นรานงานฉบับแรกที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ทั้งหมด 14 ท่าน เพื่อให้ภาพรวมและคำแนะนำสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ส่งเสริมกัน (synergy) บนฐานของข้อมูล หลักฐาน และประสบการณ์จากคนทำงานแนวหน้าเอง หน่วยงานที่จัดทำ: UNDESA และ UNFCCC ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions
หนังสือ “Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions” วิเคราะห์บทบาทของบริษัทในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงวิธีการสร้างกรอบการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่มีประสิทธิภาพ และร่างกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นสำหรับกิจกรรมและการลงทุนที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่