Sustainable Development Goal Interactions Through A Climate Lens: A Global Analysis
รายงาน “Sustainable Development Goal interactions through a climate lens: a global analysis” วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญกับการดำเนินการตามความพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5°C ว่าสามารถทำงานร่วมกันหรือขัดแย้งกันอย่างไร และเสนอข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการดำเนินการทั้งสองมิติดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Stockholm Environment Institute (SEI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Child-responsive Urban Policies, Laws and Standards: A Guidance
คู่มือ “Child-responsive urban policies, laws and standards: a guidance” พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนภาครัฐในการสร้างพื้นที่เขตเมืองที่เด็กสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน อากาศและน้ำสะอาดได้ รวมถึงรู้สึกปลอดภัยที่จะเล่น เรียนรู้ และเติบโต โดยรับฟังความต้องการของเด็กเข้ามาในนโยบายสาธารณะและกระบวนการตัดสินใจด้วย และชี้ให้เห็นว่านโยบายและกฎหมายมีบทบาทในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประเด็นดังกล่าวอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World
รางาน “World Social Report 2023” มาในธีม Leaving No One Behind in an Ageing World แสดงสถานการณ์ของผู้สูงอายุ และประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างความสูงวัยของประชากรและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การดูแลสุขภาพ และการบริบาลในระยะยาวของผู้สูงวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas
เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Managing Smart City Governance – A playbook for Local and Regional Governments
เอกสาร “Managing smart city governance – A playbook for local and regional governments” ฉบับนี้มุ่งเน้นสร้างประโยชน์ให้แก่องค์การการปกครองท้องถิ่น ผู้นำทางการเมือง ผู้บริหารระดับท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะ ในการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และยั่งยืนสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลของเมืองต่าง ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566
รายงาน “สถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566” นำเสนอสถานะข้อมูลตัวชี้วัด (indicators) SDGs ของประเทศไทยทั้ง 17 เป้าหมาย ตามกรอบตัวชี้วัดสากลขององค์การสหประชาชาติ เป็นรายงานฉบับที่สองต่อเนื่องจากฉบับปี 2562 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของข้อมูลตัวชี้วัดแต่ละตัว หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
ASEAN Sustainable Urbanisation Report
รายงาน “ASEAN Sustainable Urbanisation Report” ฉายภาพความหลากหลายของบริบทเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของเมืองรอง (Secondary Cities) ที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการเสริมสร้างศักยภาพของเมืองเหล่านี้อย่างเต็มที่ รายงานนี้มุ่งหวังส่งเสริมความเข้าใจถึงโอกาสและความท้าทายของการพัฒนาเมืองและเน้นวิธีการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดอนาคตเมืองที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights
คู่มือกระบวรกร “Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights” ฉบับนี้จะช่วยให้กระบวนกรนำกิจกรรมเวิร์กช็อปสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิด้านสุขภาพอนามัยทางเพศและการสืบพันธุ์แก่เยาวชนได้ง่ายขึ้น เยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบบางประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิทธิและสุขภาพของตนเอง ไปจนถึงสุขภาพของผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรวม จุดมุ่งหมายคือการเสริมพลังให้เยาวชนผ่านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวคิดรวมถึงแรงจูงใจให้เยาวชนลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่และระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่