The State of Food Security and Nutrition in the World 2021
Transforming food systems for food security, improved nutrition and affordable healthy diets for all รายงานนี้นำเสนอการประเมินความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการระดับขอปี 2020 และบ่งชี้ว่าสถานการณ์ความหิวโหยจะเป็นอย่างไรภายในปี 2030 ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีการประมาณการใหม่เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ในภาพรวม รายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการสะท้อนคิดถึงวิธีจัดการกับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของโลกเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Online Employability Resources for Youth 2021
“ONLINE EMPLOYABILITY RESOURCES FOR YOUTH 2021” เป็นคู่มือเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ทักษะออนไลน์แหล่งค้นหางานออนไลน์ สถานที่ฝึกงาน งานอาสาสมัคร และข้อมูลทุนการศึกษาสำหรับเยาวชนในประเทศไทย หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาทักษะใหม่ ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รายงาน “การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ((Bringing the School to the Students: Education Provision for Disadvantaged Children in the ‘District Schools’ of Mae Hong Son Province) นำเสนอข้อมูลประวัติความเป็นมา บทเรียนที่ได้รับจากการทำโครงการ “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอื่น ๆ โดยเป็นบทเรียนเฉพาะจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Summary Progress Update 2021: SDG 6 – Water and Sanitation for All
รายงานสรุปภาพรวมของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำและสุขาภิบาล ในปี 2021 ที่ได้ดำเนินการโดยโครงการ UN-Water Integrated Monitoring Initiative on SDG 6 (IMI-SDG6) ที่ติดตามการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 โดยอาศัยข้อมูลตัวชี้วัด SDG6 ของแต่ละประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2020
รายงานสถานการณ์และข้อมูลของการเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 2000 – 2020 และการประเมินสถานการณ์สำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน นอกจากนั้น ถือเป็นรายงานฉบับแรกที่ได้รวมเรื่องการจัดการสุขอนามัยประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “COVID-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Implications of the COVID-19 Pandemic for Commercial Contracts Covering the Transportation of Goods in the Asia-Pacific Region and Beyond
รายงาน “Implications of the COVID-19 pandemic for commercial contracts covering the transportation of goods in the Asia-Pacific region and beyond”เกี่ยวกับการขนส่งและการค้าในช่วงยุคของการแพร่รระบาด Covid-19 โดยจุดประสงค์ของรายงานฉบับนี้จัดทำเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลและผู้ให้บริการด้านขนส่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เกี่ยวกับกฏหมายการค้าที่ต้องเผชิญในช่วง Covid-19 รวมถึงตัวรายงานยังได้สรุปข้อสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบทางกฏหมายต่อการค้าระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ : คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด : รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี่
Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook
คู่มือ “Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook” นำเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการบูรณาการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) เข้ากับนโยบายและระบบการศึกษาในประเทศ พร้อมตัวอย่างจากหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่