2018 U.S. Cities SDGs Index
รายงาน “2018 U.S. Cities SDGs Index” จัดอันดับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหานคร (เมือง) ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดจำนวน 100 แห่งในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Botswana
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Botswana” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐบอตสวานา ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด : เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG 6 Synthesis Report 2018 on Water and Sanitation – Executive Summary
บทสรุปผู้บริหารของรายงานสถานการณ์และความคืบหน้าในประเด็นน้ำสะอาด และสุขาภิบาลของโลก ในปี 2018 หรือเป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล (ฉบับย่อ)
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล โดยศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) แปลและเรียบเรียงจาก Global Taskforce of Local and Regional Governments และ UN Habitat สำหรับการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ (Localizing SDGs) คือ กระบวนการที่นำเอาบริบทเชิงพื้นที่เข้าไปผนวกในยุทธศาสตร์การดำเนินงานเรื่อง SDGs ของประเทศ และในระดับภายในประเทศ (Sub National) กระบวนการนี้มีความสำคัญเพราะว่าเป้าประสงค์ของ SDGs แทบทุกข้อเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นทั้งสิ้น
World Health Statistics 2018: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2018: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เน้นประเด็นด้านสุขภาพ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสุขภาพ เป้าประสงค์หรือเป้าหมายย่อยที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลดัชนีของ SDGs ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสุขภาพ (health-related SDG indicators) ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวยังเชื่อมโยงกับความสำคัญทางยุทธศาสตร์ 3 อันดับต้นของแผนงาน 13th General Programme of Work 2019-2023 ขององค์การอนามัยโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool
เอกสาร “International Health Regulations (2005): guidance document for the State Party self-assessment annual reporting tool” ฉบับนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้คำแนะนำแก่รัฐภาคีในข้อตกลงกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ในการใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเองและผลผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตาม ภายใต้มาตราที่ 54 ว่าด้วยเรื่องการรายงานและทบทวน IHR ต่อที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly – WHA) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
International Health Regulations (2005): State Party Self-assessment Annual Report Tool
เอกสาร “International Health Regulations (2005): State Party self-assessment annual reporting tool” เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินตนเองของรัฐภาคีที่ได้เข้าร้วมข้อตกลงกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ซึ่งมีผลผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตาม มาตราที่ 54 ว่าด้วยเรื่องการรายงานและทบทวน IHR ต่อที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly – WHA) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่