Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems
เอกสาร “Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems” นำเสนอสรุปงานวิจัยแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสวัสดิการสังคมทั่วโลก และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งเกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดหย่อนภัยคุกคามดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Unjust Climate
รายงาน “The Unjust Climate” นำเสนอผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อรายได้และการปรับตัวของคนในพื้นที่ชนบทที่แตกต่างกันเพราะเพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ และอายุของประชากร โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง 24 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาคของโลก จากครัวเรือนในชนบททั้งหมด 109,341 ครัวเรือน (คิดเป็นประชากรชนบทกว่า 950 ล้านคน) วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝนรายวันและอุณหภูมิที่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์ 70 ปี เพื่อช่วยในการแยกแยะว่าสภาวะกดดันด้านสภาพภูมิอากาศแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อรายได้จากกิจกรรมการเกษตร/นอกการเกษตรและรายได้รวม การจัดสรรแรงงาน และการปรับตัวของผู้คนอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin
รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Resources Outlook 2024
รายงาน “Global Resources Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์การใช้ทรัพยากรของโลก โดยพบว่าการดึงทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 60% ภายในปี 2060 หากเราไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้ทรัพยากร การดำเนินการที่ไม่ยั่งยืนเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) และ International Resource Panel (IRP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Waste Management Outlook 2024
รายงาน “Global Waste Management Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์วิกฤติขยะที่กำลังใกล้เข้ามา มีการคาดการณ์ว่าปริมาณขยะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ส่งผลให้ต้นทุนการจัดการขยะจะเพิ่มขึ้นตามเป็นสองเท่า อย่างไรก็ตามต้นทุนนี้หลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดปริมาณขยะอย่างจริงจังเท่านั้น รายงานเสนอแนวทางการเปลี่ยนไปสู่ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ที่มองขยะเป็นทรัพยากร ไม่ใช่สิ่งของไร้ค่า ด้วยการควบคุมการเกิดขยะ ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการจัดการขยะที่ดีขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move
เอกสาร “Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move” ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักพัฒนา เพื่อสนับสนุนเยาวชนในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะสีเขียว (Green Skills) หรือทักษะความรู้ที่จำเป็นในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นย้ำความครอบคลุมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่ย้ายถิ่นฐาน ผู้ลี้ภัย และเยาวชนที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานในการมีส่วนร่วมหารือและความพยายามที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ยูนิเซฟ และธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries
เอกสารชุดตัวชี้วัด “Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries” ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการวัดและติดตามความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของระบบสุขภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต เพื่อช่วยปิดช่องว่างด้านการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับชาติและภูมิภาค ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข และองค์กรที่ทำงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพโดยเฉพาะ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่