Global Status Report on Road Safety 2023
รายงาน “Global Status Report on Road Safety 2023” นำเสนอสถานะความปลอดภัยบนท้องถนนทั่วโลก ระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อปีในระดับโลกลดลงเล็กน้อยเหลือ 1.19 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความพยายามในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นกำลังได้ผลจริง และหากมีการใช้มาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะลดการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนลงได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Child Marriage Data Portal
เว็บไซต์ “”Child Marriage Data Portal”” นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดการแต่งงานในเด็กและประเด็นที่เกี่ยวข้องในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งานในรูปแบบ interactive พัฒนาโดย The Child Marriage Monitoring Mechanism (CMMM) มีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลสนับสนุนที่เชื่อถือได้เพื่อประเมินสถานการณ์ในประเทศเฉพาะแก่ผู้กำหนดนโยบายและผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการยุติปัญหาการแต่งงานในวัยเด็ก นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเจ้าหน้าที่กระทรวง องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มชุมชน เว็บไซต์นี้จัดแสดงข้อมูลและแนวโน้มระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ในอดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต จากนั้นข้อมูลจะถูกแบ่งย่อยเพื่อเน้นย้ำถึงความแตกต่างภายในและระหว่างประเทศ โดยพิจารณาจากฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัยในชนบทหรือในเมือง และยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลระดับประเทศกับข้อมูลระดับโลกและภูมิภาคได้ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023
“รายงาน “”Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023 Statistics and Trends”” ในรูปแบบรายงานดิจิทัล นำเสนอสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการล่าสุดของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเน้นย้ำถึงความก้าวหน้า (หรือความล่าช้า) ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะ SDG 2 ยุติความหิวโหย และเป้าหมาย World Health Assembly 2030 ด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สถิติล่าสุดพบว่า ภูมิภาคนี้มีผู้ขาดสารอาหารมากถึง 370.7 ล้านคน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของตัวเลขทั้งโลก เช่นเดียวกัน โดยผู้หญิงมีภาวะขาดแคลนอาหารมากกว่าผู้ชาย อัตราการเกิดภาวะแคระแกร็น ผอมแห้ง และน้ำหนักเกินในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รวมถึงภาวะโลหิตจางในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายโภชนาการทั่วโลกของ World Health Assembly” หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ […]
State of Finance for Nature 2023
รายงาน “State of Finance for Nature 2023” นำเสนอสถานะการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่โครงการการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ประจำปี 2023 และเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินมูลค่าของการไหลเวียนเงินทุนในเชิงลบต่อธรรมชาติจากทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration
“รายงาน “”The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration”” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหาร การอพยพ และการโยกย้ายถิ่น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศและความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อย่างไรก็ตาม รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการพยากรณ์ล่วงหน้าและระบบเตือนภัยล่วงหน้า และพบว่าเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างปี 2011 ถึง 2020 รายงานนี้รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและการประเมินผลกระทบจากผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศหลายสิบคน จาก National Meteorological and Hydrological Services, Regional Climate Centres สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ องค์กรภายใต้สหประชาชาติ” หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators
หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]
Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can Address Sustainable Development Challenges and the Triple Planetary Crisis
รายงาน “Nature-Based Infrastructure: How natural infrastructure solutions can address sustainable development challenges and the triple planetary crisis” นำเสนอผลการศึกษาว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based infrastructure) มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้มากถึง 79% ของเป้าหมายย่อยทั้งหมด และยังช่วยปิดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services: UNOPS) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement
รายงาน “Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement” เป็นรายงานการวิเคราะห์สถานะของการแก้ปัญหาการพลัดถิ่นภายในประเทศ (Internal Displacement) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างครอบคลุม โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศต้องเผชิญจากกลุ่มประเทศนำร่อง 15 ประเทศ ประกอบด้วยอัฟกานิสถาน, สาธารณรัฐอัฟริกากลาง, ชาด, โคลอมเบีย, เอธิโอเปีย, อิรัก, ลิเบีย, โมซัมบิก, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, โซมาเลีย, ซูดานใต้, ซูดาน, วานูอาตู และเยเมน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่