Health Equity for Persons with Disabilities: Guide for Action
เอกสาร “Health Equity for Persons with Disabilities: Guide for Action” เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของคนพิการ ซึ่งรายงานของ WHO พบว่าคนพิการมักเสียชีวิตเร็วกว่า มีสุขภาพไม่ดี และได้รับผลกระทบจากโรคภัยไข้เจ็บมากกว่าคนทั่วไป คู่มือฉบับนี้จึงเสนอแนวทางให้ประเทศต่างๆ ปรับปรุงระบบสุขภาพ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ คู่มือ “Active Learning on Biodiversity and Climate Change: ABC” เพื่อช่วยในการสอนเด็กอายุ 7-18 ปีเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คู่มือนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และเครือข่ายเยาวชน โดยประกอบด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Guide for Adaptation and Resilience Finance
เอกสาร “Guide for Adaptation and Resilience Finance” เป็นคู่มือเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวและเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับและฟื้นคืนทางการเงินเมื่อต้องรับมือกับภัยพิบัติ โดยเสนอแนวทางในการบูรณาการการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction: DRR) เข้ากับแผนการเงินแห่งชาติ ผ่านหลายกิจกรรมที่แนะนำมากกว่า 100 รายการที่สามารถระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว เช่น การพัฒนาพืชที่ทนต่อสภาวะอากาศ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลรัฐ และการอนุรักษ์ป่าชายเลน ด้วยการลงทุนเหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินจากภัยพิบัติและเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนักลงทุนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN Office for Disaster Risk Reduction: UNDRR) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และบริษัทผู้สอบบัญชี KPMG ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move
เอกสาร “Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move” ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักพัฒนา เพื่อสนับสนุนเยาวชนในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะสีเขียว (Green Skills) หรือทักษะความรู้ที่จำเป็นในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นย้ำความครอบคลุมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่ย้ายถิ่นฐาน ผู้ลี้ภัย และเยาวชนที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานในการมีส่วนร่วมหารือและความพยายามที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ยูนิเซฟ และธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries
เอกสารชุดตัวชี้วัด “Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries” ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการวัดและติดตามความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของระบบสุขภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต เพื่อช่วยปิดช่องว่างด้านการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับชาติและภูมิภาค ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข และองค์กรที่ทำงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพโดยเฉพาะ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion (GSI) into Planning and Budgeting in Thailand
คู่มือ “Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion (GSI) into Planning and Budgeting in Thailand” หรือ การบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตลักษณ์ทางเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคมเข้าสู่การวางแผนและการจัดทำงบประมาณในประเทศไทย เป็นแนวทางปฏิบัติที่มุ่งสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐของไทยในการบูรณาการมิติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและมิติเพศ-สังคมเข้าสู่การทำงานและการจัดงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators
หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]
Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health
เอกสาร “Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health” เป็นกรอบปฏิบัติการด้านการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นไปที่การยกระดับความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศของระบบสุขภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการออกแบบระบบสุขภาพเชิงปฏิรูปที่สามารถให้บริการดูแลรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพได้แม้ว่าอยู่ในภาวะที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่