คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย
“คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย” (AN ARCHITECTURE GUIDE to the UN 17 Sustainable Development Goals (THAI VERSION) ให้ตัวอย่างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่การออกแบบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของการมีสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างที่สามารถสนับสนุน SDGs แต่ละเป้าหมายอย่างไร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสีเขียวและยั่งยืนที่ดีที่สุดในบริบทของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: มูลนิธิอาคารเขียวไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets
Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets เป็นแนวทางเเนะนำ (guidance) ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2022 เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้สำหรับบูรณาการ SDGs เข้ากับกระบวนการรายงานความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปรียบเทียบและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI) และ UN Global Compact (UNGC) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model
เอกสาร “Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model” นำเสนอกรอบแนวทางของประเทศไทยในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และเร่งรัดความสำเร็จผ่านโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แยกตามรายมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่
คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
“คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
เอกสาร “ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 จำนวน 23 ฉบับ (แผนระดับที่ 2) และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Directory of Stateless Children Protection Stakeholders
เอกสารรวบรวมรายชื่อองค์กรและหน่วยงานทั่วประเทศไทยที่ทำงานเพื่อสนับสนุนและคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
“คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism)” ให้กระบวนการและองค์ความรู้ที่จะเปลี่ยนภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบในตลาดท่องเที่ยวโลก หน่วยงานที่จัดทำ: ฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่