บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ
คู่มือ “บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ” (Parliament’s role in Implementing the Sustainable Development Goals) ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สมาชิกรัฐสภานำไปใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของรัฐสภาในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons
คู่มือ “Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons” หรือ “คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งรวมถึงวงล้อสี SDGs และเครื่องหมาย (ไอคอน) SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย” (ฉบับปรับปรุงล่าสุด: พฤษภาคม 2020) ครอบคลุมแนวทางการใช้โลโก้ SDGs สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (non-UN entities) และอยู่ใต้องค์การสหประชาชาติ (UN entities) ข้อห้ามในการใช้โลโก้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งหมด ข้อกำหนดโดยละเอียดในการจัดวาง ขนาดและสัดส่วน การจับคู่โลโก้ วงล้อสี และเครื่องหมาย SDGs กับโลโก้อื่นเพื่อบริบทการใช้งานต่าง ๆ ฟอนต์และโค้ดสี พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดไฟล์โลโก้ทั้งหมดเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565)
เอกสาร “แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565)” (Thailand’s 1st National Action Plan on Business and Human Rights (NAP)) เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในการป้องกัน บรรเทา และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการประกอยธุรกิจ โดยเชื่อมโยงกับนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และพันธกรณีระหว่างประเทศ กับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) หน่วยงานที่จัดทำ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
สื่อ “สาร” ให้เข้าถึง : คู่มือนักข่าวสำหรับการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก
คู่มือ “Getting the Message Across : Reporting on Climate Change and Sustainable Development in Asia and the Pacific: A Handbook for Journalists” หรือ “สื่อ “สาร” ให้เข้าถึง : คู่มือนักข่าวสำหรับการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก” ให้ข้อมูลที่คัดสรรมาเพื่อนักข่าวโดยเฉพาะในการเล่าเรื่องราวของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และมุมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยสามารถเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและไทยได้ ที่นี่
WHO benchmarks for International Health Regulations (IHR) capacities
คู่มือ “WHO benchmarks for International Health Regulations (IHR) capacities” เครื่องมือส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ในการรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพและบูรณาการตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ให้บรรลุและมีความพร้อมที่จะป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามและสถานการณ์ต่าง ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ (The Big Conversation: Handbook to Address Violence against Women in and through the Media)
“การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกับองค์กรสื่อในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ส่งเสริมคุณค่าของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติผ่านการสร้างเนื้อหาที่สื่อผลิตขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
Integrating Education for Sustainable Development (ESD) in Teacher Education in South-East Asia
คู่มือ “Integrating Education for Sustainable Development (ESD) in Teacher Education in South-East Asia” นำเสนอขั้นตอนแนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติเพื่อบูรณาการการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าในโครงการและแนวปฏิบัติของครู/อาจารย์ ซึ่งจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บริหารสถาบันการศึกษา ผู้พัฒนาหลักสูตร นักการศึกษา และผู้ฝึกอบรมครู นำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template
เอกสาร “Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template” อธิบายวิธีการและข้อมูลเพื่อการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) ลงในแนวทางการสอนของครูผู้สอน ผ่านกรอบแนวคิดในการสร้างการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นถึงศิลปะของการสอน GCED ด้วยตัวอย่างการสอนที่สร้างสรรค์ที่จะทำให้เห็นว่า GCED สามารถรวมเข้ากับสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่