แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล (ฉบับย่อ)
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล โดยศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) แปลและเรียบเรียงจาก Global Taskforce of Local and Regional Governments และ UN Habitat สำหรับการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ (Localizing SDGs) คือ กระบวนการที่นำเอาบริบทเชิงพื้นที่เข้าไปผนวกในยุทธศาสตร์การดำเนินงานเรื่อง SDGs ของประเทศ และในระดับภายในประเทศ (Sub National) กระบวนการนี้มีความสำคัญเพราะว่าเป้าประสงค์ของ SDGs แทบทุกข้อเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นทั้งสิ้น
International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool
เอกสาร “International Health Regulations (2005): guidance document for the State Party self-assessment annual reporting tool” ฉบับนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้คำแนะนำแก่รัฐภาคีในข้อตกลงกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ในการใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเองและผลผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตาม ภายใต้มาตราที่ 54 ว่าด้วยเรื่องการรายงานและทบทวน IHR ต่อที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly – WHA) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
International Health Regulations (2005): State Party Self-assessment Annual Report Tool
เอกสาร “International Health Regulations (2005): State Party self-assessment annual reporting tool” เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินตนเองของรัฐภาคีที่ได้เข้าร้วมข้อตกลงกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ซึ่งมีผลผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตาม มาตราที่ 54 ว่าด้วยเรื่องการรายงานและทบทวน IHR ต่อที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly – WHA) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide
คู่มือ “International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide” ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นแนวทางการนำไปปฏิบัติและจัดทำรายงาน Joint External Evaluation (JEE) สำหรับประเทศเจ้าภาพ (host country) โดยคู่มือนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของกระบวนการ JEE บทบาท ความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสีย กิจกรรมก่อนการประเมินผล กระบวนการประเมินผลและการบริหารจัดการ และกิจกรรมหลังการประเมินผล หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
UNESCO Strategy on Health and Well-Being: Contributing to the Sustainable Development Goals
เอกสาร “UNESCO Strategy on Health and Well-Being: Contributing to the Sustainable Development Goals” นำเสนอยุทธศาสตร์ของยูเนสโกเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ของเด็กและเยาวชนทุกคน เพื่อการขับเคลื่อนวาระการยุติเอดส์ภายในปี 2030 ผ่านการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation Tool: International Health Regulations (2005)-First Edition
รายงาน “Joint External Evaluation (JEE)” เป็นกระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและขีดความสามารถของประเทศหนึ่ง ๆ ในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านสาธารณสุข โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการติดตามและประเมินผลของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ที่เรียกว่า IHR Monitoring and Evaluation framework (2005) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development
คู่มือ “Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผู้ที่ทำงานกับศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และองค์กรชุมชนอื่นๆ ในการพัฒนาความร่วมมือเพื่อยกระดับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นฐาน (community-based Education for Sustainable Development) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Institute for Lifelong Learning: UIL) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs
คู่มือ “SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs” ฉบับนี้นำเสนอเครื่องมือและองค์ความรู้ให้กับภาคธุรกิจ โดยเน้นที่ธุรกิจขนาดใหญ่อย่างบรรษัทข้ามชาติ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงองค์กรด้านธุรกิจอื่น ๆ ว่าจะสามารถนำหลักการความยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนผนวกในการพัฒนายุทธศาสตร์/กลยุทธ์ขององค์กร หรือในการบริหารจัดการ สถานที่ทำงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI), UN Global Compact และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ อังกฤษได้ ที่นี่