SDGs กับชีวิตคนเมือง
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้ง่ายๆด้วยการจัดสรรเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน เช่น มลภาวะทางอากาศ น้ำ ปัญหาขยะต่าง ๆ รวมถึงสุขภาพของคนเมือง หากคนเมืองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :
SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action)
เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจะบรรลุ SDGs ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นๆ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
Atlas of Sustainable Development Goals 2020
Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)
ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)
สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)
ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)
ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :