Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand
รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เกม The Collectors เก็บขยะ พิทักษ์โลก
“เกม The Collectors เก็บขยะ พิทักษ์โลก” เกมโมบายผู้ชนะจากเวทีการประกวดแข่งขันออกแบบและพัฒนาเกม “SDGs Game Fest” ที่จัดขึ้นโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด ที่ถูกพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมในเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยให้เยาวชนรุ่นใหม่ตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการขยะ หน่วยงานที่จัดทำ: THAItan สนับสนุนโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และบริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด ดาวน์โหลด: เกมฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน
“คู่มือพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน” (Community-Based Tourism Social Innovation Playbook) รวบรวมเครื่องมือนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความยั่งยืนและรับมือกับความผันผวนของโลกได้มากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Accelerator Lab ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Overcoming Data Graveyards in Official Statistics
รายงาน “Overcoming Data Graveyards in Official Statistics” ให้ความชัดเจนด้านแนวคิดเกี่ยวกับความท้าทายและแนวทางในการพัฒนาการใช้ข้อมูลสถิติเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและแนวทางการวิจัยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ OPEN DATA WATCH ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022
รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้แสดงข้อมูลให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าในปัจจุบัน อาจต้องใช้เวลาเกือบ 300 ปีจึงจะบรรลุความเท่าเทียมทางเพศอย่างสมบูรณ์ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Science Literacy: Media Toolkit in Support of the Sustainable Development Goals
“Climate Science Literacy: Media toolkit in support of the Sustainable Development Goals” หรือ “ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นโปสเตอร์ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยานี้จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในขั้นพื้นฐานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้อธิบายความเสี่ยงและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะโดยรวม เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของวิกฤตนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
Addressing Mental Health in Thailand
รายงาน “Addressing mental health in Thailand” เป็นเอกสารเพื่อประกอบการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) สมัยที่ 75 ของคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO Regional Committee for South-East Asia) นำเสนอข้อมูลภาพรวมของปัญหาสุขภาพจิตและการบริการด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยล่าสุด หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO South-East Asia) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Social Outlook 2022: The Workforce We Need
รายงาน ‘Social Outlook for Asia and the Pacific: The Workforce We Need’ ระบุถึงสถานการณ์แรงงานในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ว่า เเรงงานกว่า 2.1 พันล้านคนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงงานที่มีคุณค่า (decent work) การดูแลสุขภาพ (healthcare) และการคุ้มครองทางสังคม (social protection) เเม้ว่าจะมีนโยบายและเครื่องมือการจัดการจำนวนมากที่รัฐบาลสามารถใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง สร้างหลักประกันว่าสิทธิความต้องการของเเรงงานและครอบครัวของพวกเขาจะถูกยกระดับให้ดีขึ้นก็ตาม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่