The Workforce We Need: Social Outlook for Asia and the Pacific
รายงาน “The Workforce We Need: social outlook for Asia and the Pacific” มุ่งเน้นสำรวจประเด็นการพัฒนาสังคมในเอเชียและแปซิฟิกโดยเฉพาะ โดยภายใต้ธีมของปีค.ศ. 2022 นี้ ให้เนื้อหาวิธีการสร้างแรงงานที่มีสุขภาพดี ได้รับการคุ้มครอง และมีประสิทธิผลในเอเชียและแปซิฟิก เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน และกล่าวถึง 4 เมกะเทรนด์หลักที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูงวัย การเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล และความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ประชากรศาสตร์ และดิจิทัล ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการทำงานในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2564
“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery
บทสรุปเชิงนโยบาย “Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery” ให้ความสำคัญและขยายความแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำต่อประชากรในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ งาน สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคงทางอาหาร โดยบทสรุปเชิงนโยบายนี้เป็นผลลัพธ์จากการหารือบนเวทีการประชุมเชิงวิชาการอาเซียน-จีน-UNDP ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2021
รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Investor Map Thailand 2022
โครงการ “แผนท่ีการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนา ท่ียั่งงยืน” (SDG Investor Maps) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Investor Platform) เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอโอกาสด้านการลงทุน (Investment Opportunity Area: IOA) ในธุรกิจท่ีสามารถตอบ โจทย์การพัฒนาท่ียั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ อาทิ โอกาสทางการตลาด ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความเสี่ยงท่ีเกี่ยวข้อง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย
“คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย” (AN ARCHITECTURE GUIDE to the UN 17 Sustainable Development Goals (THAI VERSION) ให้ตัวอย่างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่การออกแบบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของการมีสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างที่สามารถสนับสนุน SDGs แต่ละเป้าหมายอย่างไร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสีเขียวและยั่งยืนที่ดีที่สุดในบริบทของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: มูลนิธิอาคารเขียวไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in Transforming Futures for Young People
รายงาน “Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in transforming futures for young people” นำเสนอข้อมูลว่าผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเเรงงงานเยาวชนหรือแรงงานใหม่เผชิญกับภาวะว่างงานที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับแรงงานสูงอายุ และผลกระทบตกอยู่กับแรงงานวัยรุ่นหญิงมากกว่าวัยรุ่นชาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564
รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่