Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region
รายงาน “Regional Energy Trends Report 2020 : Tracking SDG 7 in the ASEAN Region” รายงานแนวโน้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการสร้างความสมดุลนโยบายต่อโลก ภูมิภาค ประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้ติดตามความคืบหน้าของภูมิภาคอาเซียนในการจัดให้มีการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง รวมถึงส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้พลังงานในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ยังคงช้าเกินไปในหลาย ๆ กรณีในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในปี ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia
เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’
เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Europe Sustainable Development Report 2020
รายงาน “Europe Sustainable Development Report 2020” เป็นฉบับที่ 2 ที่รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Wage Report 2020-21: Wages and minimum wages in the time of COVID-19
รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2020/21 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำหนดค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำ ผลกระทบจากโควิด – 19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Atlas of Sustainable Development Goals 2020
Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health
คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector
คู่มือ “Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้ประเมินการดำเนินงานของภาคการท่องเที่ยวต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย และให้สถานที่ท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบตนเองได้ว่าดำเนินงานสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้วหรือไม่ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network (Spain) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่