WHO benchmarks for International Health Regulations (IHR) capacities
คู่มือ “WHO benchmarks for International Health Regulations (IHR) capacities” เครื่องมือส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ในการรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพและบูรณาการตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ให้บรรลุและมีความพร้อมที่จะป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามและสถานการณ์ต่าง ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Employment and Social Outlook: Trends 2019
รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานโดยภาพรวมของโลกในปี 2019 ตั้งแต่แนวโน้มลักษณะของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการจ้างงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการจ้างงาน เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Federated States of Micronesia
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Federated states of Micronesia” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสหพันธรัฐไมโครนีเซีย ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย ฉบับปี 2562
“รายงานการย้ายถิ่นในประเทศไทย ฉบับปี 2562” (Thailand Migration Report 2019) ให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มและรูปแบบการย้ายถิ่นในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงการวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ และการพัฒนานโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่น รวมถึงข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงธรรมภิบาลด้านการย้ายถิ่นด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะทำงานเฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SWU Sustainable Development Goals Report 2019
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ. 2562 หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ (The Big Conversation: Handbook to Address Violence against Women in and through the Media)
“การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกับองค์กรสื่อในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ส่งเสริมคุณค่าของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติผ่านการสร้างเนื้อหาที่สื่อผลิตขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
Report of the Global Conference on Primary Health Care: From Alma-Ata Towards Universal Health Coverage and the Sustainable Development Goals
เมื่อวันที่ 25 และ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 มีการรวมตัวจากหลายภาคส่วนเพื่อจัดการประชุมระดับโลกเกี่ยวกับสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี การประชุมระหว่างประเทศเรื่องสาธารณสุขมูลฐานจากที่มีการประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2521 ณ เมืองอัลมาตี้ (เดิมมีชื่อว่า อัลมา-อาตา) ประเทศคาซักสถาน ทั้งนี้ จากการประชุมในครั้งแรกได้นำมาซึ่ง ‘คำประกาศอัลมา – อตา’ (Alma-Ata Declaration) ว่าด้วยความจำเป็นอย่างเร่งดวนของทุกฝ่ายในการปกป้องและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทุกคนในโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
สืบสานสู่ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย
หนังสือ “สืบสานสู่ปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เป็นหนังสือแปลจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อ “A Call to Action: Thailand and the Sustainable Development Goals” มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน เหตุและผลว่าทำไมคนไทยทุกคนควรรับรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมในการช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ดาวน์โหลด: ที่นี่