Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health
เอกสาร “Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health” เป็นกรอบปฏิบัติการด้านการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นไปที่การยกระดับความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศของระบบสุขภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการออกแบบระบบสุขภาพเชิงปฏิรูปที่สามารถให้บริการดูแลรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพได้แม้ว่าอยู่ในภาวะที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2023
รายงาน “The State of Food and Agriculture 2023” เสนอแนวทางประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ของระบบเกษตร-อาหาร (Agrifood System) เนื่องจากการสร้างระบบเกษตร-อาหารที่ยั่งยืนนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายเป้าหมาย และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประเมินต้นทุนที่แท้จริงในทุกระดับ นวัตกรรมด้านการวิจัยและข้อมูล และการลงทุนในการรวบรวมข้อมูลและเสริมสร้างขีดความสามารถด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals
รายงาน “Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals” ได้สำรวจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเสี่ยง (risk-informed sustainable development) มีลักษณะอย่างไรในโลกที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นไปที่การอธิบายความเชื่อมโยงของความเสี่ยงและการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (resilience) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพร้อมเผชิญภัยที่ซับซ้อนมากขึ้นอันเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นและภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวจะต้องเป็นศูนย์กลางในการวางกรอบการดำเนินงานวาระการพัฒนาหลังปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Tuberculosis Report 2023
รายงาน “Global Tuberculosis Report 2023” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 192 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย
“คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย” (SDG Guidebook for Thai Listed Companies) เป็นแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยในการผนวกแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมทั้งเสนอเครื่องมือเครื่องมือการวัดผลและการจัดการผลกระทบ (Impact Measurement and Management – IMM) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับข้อกำหนดในแบบการเปิดเผยข้อมูล 56-1 One Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
2023 State of Climate Services: Health
รายงาน “2023 State of Climate Services: Health” สำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ พบว่าการมีข้อมูลและบริการด้านสภาพภูมิอากาศที่เฉพาะเจาะจงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อสนับสนุนภาคสาธารณสุขในการรับมือกับสภาพอากาศเลวร้าย คุณภาพอากาศที่แย่ รูปแบบการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เปลี่ยนแปลง และความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสุขภาพประชาชนและเพิ่มแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุข ทำให้ความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 (SDG 3) ถดถอบ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก (สำหรับประชาชน)
“คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก (สำหรับประชาชน)” จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก และเพื่อสร้างควาสามารถในการส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
พจนานุกรมสภาพภูมิอากาศ: คู่มือคำศัพท์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พจนานุกรมสภาพภูมิอากาศ (The Climate Dictionary) รวบรวมคำศัพท์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยคำอธิบายที่กระชับที่จะช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนกับประชาชนทั่วไป เนื้อหาได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อรองรับผู้อ่านหลากหลายกลุ่ม ครอบคลุมทั้งผู้ที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์และผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่