Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A Review in the Context of El Nino
เอกสารข้อสรุปเชิงนโยบาย “Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A review in the context of El Nino” ศึกษาผลกระทบของคลื่นความร้อนและภัยแล้งอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอล นีโญ (El Niño) ต่อความมั่นคงทางอาหาร ผลผลิตทางเศรษฐกิจ และงานดูแลของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงเน้นย้ำถึงอัตราการเกิดความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศที่น่าอันตรายในช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ เอกสารฉบับนี้ยังเสนอแนะแนวทางเชิงรุกที่คำนึงถึงมิติด้านเพศสภาพในการแก้ปัญหาทั้งด้านมนุษยธรรมและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติที่เกิดต่อผู้หญิง หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights
เอกสาร “The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและการสืบพันธุ์ (Sexual and Reproductive Health and Rights: SRHR) รวมถึงเน้นให้ข้อมูลความเสี่ยง ผลกระทบ และข้อควรพิจารณาเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ บทสรุปนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ใน SRHR และชี้ประเด็นสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความรับผิดชอบ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
2030 Recommendations of the United Nations Senior Leadership Group on Disaster Risk Reduction for Resilience
เอกสาร “2030 Recommendations of the United Nations Senior Leadership Group on Disaster Risk Reduction for Resilience” เสนอการสนับสนุนของระบบองค์การสหประชาชาติทั้งหมดเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวจนถึงปี 2030 และยังเป็นการเสริมสร้างพันธกรณีที่ให้ไว้ในแผนปฏิบัติการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อการตั้งรับปรับตัวขององค์การสหประชาชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Office for Disaster Risk Reduction ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines
รายงาน “Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines” นำเสนอประมาณการแนวโน้มความยากจนในเด็ก 10.4 ล้านคนจาก 147 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2013 – 2022 พบว่ามีเด็กประมาณ 333 ล้านคนทั่วโลก หรือ 1 ใน 6 ใช้ชีวิตอยู่ความยากจนขั้นรุนแรง (มีระดับรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อวันต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐ) และจากการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าระดับปัจจุบัน การยุติความยากจนขั้นรุนแรงในเด็กจะไม่สามารถบรรลุได้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas
เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Lessons from COVID-19 for Climate Change
เอกสารสมุดปกขาว “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand)
“ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงงานที่มีคุณค่าและเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเหมาะสม และขอบเขตการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการทำงานของเยาวชนไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่