Tracking SDG7: The Energy Progress Report 2023
รายงาน “Tracking SDG7: The energy progress report 2023” ติดตามความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ ทำหน้าที่เป็นแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายและประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาการเข้าถึงพลังงาน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงานทดแทน และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG 7 โดยข้อมูลล่าสุดจากรายงานฉบับนี้ระบุว่าการดำเนินงานของโลกยังไม่อยู่ในแนวทางที่จะบรรลุเป้าประสงค์ใดของ SDG 7 ได้ทันเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (IRENA), กองสถิติแห่งสหประชาชาติ (UNSD) ธนาคารโลก และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 12 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future
รายงาน “Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future” ประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย หลังมีการใช้นโยบายการคลังขนานใหญ่ในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบุถึงแนวทางปฏิรูปที่จำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาครัฐด้วย เพื่อการรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562
“รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562” แสดงภาระทางสุขภาพด้วยดัชนี DALYs หรือปีสุขภาวะที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร และภาวะบกพร่องทางสุขภาพจากการเจ็บป่วยและความพิการ และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี เพื่อใช้ประกอบการจัดลำดับความสำคัญและนำ เสนอปัญหาภาระทางสุขภาพของประชากรไทย สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ วางระบบงานสาธารณสุข และเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวิจัยต่อไป เช่น การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภาระทางสุขภาพ การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2023 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลจนถึงปี 2022 ตอกย้ำให้เห็นถึงความซบเซาของความก้าวหน้าด้านสุขภาพจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เห็นในช่วงปี 2000-2015 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2023
รายงาน “Global Report on Food Crises 2023” ว่าด้วยวิกฤติด้านอาหารในระดับโลก พบว่ามีจำนวนผู้ประสบภัยจากความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสงครามในยูเครนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Study Report for Transitioning to Electric Public Buses in Thailand
รายงานการศึกษา “Study report for transitioning to electric public buses in Thailand” เก็บรวบรวมข้อมูลด้านนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าและการดำเนินธุรกิจรถโดยสารสาธารณะ และศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนมาใช้รถโดยสารไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินการตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ร่วมกับ ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566
รายงาน “การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566” (Inclusive Insurance and risk financing in Thailand: Snapshot and way forward 2023) สรุปข้อค้นพบที่สำคัญของการประกันภัยและการเงินเพื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบครอบคลุมของประเทศไทย โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย และ Insurance and Risk Finance Facility (IRFF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่