World Inequality Report 2022
รายงาน “World Inequality Report 2022” นำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำโลกล่าสุดและครอบคลุมที่สุด ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งมิติความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง รายได้ เพศ และทางนิเวศวิทยา (ecological) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทำงานจากนักวิจัยกว่าร้อยคนในระยะเวลาสี่ปีจากทุกทั่วโลกที่ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก (World Inequality Database: WID.world) หน่วยงานที่จัดทำ: World Inequality Lab ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021
การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ประจำปี 2019 ให้ข้อมูลล่าสุดและจัดอันดับการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) ของ 100 ประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in Thailand – The Case for Investment)
รายงาน “เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย” แสดงหลักฐานว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการลงทุนในมาตรการแทรกแซงนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น มลพิษทางอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2021
Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business
งานวิจัย “Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business” ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มความเสี่ยงของการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศอย่างไร โดยมุ้งเน้นพื้นที่ศึกษาคือภาคเกษตรกรรมในมาเลเซียและไทย หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) และ Stockholm Environment Institute ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่
Global Tuberculosis Report 2021
รายงาน “Global Tuberculosis Report 2021” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 197 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2563-2564 หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่