The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021
รายงานสำรวจวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ที่กระทบต่อภาคการเกษตรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การปศุสัตว์ การป่าไม้ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ ทั้งในลักษณะที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยได้ประเมินความเสียหายและความสูญเสียของภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Engineering for Sustainable Development: Delivering on the Sustainable Development Goals
รายงาน “Engineering for Sustainable Development: Delivering on the Sustainable Development Goals” เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวิศวกรรมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยชี้ให้เห็นว่าความเท่าเทียมกันด้านโอกาสของทุกคนในการเข้าถึงวิชาชีพจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวิศวกรในการดำเนินการตาม SDGs อีกทั้งรายงานฉบับนี้ยังนำเสนอภาพรวมของนวัตกรรมทางวิศวกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่มนุษยชาติและโลกกำลังเผชิญอยู่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ International Centre for Engineering Education ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2021
รายงานความสุขโลกประจำปี 2021 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ โดยฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของ COVID-19 และวิธีที่ผู้คนทั่วโลกจัดการกับชีวิต รายงานแบ่งเป็นสองส่วนคือ หนึ่ง เน้นที่ผลกระทบของ COVID-19 ต่อโครงสร้างและคุณภาพชีวิตของผู้คน และสอง เพื่ออธิบายและประเมินว่ารัฐบาลทั่วโลกจัดการกับโรคระบาดนี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาคำตอบว่าทำไมบางประเทศจึงทำได้ดีกว่าประเทศอื่น หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021
รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเชียและแปซิฟิก 2021 เป็นการวิเคราะห์ความก้าวหน้าและประเมินช่องว่างที่จะต้องเติมเต็มเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs ภายในปี 2030 ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนได้เสียสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดอันดับความสำคัญ วางแผน นำไปปฏิบัติ และติดตามประเมินผลการพัฒนาตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515–2563)
รายงานสรุป “ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515 – 2563) (Invisible Lives: 48 Years of the Situation of Stateless Children in Thailand (1972-2020))” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Ending Childhood Statelessness in Thailand: Developing an Accelerated Nationality Review Model through Research and Empowerment of Stakeholders ดำเนินการศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัญหา ข้อจำกัดในการเข้าถึงการจดทะเบียนการเกิด และพัฒนาสิทธิในสัญชาติไทยของเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2562 (2019 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2562 (2019 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action
รายงาน “SDGs Mega Trends 2021” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2021” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญในปีดังกล่าว เพื่อสร้างความตระหนักและแรงบันดาลใจให้ภาคเอกชนร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 National Review Reports
รายงาน “Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 national review reports” ประกอบด้วยบทสรุปความท้าทาย ความสำเร็จ และคีย์สำคัญในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศและสริมอำนาจของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่แต่ละประเทศควรดำเนินการในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งให้เบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่