The State of Food Security and Nutrition in the World 2017
Building resilience for peace and food security รายงานฉบับนี้เป็นการติดตามความก้าวหน้าของโลกในด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ โดยมีการวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายให้สามารถบรรลุเป้าหมายการยุติความหิวโหย ความไม่มั่นคงทางอาหาร และภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนภาวะโรคอ้วนและน้ำหนักเกินที่กำลังเป็นที่กังวลของหลายประเทศในโลก รายงานยังได้ย้ำความสำคัญของมิติสันติภาพและสังคมที่สงบสุขที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมกับโครงการอาหารโลก (WFP) กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Achieving the Sustainable Development Goals in India: Ensuring No State Falls Behind
การนำเสนอ “Achieving the Sustainable Development Goals in India: Ensuring no state falls behind” โดย Dr. Shiladitya Chatterjee ที่ปรึกษาประจำ Centre for Sustainable Development Goals เกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในอินเดีย ซึ่งพูดถึง ‘ความท้าทายด้านนโยบาย’ ในการประชุมประจำปีครั้งที่ 99 ของสมาคมเศรษฐกิจอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองติรูปติ ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 27-29 ธันวาคม 2559 หน่วยงานที่จัดทำ : คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด : รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2559
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2559 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
Global Wage Report 2016/17: Wage inequality in the workplace
รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2016/17 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างที่กระจายตัวแตกต่างกันตามบริษัทหรือสถานที่ทำงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of World Population 2016
– 10: How our future depends on a girl at this decisive age รายงานฉบับนี้ย้ำความสำคัญในการแทรกแซงเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กผู้หญิงช่วงวัย 10 ปี โดยเฉพาะที่อยู่ในครอบครัวที่ยากจนและเปราะบาง เพราะยังมีหลายแห่งในโลกที่โอกาสในการพัฒนาเด็กผู้หญิงช่วงวัยนี้ยังมีอยู่อย่างจำกัดทั้งในเชิงของการเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย การหางานทำ รวมถึงอาจประสบกับปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ เพราะเด็กผู้หญิงในช่วงอายุ 10 ปีเป็นช่วงวัยที่สำคัญ รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2016
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2016 เป็นรายงานความก้าวหน้าภาพรวมของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายฉบับแรกของโลก อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอในรายงานทำให้เห็นช่องว่างและความท้าทายที่มียังมีอยู่ในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทันภายในปี 2030 ประมวลผลจากข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานระหว่างประเทศผู้รับผิดชอบอื่น ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Index and Dashboards 2016
รายงาน “SDG Index and Dashboards 2016” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ Dashboards อย่างไม่เป็นทางการพร้อมกับสรุปผลลัพธ์ในขั้นต้น เพื่อช่วยให้แต่ละประเทศทราบว่าจะต้องลงมือทำในเรื่องใดก่อน อะไรคือความท้าทาย และอะไรคือที่ต้องเติมช่องว่างให้เต็มภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
From the MDGs to Sustainable Development for All: Lessons from 15 Years of Practice
รายงาน “From the MDGs to Sustainable Development for All: Lessons from 15 Years of Practice” นำเสนอบทเรียนสำคัญจากยุค MDGs ซึ่งรวบรวมโดยรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเองผ่านรายงานความคืบหน้า MDGs ระดับชาติ ระหว่างปี 2013 ถึง 2015 โดยมี 55 ประเทศจัดทำรายงานความคืบหน้า MDGs ระดับชาติ และระบุบทเรียนที่นำไปใช้กับการดำเนินการ SDGs ในปัจจุบัน บทเรียนเหล่านี้อาจมีประโยชน์ในการนำไปใช้กับการดำเนินการ SDGs ในประเทศรายได้สูง แต่รายงานนี้มุ่งเน้นไปที่ประเทศรายได้น้อยและกำลังพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ Word Bank ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่