Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific
รายงาน “Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific” นำเสนอภาพประเด็นเร่งด่วนด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนายั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดจนการหารือเกี่ยวกับความท้าทาย โอกาส รวมทั้งให้ข้อเสนอเป็นหลักสิบประการในการดำเนินการสำหรับผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และการเงินเอกชนในการปิดช่องว่างนี้ของบรรดาประเทศสมาชิกในภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Taking Stock: Sexual and Reproductive and Health and Rights in Climate Commitments: A Global Review Summary
รายงาน “Taking Stock: Sexual and Reproductive and Health and Rights in Climate Commitments: A Global Review Summary” ศึกษาการบูรณาการหัวข้ออนามัยการเจริญพันธุ์และสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น สุขภาพ เพศ พลวัตของประชากร เยาวชน สิทธิมนุษยชน กลุ่มเปราะบาง และการมีส่วนร่วม ในการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) เพื่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับโลกของประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด 119 ประเทศนับตั้งแต่ปี 2020 หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion
รายงาน “Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion” นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดของตัวชี้วัดในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นว่าประชาคมโลกไปไม่ถึงเป้าหมายตามคำมั่นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นและความเหลื่อมล้ำกันยังคงเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจทางด้านนโยบายที่ครอบคลุม และการเกิดคอร์รัปชันกัดกร่อนสัญญาประชาคม โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานสหประชาชาติหลายแห่งที่รับผิดชอบตัวชี้วัดและฐานข้อมูล SDG Global Database หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Costs of Achieving the Sustainable Development Goals
รายงานการวิเคราะห์ “The costs of achieving the Sustainable Development Goals” รูปแบบออนไลน์ เสนอผลการประเมินมูลค่าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพื่อช่วยให้ผู้จัดทำนโยบายตัดสินใจลงทุนและจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุ SDGs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย UNCTAD วิเคราะห์ข้อมูลเกือบ 50 ตัวชี้วัด SDGs จาก 90 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 48 ประเทศกำลังพัฒนา ทั้งหมดคิดเป็นสามในสี่ของประชากรโลก หน่วยงานที่จัดทำ: การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Universal Health Coverage: 2023 Global Monitoring Report
รายงาน “Tracking universal health coverage: 2023 global monitoring report” ศึกษาความครอบคลุมของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับโลก ที่ทำให้เห็นสถานการณ์การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นที่ยากลำบากและอุปสรรคทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนยากจนและคนที่เปราะบางมากกว่าคนกลุ่มอื่น ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าโลกยังอยู่นอกเส้นทางสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาและขยายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สำเร็จได้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda
รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda
รายงาน “Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda” นำเสนอข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับเพื่อแสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการโยกย้ายถิ่นฐานสามารถช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อที่ประชุม SDG Summit ปี 2023 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023
รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่