COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership
บทความวิจัยเชิงกรณีศึกษา “COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด-19 ของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมที่ผู้หญิง แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ แต่ก็ยังมีตัวอย่างความเป็นผู้นำจากองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสตรีระหว่างการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะนำไปต่อยอดในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Study Report for Transitioning to Electric Public Buses in Thailand เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in […]
2023 Global Multidimensional Poverty Index (MPI)
รายงาน “2023 Global Multidimensional Poverty Index (MPI)” หรือ ดัชนีความยากจนหลายมิติ นำเสนอข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะของความยากจนหลายมิติระดับโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากประเทศกำลังพัฒนา 110 ประเทศ ครอบคลุมประชากร 6.1 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 92 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา โดยรายงานในปีนี้แสดงให้เห็นว่าโลกสามารถบรรลุการลดความยากจนได้ อย่างไรก็ตาม การขาดข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้เกิดความท้าทายในการประเมินความเป็นไปได้ได้ทันทีทันเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และโครงการริเริ่มความยากจนและการพัฒนามนุษย์แห่งอ็อกซ์ฟอร์ด (OPHI) ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty […]
Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition
“The Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition” หรือ รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2023: ฉบับพิเศษ ณ ครึ่งทางของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน รายงานประจำปีนี้เน้นย้ำถึงช่องว่างของการดำเนินการและความท้าทายที่ยังมีอยู่ในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทันภายในปี 2030 และเรียกร้องให้โลกเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development Report 2023 World Happiness Report 2023 Sustainable Development Goals Report 2016 Sustainable Development Goals Report 2022
Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)
คู่มือ “Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)” พัฒนามาเพื่อเป็นชุดเครื่องมือในการจัดการโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการบูรณาการแนวปฏิบัติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเข้าไว้ในนโยบาย กรอบการเงิน และการดำเนินธุรกิจ คู่มือนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 อธิบายว่าเหตุใดจึงจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดตามโครงการ วิธีใช้ตัวชี้วัดในวัฏจักรของโครงการ และวิธีที่ผู้จัดการโครงการสามารถติดตามความก้าวหน้าของ SDGs ส่วนที่ 2 แสดงรายละเอียดของ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดที่อาจนำไปปรับใช้และใช้กับโครงการได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (World Tourism Organization: UNWTO) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Guide […]
Global Framework for the Response to Malaria in Urban Areas
รายงาน “Global framework for the response to malaria in urban areas” นำเสนอกรอบการทำงานในการสนับสนุนการควบคุมและกำจัดโรคติดต่อมาลาเลีย (รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะ) ในสภาพแวดล้อมเขตเมืองที่จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่บริหารพื้นที่เขตเมือง โครงการด้านสุขภาพ และนักออกแบบผังเมือง ให้ตอบสนองต่อปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วทันต่อการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามบริบทของเมืองแต่ละที่ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Proposals for Crisis-response Provisions in Regional and Bilateral Transport Agreements of the ESCAP Member States Small Island Developing States Response to COVID-19 Strategy Paper on […]
MY Neighbourhood
คู่มือ ‘MY Neighbourhood’ จัดทำเช็กลิสต์ที่ครอบคลุมหลักการออกแบบชุมชนเมืองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในบริบทวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ที่หลากหลายในขนาดพื้นที่ระดับย่านที่อยู่อาศัย (neighbourhood scale) โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการในการออกแบบผ่านฟังก์ชันสำคัญของพื้นที่เมือง 5 ประการ ได้แก่ การคมนาคม ที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะ สาธารณูปโภค และผนวกรวมกับมิติด้านการออกแบบ ได้แก่ ย่านที่พักอาศัย ถนน พื้นที่สาธารณะแบบเปิด และกลุ่มอาคาร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG […]
Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods
รายงาน “Thailand Economic Monitor” หรือ รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมิถุนายน 2566 ในหัวข้อ ‘การรับมือกับภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อสร้างอนาคตที่อยู่รอดและยั่งยืน’ ให้ข้อมูลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ดีขึ้น แต่ยังคงระบุว่าการรับมือกับความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: The Future of Asia & Pacific Cities 2023: Crisis Resilient Urban Futures Economic and Social Survey of Asia and the Pacific 2023: Rethinking Public Debt for the Sustainable Development Goals Thailand Public […]
Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality
บทสรุปเชิงนโยบาย “Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality” เน้นย้ำถึงความสำคัญของผู้หญิงในภาคการเกษตรกรรมและศักยภาพของผู้หญิงในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เอกสารฉบับนี้ยังระบุถึงแนวทางปฏิบัติสำคัญที่สามารถขจัดอุปสรรคสำหรับผู้หญิงในภาคการเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึง การรวบรวมข้อมูลที่แยกตามเพศสำหรับการวางแผนที่คำนึงถึงเพศ การวิจัยและวิเคราะห์ การผลักดันให้มีการเข้าถึงทรัพย์สินเพื่อการผลิตอย่างเท่าเทียมกัน การเสริมสร้างศักยภาพและการสร้างเสริมความตระหนัก การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เงินทุน ทรัพย์สินเพื่อการผลิต และบริการอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกันทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion […]