- กดปุ่ม + ที่เป้าหมาย 1-17 ด้านล่างนี้ที่คุณสนใจ เพื่ออ่านรายละเอียดเป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดของเป้าหมายนั้น
- ภายใต้เป้าหมายที่คุณเลือก สามารถดูภาพรวมสถานการณ์ของเป้าหมายได้ โดยกดปุ่ม ‘ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลก’ หรือดูสถานการณ์ของไทย โดยกด ‘ข้อมูลรายตัวชี้วัดประเทศไทย’
- ภายใต้เป้าหมายที่คุณเลือก หากต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต้นทางจาก UN กดปุ่ม ‘เข้าถึงตัวชี้วัดภาษาอังกฤษ และวิธีการคำนวณตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้ได้ที่นี่’
• ตัวชี้วัด 1.1.1 สัดส่วนของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนสากล จำแนกตามเพศ อายุ สถานะการจ้างงาน และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (ชุมชนเมือง/ชนบท)
• ตัวชี้วัด 1.2.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ จำแนกตามเพศ และอายุ
• ตัวชี้วัด 1.2.2 สัดส่วนของผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กในทุกช่วงวัยที่ยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ
• ตัวชี้วัด 1.3.1 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคม จำแนกตามเพศ และแบ่งเป็น เด็ก ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ที่ยากจนและเปราะบาง
• ตัวชี้วัด 1.4.1 สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือนที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 1.4.2 สัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีสิทธิครอบครองที่ดินอย่างมั่นคง โดย (ก) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย และ (ข) ทราบว่าสิทธิครอบครองที่ดินของตนมีความมั่นคง จำแนกตามเพศ และประเภทการถือครอง
• ตัวชี้วัด 1.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
• ตัวชี้วัด 1.5.2 การสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภัยพิบัติโดยตรงต่อ GDP โลก
• ตัวชี้วัด 1.5.3 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573
• ตัวชี้วัด 1.5.4 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
• ตัวชี้วัด 1.a.1 ผลรวมความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อมุ่งลดความยากจน จากผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของประเทศผู้รับ
• ตัวชี้วัด 1.a.2 สัดส่วนค่าใช้จ่ายรวมของภาครัฐในเรื่องการบริการที่สำคัญจำเป็น (การศึกษา สุขภาพ และความคุ้มครองทางสังคม)
• ตัวชี้วัด 1.b.1 รายจ่ายสาธารณะทางสังคมที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตกรรมที่ยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 2.1.1 ความชุกของภาวะขาดสารอาหาร
• ตัวชี้วัด 2.1.2 ความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรงในประชากร โดยใช้ขนาดของประสบการณ์ด้านความไม่มั่นคงทางอาหาร (FIES)
• ตัวชี้วัด 2.2.1 ความชุกของภาวะเตี้ยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (ประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ที่มีส่วนสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ในช่วงน้อยกว่า -2 SD)
• ตัวชี้วัด 2.2.2 ความชุกของภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำแนกตาม (ก) ภาวะผอมแห้ง (wasting) (ข) ภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) (ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ที่มีน้ำหนักเมื่อเทียบกับความสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กของ WHO ในช่วงมากกว่า +2 SD หรือต่ำกว่า -2 SD)
• ตัวชี้วัด 2.2.3 ความชุกของภาวะโลหิตจาง (anaemia) ในหญิงอายุระหว่าง 15-49 ปี จำแนกตามภาวะตั้งครรภ์ (ร้อยละ)
• ตัวชี้วัด 2.3.1 มูลค่าการผลิตต่อหน่วยแรงงาน จำแนกตามขนาดกิจการของการทำฟาร์ม/เลี้ยงสัตว์/การป่าไม้
• ตัวชี้วัด 2.3.2 รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรผู้ผลิตอาหารรายย่อย จำแนกตามเพศ และสถานะพื้นเมือง (เพื่อแยกชนพื้นเมือง หรือ ชนเผ่า)
• ตัวชี้วัด 2.4.1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรที่มีการทำการเกษตรอย่างมีผลิตภาพและยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 2.5.1 จำนวนแหล่งพันธุกรรม (ก) พืชและ (ข) สัตว์เพื่ออาหารและการเกษตร ที่เก็บรักษาในสถานที่สำหรับอนุรักษ์ทั้งในระยะกลางและระยะยาว
• ตัวชี้วัด 2.5.2 สัดส่วนพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น ที่จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์
• ตัวชี้วัด 2.a.1 ดัชนีทิศทางการลงทุนภาครัฐเพื่อการเกษตร (Agriculture Orientation Index – AOI)
• ตัวชี้วัด 2.a.2 กระแสความช่วยเหลือรวม (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)) และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (Other Official Flows: OOF) ที่ให้ไปยังภาคการเกษตร
• ตัวชี้วัด 2.b.1 การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร
• ตัวชี้วัด 2.c.1 ตัวชี้วัดราคาอาหารที่ผิดปกติ (IFPA)
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 3.1.1 อัตราส่วนการตายของมารดา (ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.1.2 สัดส่วนของการคลอดบุตรที่ดูแลโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความชำนาญ
• ตัวชี้วัด 3.2.1 อัตราการตายของทารกอายุต่ำกว่า 5 ปี (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.2.2 อัตราตายของทารกแรกเกิด (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน)
• ตัวชี้วัด 3.3.1 จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ต่อประชากรที่ไม่มีการติดเชื้อ 1,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และประชากรหลัก
• ตัวชี้วัด 3.3.2 อัตราการเกิดโรควัณโรคต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.3 อัตราการเกิดโรคมาลาเรียต่อประชากร 1,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.4 อัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบี ต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.3.5 จำนวนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแลรักษาโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Neglected tropical diseases)
• ตัวชี้วัด 3.4.1 อัตราการตายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
• ตัวชี้วัด 3.4.2 อัตราการฆ่าตัวตาย
• ตัวชี้วัด 3.5.1 ความคลอบคลุมของการรักษา (การรักษาโดยใช้ยา ทางจิตเวชและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการการติดตามผลการรักษา) สำหรับผู้ที่ใช้สารเสพติด
• ตัวชี้วัด 3.5.2 การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับอันตราย นิยามตามบริบทของประเทศ คิดเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ต่อหัวประชากร (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ในจำนวนลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ภายในปีปฏิทิน
• ตัวชี้วัด 3.6.1 อัตราผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
• ตัวชี้วัด 3.7.1 สัดส่วนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ซึ่งต้องการวางแผนครอบครัวที่พึงพอใจกับการวางแผนครอบครัวด้วยวิธีสมัยใหม่
• ตัวชี้วัด 3.7.2 อัตราการคลอดบุตรในหญิงอายุ (10-14 ปี, 15-19 ปี) ต่อผู้หญิงอายุ (10-14 ปี 15-19 ปี) 1,000 คน
• ตัวชี้วัด 3.8.1 ความครอบคลุมของบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น
• ตัวชี้วัด 3.8.2 สัดส่วนของประชากรที่มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้านสุขภาพต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนหรือรายได้ทั้งหมด อยู่ในระดับสูง
• ตัวชี้วัด 3.9.1 อัตราการตายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศในบ้านเรือนและในบรรยากาศ
• ตัวชี้วัด 3.9.2 อัตราการตายที่เกิดจากน้ำ และการสุขาภิบาลที่ไม่ปลอดภัย และขาดสุขลักษณะ (เผชิญกับบริการด้านน้ำ สุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ไม่ปลอดภัย)
• ตัวชี้วัด 3.9.3 อัตราการตายที่เกิดจากการได้รับสารพิษโดยไม่ตั้งใจ
• ตัวชี้วัด 3.a.1 ความชุกที่ปรับมาตรฐานอายุแล้ว (age-standardized) ของการใช้ยาสูบ/บุหรี่ในปัจจุบันของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
• ตัวชี้วัด 3.b.1 สัดส่วนของประชากรเป้าหมายที่เข้าถึงวัคซีนพื้นฐานทุกชนิดที่บรรจุอยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
• ตัวชี้วัด 3.b.2 ยอดรวมสุทธิความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ด้านการวิจัยทางการแพทย์และด้านสุขภาพพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 3.b.3 สัดส่วนของสถานพยาบาลที่มีชุดยาจำเป็น (core set of relevant essential medicines) ในราคาที่ซื้อหาได้อย่างยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 3.c.1 ความหนาแน่นและการกระจายตัวของบุคลากรด้านสาธารณสุข
• ตัวชี้วัด 3.d.1 ศักยภาพในการดำเนินการตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) และการเตรียมความพร้อมสาหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขอนามัย
• ตัวชี้วัด 3.d.2 ร้อยละของการติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อดื้อยาที่เลือกพิจารณา
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 4.1.1 สัดส่วนของเด็ก/เยาวชนใน (ก) ระดับชั้น ป.2 หรือ ป.3 (ข) ป.6 และ (ค) ม.3 ที่มีความสามารถตามเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ใน (1) ด้านการอ่าน และ (2) ด้านคณิตศาสตร์ หรือการคิดคำนวณ จำแนกตาม เพศ
• ตัวชี้วัด 4.1.2 อัตราการสำเร็จการศึกษา (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย)
• ตัวชี้วัด 4.2.1 สัดส่วนของเด็กอายุ 24- 59 เดือน ที่มีพัฒนาการทางด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และสุขภาวะทางจิตสังคมเป็นไปตามเกณฑ์ จำแนกตามเพศ
• ตัวชี้วัด 4.2.2 อัตราการเข้าเรียนปฐมวัย (อย่างน้อย 1 ปี ก่อนถึงเกณฑ์อายุเข้าเรียนประถมศึกษา) จำแนกตามเพศ
• ตัวชี้วัด 4.3.1 อัตราการเข้าเรียนของเยาวชนและผู้ใหญ่ ทั้งในระบบ นอกระบบการศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามเพศ
• ตัวชี้วัด 4.4.1 สัดส่วนของเยาวชน/ผู้ใหญ่ที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามประเภททักษะ
• ตัวชี้วัด 4.5.1 ดัชนีความเท่าเทียมกัน (ผู้หญิง-ผู้ชาย/ ในเขต-นอกเขตเมือง/ความมั่งคั่งสูง-ต่ำ และอื่น ๆ เช่น สถานะความพิการ คนพื้นเมือง และคนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งหากมีข้อมูล) สำหรับตัวชี้วัดด้านการศึกษาทั้งหมดในรายชื่อนี้ที่สามารถจำแนกข้อมูลได้
• ตัวชี้วัด 4.6.1 สัดส่วนของประชากรในกลุ่มอายุที่กำหนดมีความรู้ความสามารถสำหรับการทำงานในด้าน (ก) การอ่านออกเขียนได้ (ข) ทักษะในการคำนวณ จำแนกตามเพศ
• ตัวชี้วัด 4.7.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (2) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน
• ตัวชี้วัด 4.a.1 สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทบริการ
• ตัวชี้วัด 4.b.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ที่เป็นทุนการศึกษา จำแนกตามสาขาและประเภทการศึกษา
• ตัวชี้วัด 4.c.1 สัดส่วนของครูที่มีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 5.1.1 ส่งเสริม บังคับใช้ และติดตามตรวจสอบความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ไม่ว่าจะมีกรอบกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ก็ตาม
• ตัวชี้วัด 5.2.1 สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยอยู่ร่วมกับคู่รักและถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ โดยคู่รักปัจจุบันหรือคนก่อนหน้าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามรูปแบบความรุนแรงและอายุ
• ตัวชี้วัด 5.2.2 สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับความรุนแรงทางเพศจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่คู่รัก ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามอายุ และสถานที่เกิดเหตุ
• ตัวชี้วัด 5.3.1 สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 และ 18 ปี
• ตัวชี้วัด 5.3.2 สัดส่วนของเด็กหญิงและผู้หญิงอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่ได้รับการขลิบ/เฉือนอวัยวะเพศหญิง จำแนกตามอายุ
• ตัวชี้วัด 5.4.1 สัดส่วนของเวลาที่ใช้ไปในการทำงานบ้านและงานดูแลคนในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน จำแนกตามเพศ อายุ และสถานที่อยู่
• ตัวชี้วัด 5.5.1 สัดส่วนของผู้หญิงดำรงตำแหน่งใน (ก) รัฐสภา และ (ข) องค์กรปกครองท้องถิ่น
• ตัวชี้วัด 5.5.2 สัดส่วนของผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งบริหาร
• ตัวชี้วัด 5.6.1 สัดส่วนของผู้หญิงอายุ 15-49 ปี ที่ทำการตัดสินใจด้วยตนเองบนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่เพียงพอ (informed decision) ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ การคุมกำเนิด และอนามัยการเจริญพันธุ์
• ตัวชี้วัด 5.6.2 จำนวนประเทศที่มีกฎหมายและกฎระเบียบที่ประกันว่าผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้าถึงการศึกษาข้อมูล และการดูแลด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียม
• ตัวชี้วัด 5.a.1 (ก) สัดส่วนของจำนวนประชากรในภาคการเกษตรทั้งหมดที่เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิเหนือพื้นที่ทำการเกษตร จำแนกตามเพศ และ (ข) สัดส่วนของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิถือครองที่ดินทางการเกษตร จำแนกตามประเภทการครอบครอง
• ตัวชี้วัด 5.a.2 สัดส่วนของประเทศที่กรอบกฎหมาย (รวมถึงกฎจารีตประเพณี) ที่ประกันความเท่าเทียมของผู้หญิงในสิทธิการเป็นเจ้าของ หรือครอบครองที่ดิน
• ตัวชี้วัด 5.b.1 สัดส่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามเพศ
• ตัวชี้วัด 5.c.1 สัดส่วนของประเทศที่มีระบบติดตามและการจัดสรรงบประมาณสาธารณะเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังผู้หญิง
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 6.1.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย
• ตัวชี้วัด 6.2.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้ (ก) บริการด้านสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย และ (ข) สิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยสบู่ และน้ำ
• ตัวชี้วัด 6.3.1 สัดส่วนของน้ำเสียครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย
• ตัวชี้วัดที่ 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพที่ดี (เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ)
• ตัวชี้วัด 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการใช้น้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 6.4.2 ระดับความตึงเครียดด้านน้ำ (สัดส่วนการใช้น้ำจืดต่อปริมาณน้ำจืดทั้งหมด)
• ตัวชี้วัด 6.5.1 ระดับการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ
• ตัวชี้วัด 6.5.2 สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามเขตแดนที่มีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ
• ตัวชี้วัด 6.6.1 การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 6.a.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบูรณาการการใช้จ่ายของภาครัฐ
• ตัวชี้วัด 6.b.1 สัดส่วนของหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นที่จัดทำและดำเนินนโยบายและกระบวนการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 7.1.1 สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงไฟฟ้า
• ตัวชี้วัด 7.1.2 สัดส่วนของประชากรที่พึ่งพาพลังงานและเทคโนโลยีสะอาดเป็นหลัก
• ตัวชี้วัด 7.2.1 สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย
• ตัวชี้วัด 7.3.1 ความเข้มของการใช้พลังงาน ที่สัมพันธ์กับพลังงานขั้นต้นและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
• ตัวชี้วัด 7.a.1 การไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศสู่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานสะอาด และการผลิตพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งระบบไฮบริด
• ตัวชี้วัด 7.b.1 กำลังผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (วัตต์ต่อหัวประชากร)
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 8.1.1 อัตราการเติบโตต่อปีของผลติภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) ต่อหัวประชากร
• ตัวชี้วัด 8.2.1 อัตราการเติบโตต่อปีของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) ต่อประชากรผู้มีงานทํา
• ตัวชี้วัด 8.3.1 สัดส่วนการจ้างงานนอกระบบต่อการจ้างงานทั้งหมด จำแนกตามสาขา และเพศ
• ตัวชี้วัด 8.4.1 ร่องรอยการใช้วัตถุดิบ (Material Footprint) ร่องรอยการใช้วัตถุดิบต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
• ตัวชี้วัด 8.4.2 การบริโภควัตถุดิบในประเทศ การบริโภควัตถุดิบในประเทซต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
• ตัวชี้วัด 8.5.1 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของลูกจ้าง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และความพิการ
• ตัวชี้วัดที่ 8.5.2 อัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ อายุ และ ความพิการ
• ตัวชี้วัด 8.6.1 สัดส่วนของเยาวชน (15-24 ปี) ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงานหรือการฝึกอาชีพ
• ตัวชี้วัด 8.7.1 สัดส่วนและจำนวนเด็กอายุ 5-17 ปี ที่เข้าข่ายแรงงานเด็ก จำแนกตามเพศและอายุ
• ตัวชี้วัด 8.8.1 อัตราความถี่ของการบาดเจ็บร้ายแรงและไม่ร้ายแรงจากการทำงาน ต่อแรงงาน 100,000 คน จำแนกตามเพศและสถานะแรงงานต่างด้าว
• ตัวชี้วัดที่ 8.8.2 ระดับการปฏิบัติตามสิทธิแรงงานในประเทศ (เสรีภาพ ในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วม) โดยยึดหลักธรรมนญูของ ILO และกฎหมายภายในประเทศ จําแนกตามเพศ และสถานะแรงงานต่างด้าว
• ตัวชี้วัด 8.9.1 สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้านการท่องเที่ยวต่อ GDP รวม และอัตราการเติบโตของ GDP ด้านการท่องเที่ยว
• ตัวชี้วัด 8.10.1 จํานวน (ก) สาขาของธนาคารพาณิชย์ และ (ข) เครื่องรับ จ่ายเงินอัตโนมัติ (ATMs) ต่อผู้ใหญ่ 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 8.10.2 สัดส่วนของผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ที่มีบัญชีกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ หรือกับผู้ให้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
• ตัวชี้วัด 8.a.1 มูลค่าความช่วยเหลือ/ภาระผูกพัน (Commitments) และการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือ (Disbursements) ภายใต้กลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade)
• ตัวชี้วัด 8.b.1 การมีและดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ระดับประเทศเฉพาะ ด้านการจ้างงงานเยาวชน หรือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการจ้างงานของประเทศ
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 9.1.1 สัดส่วนของประชากรชนบทที่อาศัยภายในระยะ 2 กิโลเมตรจากถนนที่สามารถใช้งานได้ทุกฤดู
• ตัวชี้วัด 9.1.2 ปริมาณผู้โดยสาร และสินค้าที่ขนส่ง จำแนกตามรูปแบบการขนส่ง
• ตัวชี้วัด 9.2.1 สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มผลผลิต (Manufacturing Value Added – MVA) ต่อ GDP และต่อหัวประชากร
• ตัวชี้วัด 9.2.2 สัดส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตต่อการจ้างงานรวมทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 9.3.1 สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดเล็กต่อ มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 9.3.2 สัดส่วนของอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีการกู้ยืม หรือมีวงเงินที่ธนาคารให้กู้ยืม
• ตัวชี้วัด 9.4.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม
• ตัวชี้วัดที่ 9.5.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ต่อ GDP
• ตัวชี้วัดที่ 9.5.2 สัดส่วนนักวิจัย (เทียบเท่ากับการทำงานเต็มเวลา) ต่อประชากร 1,000,000 คน
• ตัวชี้วัดที่ 9.a.1 การสนับสนุนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการทั้งหมด (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (OOF)) ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 9.b.1 สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง และระดับกลาง ต่อมูลค่าเพิ่มรวมทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 9.c.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จําแนกตามเทคโนโลยี
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 10.1.1 อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายในครัวเรือนหรือรายได้ต่อหัว ในกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุดและในกลุ่มประชากรทั้งหมด
• ตัวชี้วัดที่ 10.2.1 สัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของรายได้มัธยฐาน จำแนกตาม เพศ อายุ และผู้พิการ
• ตัวชี้วัด 10.3.1 สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกคุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติ ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
• ตัวชี้วัด 10.4.1 สัดส่วนค่าตอบแทนแรงงานต่อ GDP
• ตัวชี้วัด 10.4.2 ผลกระทบจากการจัดสรรรายได้ (redistributive impact) ของนโยบายการคลัง
• ตัวชี้วัด 10.5.1 ตัวชี้วัดเสถียรภาพของระบบการเงิน (Financial Soundness Indicators)
• ตัวชี้วัด 10.6.1 สัดส่วนของสมาชิกและสิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ
• ตัวชี้วัด 10.7.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดหางานที่ลูกจ้างต้องจ่าย คิดเป็นสัดส่วนของรายได้ประจำเดือนที่ได้รับจากประเทศปลายทาง
• ตัวชี้วัด 10.7.2 จำนวนประเทศที่มีนโยบายที่เอื้อต่อการโยกย้ายถิ่นฐานและเคลื่อนย้ายของคนที่เป็นระเบียบ ปลอดภัย ปกติ และมีความรับผิดชอบ
• ตัวชี้วัด 10.7.3 จำนวนผู้เสียชีวิตหรือสูญหายในกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังปลายทางระหว่างประเทศ
• ตัวชี้วัด 10.7.4 สัดส่วนประชากรที่เป็นผู้อพยพ (refugee) จำนวนตามประเทศต้นทาง
• ตัวชี้วัด 10.a.1 สัดส่วนของรายการภาษีศุลกากร (tariff lines) ของสินค้านําเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกําลังพัฒนา ที่ไม่มีข้อกีดกันทางภาษีอากร (zero-tariff)
• ตัวชี้วัด 10.b.1 ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาทั้งหมด จําแนกตามประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ และประเทศผู้ให้การช่วยเหลือ และ ประเภทของการให้ความช่วยเหลือ (เช่น การช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) การลงทุนทางตรงของต่างประเทศ (FDI) และอื่น ๆ)
• ตัวชี้วัด 10.c.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายการส่งเงินกลับประเทศต่อจำนวนเงินรวมที่ส่งกลับ
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 11.1.1 สัดส่วนของประชากรในเขตเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ที่อยู่อาศัยนอกระบบ หรือที่ที่ไม่เหมาะสม
• ตัวชี้วัด 11.2.1 สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก จำแนกตาม เพศ อายุ และผู้พิการ
• ตัวชี้วัด 11.3.1 สัดส่วนของอัตราการใช้ที่ดินต่ออัตราการเติบโตของประชากร
• ตัวชี้วัด 11.3.2 สัดส่วนของเมืองที่ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการวางแผนการบริหารจัดการเมือง โดยมีการดำเนินการเป็นประจำและอย่างเป็นประชาธิปไตย
• ตัวชี้วัด 11.4.1 รายจ่ายรวมต่อหัวประชากรในด้านการสงวน การป้องกัน และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ จำแนกตามแหล่งเงินสนับสนุน (ภาครัฐ/เอกชน) ประเภทมรดก (ทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ) และระดับของรัฐบาล (ประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น/เทศบาล)
• ตัวชี้วัด 11.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 11.5.2 ความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภัยพิบัติเทียบเคียงกับ GDP
• ตัวชี้วัด 11.5.3 (ก) ความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างพื้นฐานหลัก และ (ข) จำนวนการบริการพื้นฐานที่หยุดชะงักอันเป็นผลมาจากภัยพิบัติ
• ตัวชี้วัด 11.6.1 สัดส่วนของขยะมูลฝอยชุมชน (MSW) ที่มีการจัดเก็บและจัดการในสถานที่ที่มีการควบคุมต่อปริมาณขยะชุมชนรวม และจำแนกตามเมือง
• ตัวชี้วัด 11.6.2 ระดับค่าเฉลี่ยทั้งปีของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (เช่น PM2.5 และ PM10) ในเขตเมือง (ถ่วงน้ำหนักกับประชากร)
• ตัวชี้วัด 11.7.1 ส่วนแบ่งเฉลี่ยของพื้นที่เมืองที่เป็นพื้นที่เปิดสาธารณะสำหรับทุกคน จำแนกตามเพศ อายุ และผู้พิการ
• ตัวชี้วัด 11.7.2 สัดส่วนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางร่างกาย หรือเพศ จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพความพิการ และสถานที่เกิดเหตุ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 11.a.1 จำนวนประเทศที่มีนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเมืองหรือแผนพัฒนาภาค ซึ่งมี (ก) ความสอดคล้องกับพลวัตของประชากร (ข) ความสมดุลของการพัฒนาเชิงพื้นที่ และ (ค) การเพิ่มพื้นที่การคลัง (fiscal space) ของท้องถิ่น
• ตัวชี้วัด 11.b.1 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573
• ตัวชี้วัด 11.b.2 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
• ตัวชี้วัด 11.c *ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา*
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 12.1.1 จำนวนประเทศที่มีการพัฒนา รับรอง หรือนำใช้เครื่องมือการดำเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 12.2.1 ร่องรอบการใช้วัตถุดิบ (Material Footprint) ร่องรอยการใช้วัตถุดิบต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
• ตัวชี้วัดที่ 12.2.2 การบริโภควัตถุดิบในประเทศ การบริโภควัตถุดิบในประเทศต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
• ตัวชี้วัด 12.3.1 (ก) ดัชนีการสูญเสียอาหาร (ข) ดัชนีของเสียอาหาร
• ตัวชี้วัด 12.4.1 จำนวนภาคีสมาชิกของข้อตกลงพหุภาคีด้านลิ่งแวดล้อมว่าด้วยของเสียอันตรายและสารเคมีอื่น ๆ ที่บรรลุวัตถุประสงค์ของพันธกรณีและข้อผูกพันในการถ่ายทอดข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อตดลงที่เกี่ยวข้อง
• ตัวชี้วัด 12.4.2 (ก) ของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นต่อหัวประชากร และ (ข) สัดส่วนของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัด จำแนกตามประเภทการบำบัด
• ตัวชี้วัด 12.5.1 อัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ระดับประเทศ (national recycling rate) (จำนวนตันของวัสดุที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่)
• ตัวชี้วัด 12.6.1 จำนวนบริษัทที่จัดทำรายงานความยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 12.7.1 จำนวนประเทศที่นำนโยบายและแผนปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืนในภาครัฐไปปฏิบัติ
• ตัวชี้วัด 12.8.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (2) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่นั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน
• ตัวชี้วัด 12.a.1 กำลังผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (วัตต์ต่อหัวประชากร)
• ตัวชี้วัด 12.b.1 ดำเนินการใช้เครื่องมือทางการบัญชีที่มีมาตรฐานเพื่อติดตามมิติทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว
• ตัวชี้วัด 12.c.1 สัดส่วนของเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วย GDP (ด้านการผลิตและการบริโภค)
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
• ตัวชี้วัด 13.1.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอันเป็นผลมาจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน
• ตัวชี้วัด 13.1.2 จํานวนประเทศที่มีและดําเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 – 2573
• ตัวชี้วัด 13.1.3 สัดส่วนของหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีและดําเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
• ตัวชี้วัด 13.2.1 จํานวนประเทศที่จัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด (NDC) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP) และยุทธศาสตร์ในรายงานการดําเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) ตามที่รายงานต่อสํานักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)
• ตัวชี้วัด 13.2.2 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม ต่อปี
• ตัวชี้วัด 13.3.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (2) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู (ง) การประเมินผลนักเรียน
• ตัวชี้วัด 13.a.1 จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรและระดมทุนได้ต่อปี (ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบเคียงกับเป้าหมายการระดมทุนสะสมต่อเนื่องให้ได้ 1 แสนล้านเหรียญตามพันธะสัญญาจนถึงปี พ.ศ. 2568
• ตัวชี้วัด 13.b.1 จำนวนประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ที่จัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ในรายงานการดำเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) ตามที่รายงานต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 14.1.1 (a) (ก) ดัชนีของปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน (utrophication) และ (ข) ความหนาแน่นของขยะพลาสติกในทะเล
• ตัวชี้วัด 14.2.1 จำนวนประเทศที่ใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศในการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเล
• ตัวชี้วัด 14.3.1 ค่าความเป็นกรดในทะเลเฉลี่ย (pH) โดยวัดจากสถานีสุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่เห็นชอบร่วมกัน
• ตัวชี้วัด 14.4.1 สัดส่วนของมวลสัตว์น้ำที่อยู่ในระดับความยั่งยืนทางชีวภาพ
• ตัวชี้วัด 14.5.1 ขอบเขตพื้นที่คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล
• ตัวชี้วัด 14.6.1 ระดับความก้าวหน้าการดำเนินการใช้เครื่องมือ/กลไกระหว่างประเทศ เพื่อต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม
• ตัวชี้วัด 14.7.1 สัดส่วนของผลผลิตจากการประมงที่ยั่งยืนต่อ GDP ในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และทุกประเทศ
• ตัวชี้วัด 14.a.1 สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการวิจัยในด้านเทคโนโลยีทางทะเล
• ตัวชี้วัด 14.b.1 ระดับความก้าวหน้าการนำใช้กรอบกฎหมาย / ข้อบังคับ / นโยบาย / กรอบการปฏิบัติงานที่ตระหนักและคุ้มครองสิทธิในการทำประมงขนาดเล็ก
• ตัวชี้วัด 14.c.1 จำนวนประเทศที่มีความก้าวหน้าในการให้สัตยาบันยอมรับ และนำกรอบการทำงานเชิงกฎหมาย/ นโยบาย/ สถาบัน และเครื่องมือในการแปลงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับมหาสมุทรมาใช้ ดังที่สะท้อนอยู่ใน UNCLOS เพื่อการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 15.1.1 สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ดินทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 15.1.2 สัดส่วนของพื้นที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่งทางบกและแหล่งน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครอง จำแนกตามประเภทระบบนิเวศ
• ตัวชี้วัด 15.2.1 ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 15.3.1 สัดส่วนของที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมต่อพื้นที่ทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 15.4.1 ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนภูเขา
• ตัวชี้วัด 15.4.2 (ก) ดัชนีพื้นที่ภูเขาสีเขียว (Mountain Green Cover Index) และ (ข) สัดส่วนที่ดินภูเขาที่เสื่อมโทรม
• ตัวชี้วัด 15.5.1 ดัชนีบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List Index)
• ตัวชี้วัด 15.6.1 จำนวนประเทศที่มีการใช้กรอบทางกฎหมาย กรอบการบริหารงาน และกรอบนโยบาย ที่ประกันความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในการแบ่งปันผลประโยชน์
• ตัวชี้วัด 15.7.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย
• ตัวชี้วัด 15.8.1 สัดส่วนประเทศที่ใช้กฎหมายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรทรัพยากรเพื่อป้องกันหรือควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกรุกรานอย่างเพียงพอ
• ตัวชี้วัด 15.9.1 (ก) จำนวนประเทศที่กำหนดเป้าหมายระดับชาติที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับเป้าประสงค์ที่ 2 ของ Aichi Biodiversity ของแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011-2020 ไว้ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (NBSAP) และมีรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (ข) บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการรายงานและบัญชีประชาชาติ (การดำเนินการตามระบบบัญชีเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม SEEA)
• ตัวชี้วัด 15.a.1 (ก) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (ข) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
• ตัวชี้วัด 15.b.1 (ก) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (ข) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
• ตัวชี้วัด 15.c.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 16.1.1 จำนวนเหยื่อฆาตกรรม ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ และอายุ
• ตัวชี้วัด 16.1.2 การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามอายุ เพศ และสาเหตุ
• ตัวชี้วัด 16.1.3 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความรุนแรง (ก) ทางร่างกาย (ข) จิตใจ และ (ค) ทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.1.4 สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินในบริเวณพื้นที่ที่อาศัยเพียงลำพังในเวลากลางคืน
• ตัวชี้วัด 16.2.1 สัดส่วนของเด็กอายุ 1-17 ปี ที่เคยถูกทำร้ายทางร่างกายและ/หรือข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแลในเดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.2.2 จำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และรูปแบบการแสวงหาประโยชน์
• ตัวชี้วัด 16.2.3 สัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 18-29 ปีที่เคยถูกกระทำความรุนแรงทางเพศก่อนอายุ 18 ปี
• ตัวชี้วัด 16.3.1 สัดส่วนของเหยื่อความรุนแรงใน 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แจ้งการกระทำอันรุนแรงนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ หรือกลไกทางการในการยุติข้อขัดแย้ง
• ตัวชี้วัด 16.3.2 สัดส่วนของจำนวนผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่พิพากษาต่อจำนวนนักโทษทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 16.3.3 สัดส่วนของประชากรที่มีปัญหาความขัดแย้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเข้าถึงกลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ จำแนกตามประเภทของกลไก
• ตัวชี้วัด 16.4.1 มูลค่ารวมทั้งหมดของกระแสเข้าออกของเงินที่ผิดกฎหมาย (หน่วยเป็น ดอลลาร์สหรัฐ)
• ตัวชี้วัด 16.4.2 สัดส่วนของอาวุธที่ถูกยึด ค้นพบ และส่งมอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ติดตามและระบุแหล่งที่มาหรือบริบทที่ผิดกฎหมายของอาวุธ โดยเป็นไปตามมาตรฐานและเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ
• ตัวชี้วัด 16.5.1 สัดส่วนของบุคคลที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.5.2 สัดส่วนขององค์ธุรกิจที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.6.1 สัดส่วนการเบิกจ่ายต่องบประมาณที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จําแนกเป็น ภาค (หรือจําแนกตามรหัสงบประมาณ หรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน)
• ตัวชี้วัด 16.6.2 สัดส่วนประชากรที่พึงพอใจกับบริการสาธารณะครั้งล่าสุดที่ตนได้ใช้บริการ
• ตัวชี้วัด 16.7.1 สัดส่วนตำแหน่งในสถาบันของรัฐระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง (ก) สภานิติบัญญัติ (ข) บริการสาธารณะ และ (ค) คณะตุลาการ เปรียบเทียบกับการกระจายตัวในระดับชาติ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ผู้พิการ และกลุ่มประชากร
• ตัวชี้วัด 16.7.2 สัดส่วนของประชากรที่เชื่อว่ามีกระบวนการตัดสินใจที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการ จำแนกตามเพศ อายุ ความพิการ และกลุ่มประชากร
• ตัวชี้วัด 16.8.1 สัดส่วนของสมาชิก และสิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ
• ตัวชี้วัด 16.9.1 สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีการจดทะเบียนการเกิดกับหน่วยงานของรัฐ จำแนกตามอายุ
• ตัวชี้วัด 16.10.1 จํานวนคดีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง (verified) เกี่ยวกับการฆาตกรรม (killing) การลักพาตัว (kidnapping) การอุ้มหาย (enforced disappearance) การควบคุมตัวโดยพลการ (arbitrary detention) การทรมาน (torture) ที่กระทําต่อผู้สื่อข่าว บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สหภาพแรงงาน และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
• ตัวชี้วัด 16.10.2 จำนวนประเทศที่ใช้และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและ/หรือนโยบายที่รับประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
• ตัวชี้วัด 16.a.1 การมีองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับหลักสนธิสัญญาปารีส (Paris Princicples)
• ตัวชี้วัด 16.b.1 สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกคุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move
• ตัวชี้วัด 17.1.1 สัดส่วนรายได้ภาครัฐรวม ต่อ GDP จำแนกตามแหล่งที่มาของรายได้
• ตัวชี้วัด 17.1.2 สัดส่วนงบประมาณภายในประเทศที่จัดสรรจากภาษีภายในประเทศ
• ตัวชี้วัด 17.2.1 ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) สุทธิ ยอดรวม และที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของผู้บริจาคที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (Development Assistance Committee) ของ OECD
• ตัวชี้วัด 17.3.1 ทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมที่ได้รับการระดมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
• ตัวชี้วัด 17.3.2 สัดส่วนของมูลค่าการโอนเงินกลับประเทศ (เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ต่อ GDP ทั้งหมด
• ตัวชี้วัด 17.4.1 สัดส่วนภาระหนี้ (debt service) ต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ
• ตัวชี้วัด 17.5.1 จำนวนประเทศที่ยอมรับและดำเนินการตามกฎเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
• ตัวชี้วัด 17.6.1 จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ ต่อผู้อยู่อาศัย 100 คน จำแนกตามความเร็ว
• ตัวชี้วัด 17.7.1 จำนวนเงินทุนรวมที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการพัฒนา การถ่ายทอด การเผยแพร่ และการกระจายของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• ตัวชี้วัด 17.8.1 สัดส่วนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต
• ตัวชี้วัด 17.9.1 มูลค่าเงินดอลลาร์ ของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนา (รวมถึงผ่านความร่วมมือ เหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี) ที่ได้ให้คำมั่นไว้
• ตัวชี้วัด 17.10.1 ค่าเฉลี่ยของอัตราภาษีศุลกากรถ่วงน้ำหนักทั่วโลก
• ตัวชี้วัด 17.11.1 ส่วนแบ่งของการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการส่งออกรวมของโลก
• ตัวชี้วัด 17.12.1 ภาษีศุลกากรเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เผชิญอยู่
• ตัวชี้วัด 17.13.1 ผังติดตามเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Dashboard)
• ตัวชี้วัด 17.14.1 จำนวนประเทศที่มีกลไกเสริมสร้างความสอดคล้องของนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 17.15.1 ระดับของการที่ผู้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนานำใช้กรอบติดตามผลลัพธ์และเครื่องมือการจัดทำแผนที่ประเทศเป็นเจ้าของ
• ตัวชี้วัด 17.16.1 จำนวนประเทศที่รายงานความก้าวหน้าตามกรอบการติดตามประสิทธิผลของการพัฒนาที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 17.17.1 จำนวนเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีภาระผูกพันให้ใช้ในโครงการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
• ตัวชี้วัด 17.18.1 ตัวชี้วัดขีดความสามารถเชิงสถิติเพื่อการติดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ตัวชี้วัด 17.18.2 จำนวนประเทศที่มีกฎหมายด้านสถิติของประเทศที่สอดคล้องกับหลักพื้นฐานของสถิติทางการ
• ตัวชี้วัด 17.18.3 จำนวนประเทศที่มีแผนสถิติระดับประเทศที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนอย่างเต็มที่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการ จำแนกตามแหล่งเงินทุน
• ตัวชี้วัด 17.19.1 มูลค่าเงินดอลลาร์ของทรัพยากรที่จัดสรรเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสถิติของประเทศกำลังพัฒนา
• ตัวชี้วัด 17.19.2 สัดส่วนของประเทศที่ (ก) มีการดำเนินการสำมะโนประชากรและสำมะโนครัวเรือนอย่างน้อยหนึ่งครัhงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และ (ข) มีการจดทะเบียนการเกิด ร้อยละ 100 และ จดทะเบียนการตาย ร้อยละ 80
* ข้อมูลรายตัวชี้วัดระดับโลกโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ข้อมูลรายตัวชี้วัดของประเทศไทยโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
** อ้างอิงชื่อตัวชี้วัดภาษาไทยจากมติการประชุม UNSC ครั้งที่ 48 เดือนมีนาคม 2560 และแปลตัวชี้วัดที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย SDG Move