Sorting:
Sort Descending
  • SDGs กับเยาวชน

    เด็กและเยาวชนทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมสร้างโลกในวันข้างหน้า ด้วยการลงมือทำปรับพฤติกรรม เพื่อสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า โดยเริ่มจากการสร้างค่านิยมในการใช้ซ้ำ ลด ละ เลิก และงดการแชร์ส่งต่อ การล้อเลียน หรือ Bully ด้วยการสร้างวาทกรรมเสียดสี หรือ Hate Speech และหันมาใส่ใจกับคนรอบข้างและคนใกล้ตัวให้มากขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับภาคธุรกิจ SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร

  • SDG Impact Assessment Tool

    “SDG Impact Assessment Tool” เป็นครื่องมือการประเมิน สำหรับงานวิจัย สถาบันการศึกษา บริษัท ผู้ประกอบการ องค์กรภาคประชาชน และหน่วยงานรัฐ เพื่อระบุผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบของงานที่ทำต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ที่สามารถประเมินได้ด้วยตนเอง เครื่องมือนี้จะกระตุ้นให้เกิดการไตร่ตรองและการเรียนรู้ร่วมกันในประเด็น SDGs และการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเป้าหมาย ใช้งานได้ฟรีในรูปแบบออนไลน์     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษและลงทะเบียนและเข้าใช้งานได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool International Health Regulations (2005): State Party Self-assessment Annual Report […]

  • SDGs กับภาคธุรกิจ

    ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรามักให้ความสำคัญกับการทำกำไรสูงสุด โดยละเลยต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ และทางทะเล โลกร้อน การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Business จึงกลายมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :     Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)

  • ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

    ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมและคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยวาระการพัฒนาดังกล่าว ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก 169 เป้าหมายย่อย ซึ่งเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มีตัวชี้วัดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายหลัก สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ คือ มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติสันติภาพและความยุติธรรม และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2020: Monitoring […]

  • SDGs กับอาหารริมทาง

    อาหารริมทาง (Street Food) มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของเมนูอาหาร ผนวกกับรสชาติที่โดดเด่น ราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ครองใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ปัญหาขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ภาชนะฟุ่มเฟือย และการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราจะพลิกโฉม Street food ของเราให้มีสุขอนามัยที่ดี สะอาดปลอดภัย ไม่สร้างมลภาวะ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับภาคธุรกิจ SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) SDGs กับเกษตรกร

  • SDGs กับเกษตรกร

    เกษตรกรรมยั่งยืน คือ ระบบเกษตรที่ครอบคลุมวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งการเปลี่ยนจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือการลดใช้สารเคมี จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตรได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับภาคธุรกิจ SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

  • SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+)

    ประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQI+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน คิดเป็น 6% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แม้ว่าในมุมมองของชาว LGBTQI+ ทั่วโลกจะเห็นว่าประเทศไทยค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และให้การยอมรับชาว LGBTQI+ อย่างเต็มที่ แต่การวิจัยจากกลุ่มธนาคารโลก ร่วมกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท Love Frankie ระบุว่ากลุ่มคนข้ามเพศ 77% หญิงรักหญิง 62.5% และชายรักชาย 49% ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากความแตกต่างทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้มีเพียงแค่ในสังคมที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับชาว LGBTQI+ โดยทั่วไป หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ : Related posts: การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) […]

  • SDGs กับชีวิตคนเมือง

    คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้ง่ายๆด้วยการจัดสรรเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน เช่น มลภาวะทางอากาศ น้ำ ปัญหาขยะต่าง ๆ รวมถึงสุขภาพของคนเมือง หากคนเมืองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ : Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) Session 6: Drawing the Casual Diagram for Integration and Localizing SDG […]

  • SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action)

    เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจะบรรลุ SDGs ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นๆ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy […]

  • Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 National Review Reports

    รายงาน “Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 national review reports” ประกอบด้วยบทสรุปความท้าทาย ความสำเร็จ และคีย์สำคัญในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศและสริมอำนาจของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่แต่ละประเทศควรดำเนินการในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งให้เบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of […]

  • รวมข้อเสนอแนะที่กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออกให้แก่ประเทศไทยว่าด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตย พ.ศ. 2557-2563

    หนังสือ “รวมข้อเสนอแนะที่กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออกให้แก่ประเทศไทยว่าด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตย พ.ศ. 2557-2563” (Compilation of Recommendations Issued to Thailand by the UN Human Rights mechanisms on Issues Related to Democratic Space 2014-2020) รวบรวมข้อเสนอแนะที่เผยแพร่สู่สาธารณชนจากกลไกแห่งสหประชาชาติในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตย (democratic space) ไม่ว่าจะเป็น เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคมและการชุมนุม การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร   หน่วยงานที่จัดทำ:สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2563 รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2563 […]

  • SWU Sustainable Development Goals Report 2021

    รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ.​ 2564   หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SWU Sustainable Development Goals Report 2018 SWU Sustainable Development Goals Report 2019 SWU Sustainable Development Goals Report 2020 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being […]

  • ชุดเอกสาร Inner Development Goals

    ชุดเอกสาร “Inner Development Goals” หรือ “เป้าหมายการพัฒนาภายใน” นำเสนอกรอบทักษะสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดทำเป็นคู่มือซึ่งจะเผยแพร่แบบโอเพนซอร์สให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ฟรี กรอบการทำงานของ Inner Development Goals นั้นประกอบด้วย 5 มิติและ 23 ทักษะ คุณลักษณะ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำในการขับเคลื่อนป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และทุกคน กรอบการทำงานนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งที่ทรงพลังในการบรรลุ SDGs เและสร้างอนาคตที่ดีให้กับมวลมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: Inner Development Goals Initiative ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: UNESCO Strategy on Health and Well-Being: Contributing to the Sustainable Development Goals Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators […]

  • การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

    รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development Report 2021 Joint external evaluation of IHR core capacities of Libya […]

  • Building Agricultural Resilience to Natural Hazard-induced Disasters

    Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021 Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of […]

  • Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening

    การมีภูมิต้านทานตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate resilience) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ รายงานฉบับนี้หยิบยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของภาคเกษตร ที่หมายรวมถึงพืชผล การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมง ว่าจะสามารถเสริมขีดความสามารถและเตรียมพร้อมระบบเกษตรกรรมให้สามารถปรับตัวและฟื้นกลับจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้อ่านสามารถนำรายงานฉบับนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบ หรือเป็นแนวทางในการระบุชี้/ตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนต้นของการออกแบบและการผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index) SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition 2030 Recommendations of the […]

  • Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in 2020

    รายงานสำรวจดูนโยบาย มาตรการ และรูปแบบการค้าสินค้าเกษตรของประเทศต่าง ๆ ในห้วงขณะการระบาดของโควิด-19 เพราะอุปสงค์และอุปทานด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าในโลกเนื่องมาจากโรคระบาด ตัวอย่างมาตรการมีอาทิ การจำกัดการส่งออก การกำหนดมาตรการของตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการใดที่เป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของส่วนอื่นในโลกได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable and Circular Textile Value Chains: Linkages with Trade and Trade Policy – Case Study: Thailand Implications of the COVID-19 Pandemic for Commercial Contracts Covering the Transportation of Goods in the Asia-Pacific Region and Beyond Building Agricultural […]

  • Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia

    รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศจอร์เจีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG […]

  • Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region

    รายงาน “Regional Energy Trends Report 2020 : Tracking SDG 7 in the ASEAN Region” รายงานแนวโน้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการสร้างความสมดุลนโยบายต่อโลก ภูมิภาค ประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้ติดตามความคืบหน้าของภูมิภาคอาเซียนในการจัดให้มีการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง รวมถึงส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้พลังงานในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ยังคงช้าเกินไปในหลาย ๆ กรณีในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในปี ค.ศ. 2030     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy […]

  • GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia

    เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges […]