Sorting:
Sort Descending
  • The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration

    “รายงาน “”The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration”” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหาร การอพยพ และการโยกย้ายถิ่น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศและความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อย่างไรก็ตาม รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการพยากรณ์ล่วงหน้าและระบบเตือนภัยล่วงหน้า และพบว่าเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างปี 2011 ถึง 2020 รายงานนี้รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและการประเมินผลกระทบจากผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศหลายสิบคน จาก National Meteorological and Hydrological Services, Regional Climate Centres สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ องค์กรภายใต้สหประชาชาติ”   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of the World’s Midwifery 2011 SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) […]

  • On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators

    หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]

  • Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can Address Sustainable Development Challenges and the Triple Planetary Crisis

    รายงาน “Nature-Based Infrastructure: How natural infrastructure solutions can address sustainable development challenges and the triple planetary crisis” นำเสนอผลการศึกษาว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based infrastructure) มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้มากถึง 79% ของเป้าหมายย่อยทั้งหมด และยังช่วยปิดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services: UNOPS) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate […]

  • Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement

    รายงาน “Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement” เป็นรายงานการวิเคราะห์สถานะของการแก้ปัญหาการพลัดถิ่นภายในประเทศ (Internal Displacement) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างครอบคลุม โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศต้องเผชิญจากกลุ่มประเทศนำร่อง 15 ประเทศ ประกอบด้วยอัฟกานิสถาน, สาธารณรัฐอัฟริกากลาง, ชาด, โคลอมเบีย, เอธิโอเปีย, อิรัก, ลิเบีย, โมซัมบิก, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, โซมาเลีย, ซูดานใต้, ซูดาน, วานูอาตู และเยเมน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Assessment Report: Special Report 2023 – […]

  • Emissions Gap Report 2023

    รายงาน “Emissions Gap Report 2023” ฉบับนี้เป็นรายงานช่องว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฉบับที่ 14 โดยเป็นรายงานสำคัญประจำปีที่จะเผยแพร่ล่วงหน้าก่อนการเจรจาหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีนั้น เพื่อติดตาม ประเมิน และรายงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามข้อผูกพันที่ทุกประเทศได้ตกลงไว้ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ผลการประเมินพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีค.ศ. 2030 ที่คาดการณ์ไว้จะต้องลดลงร้อยละ 28-42 สำหรับการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2°C และ 1.5°C   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Sustainable Development Report 2023 Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition Global Report on Food Crises 2023 World Social Report […]

  • The Climate-changed Child

    รายงาน “The Climate-changed Child” เป็นรายงานฉบับต่อยอดจากดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับเด็ก (Children’s Climate Risk Index) ปี 2011 โดยมุ่งเน้นไปที่เด็ก ๆ ที่ต้องเผชิญภัยคุกตามจากภาวะน้ำขาดแคลนและภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ควบคู่ไปกับการระบุถึงแนวทางสำคัญที่ประชาคมโลกต้องดำเนินการ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index) Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights […]

  • Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health

    เอกสาร “Operational Framework for Building Climate Resilient and Low Carbon Health” เป็นกรอบปฏิบัติการด้านการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นไปที่การยกระดับความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศของระบบสุขภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการออกแบบระบบสุขภาพเชิงปฏิรูปที่สามารถให้บริการดูแลรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพได้แม้ว่าอยู่ในภาวะที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting […]

  • The State of Food and Agriculture 2023

    รายงาน “The State of Food and Agriculture 2023” เสนอแนวทางประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ของระบบเกษตร-อาหาร (Agrifood System) เนื่องจากการสร้างระบบเกษตร-อาหารที่ยั่งยืนนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายเป้าหมาย และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประเมินต้นทุนที่แท้จริงในทุกระดับ นวัตกรรมด้านการวิจัยและข้อมูล และการลงทุนในการรวบรวมข้อมูลและเสริมสร้างขีดความสามารถด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of Food and Agriculture 2018 The State of Food and Agriculture 2020 The State of Food and Agriculture 2019 The State of Food and Agriculture […]

  • Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals

    รายงาน “Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals” ได้สำรวจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเสี่ยง (risk-informed sustainable development) มีลักษณะอย่างไรในโลกที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นไปที่การอธิบายความเชื่อมโยงของความเสี่ยงและการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (resilience) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพร้อมเผชิญภัยที่ซับซ้อนมากขึ้นอันเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นและภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวจะต้องเป็นศูนย์กลางในการวางกรอบการดำเนินงานวาระการพัฒนาหลังปี 2030   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SDGs Mega Trends 2023: Unlock the Global Pathways to Resilience, Growth, and Sustainability Sustainable Development Goals Report 2023: Special […]

  • Global Tuberculosis Report 2023

    รายงาน “Global Tuberculosis Report 2023” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 192 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals Global Report on Food Crises 2023 Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions […]

  • คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย

    “คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย” (SDG Guidebook for Thai Listed Companies) เป็นแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยในการผนวกแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมทั้งเสนอเครื่องมือเครื่องมือการวัดผลและการจัดการผลกระทบ (Impact Measurement and Management – IMM) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับข้อกำหนดในแบบการเปิดเผยข้อมูล 56-1 One Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Joint External Evaluation Tool: International Health Regulations (2005)-First Edition United Nations Common Guidance on Helping Build Resilient […]

  • 2023 State of Climate Services: Health

    รายงาน “2023 State of Climate Services: Health” สำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ พบว่าการมีข้อมูลและบริการด้านสภาพภูมิอากาศที่เฉพาะเจาะจงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อสนับสนุนภาคสาธารณสุขในการรับมือกับสภาพอากาศเลวร้าย คุณภาพอากาศที่แย่ รูปแบบการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เปลี่ยนแปลง และความไม่มั่นคงด้านอาหารและน้ำ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสุขภาพประชาชนและเพิ่มแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุข ทำให้ความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 (SDG 3) ถดถอบ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก […]

  • คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก (สำหรับประชาชน)

    “คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจก (สำหรับประชาชน)” จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก และเพื่อสร้างควาสามารถในการส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป     หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template คู่มือพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector

  • พจนานุกรมสภาพภูมิอากาศ: คู่มือคำศัพท์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    พจนานุกรมสภาพภูมิอากาศ (The Climate Dictionary) รวบรวมคำศัพท์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยคำอธิบายที่กระชับที่จะช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนกับประชาชนทั่วไป เนื้อหาได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อรองรับผู้อ่านหลากหลายกลุ่ม ครอบคลุมทั้งผู้ที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์และผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องดังกล่าว   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (2005): State Party Self-assessment Annual Report Tool SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง

  • Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific

    รายงาน “Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific” นำเสนอภาพประเด็นเร่งด่วนด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนายั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดจนการหารือเกี่ยวกับความท้าทาย โอกาส รวมทั้งให้ข้อเสนอเป็นหลักสิบประการในการดำเนินการสำหรับผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และการเงินเอกชนในการปิดช่องว่างนี้ของบรรดาประเทศสมาชิกในภูมิภาค   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Emissions Gap Report 2023 Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance State of Finance for Nature 2023 แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)​

  • Taking Stock: Sexual and Reproductive and Health and Rights in Climate Commitments: A Global Review Summary

    รายงาน “Taking Stock: Sexual and Reproductive and Health and Rights in Climate Commitments: A Global Review Summary” ศึกษาการบูรณาการหัวข้ออนามัยการเจริญพันธุ์และสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น สุขภาพ เพศ พลวัตของประชากร เยาวชน สิทธิมนุษยชน กลุ่มเปราะบาง และการมีส่วนร่วม ในการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) เพื่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับโลกของประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด 119 ประเทศนับตั้งแต่ปี 2020   หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and […]

  • มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)

    เอกสาร “มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)” เป็นฉบับแปลภาษาไทยของเอกสาร “Standards of Conduct for Business: Tackling Discrimination against Lesbian, Gay, Bi, Trans, & Intersex People” จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางการส่งเสริมความเสมอภาคและการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBTI ในสถานประกอบการสำหรับภาคธุรกิจ โดยยึดหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) เคารพสิทธิมนุษยชน (2) ยุติการเลือกปฏิบัติ (3) สนับสนุนชุมชน LGBTI (4) ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ และ (5) มีบทบาทในภาคสาธารณะ   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) และ UNDP ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related […]

  • Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion

    รายงาน “Global Progress Report on Sustainable Development Goal 16 Indicators: A Wake-Up Call for Action on Peace, Justice and Inclusion” นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดของตัวชี้วัดในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นว่าประชาคมโลกไปไม่ถึงเป้าหมายตามคำมั่นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นและความเหลื่อมล้ำกันยังคงเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจทางด้านนโยบายที่ครอบคลุม และการเกิดคอร์รัปชันกัดกร่อนสัญญาประชาคม โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานสหประชาชาติหลายแห่งที่รับผิดชอบตัวชี้วัดและฐานข้อมูล SDG Global Database   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions) Rethinking Schooling […]

  • General Guidelines for the Implementation of Sustainability in Higher Education Institutions

    คู่มือ “General guidelines for the implementation of sustainability in higher education institutions” สรุปองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างแนวทางที่เป็นระบบและเพิ่มการมีส่วนร่วมเพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนมากขึ้นจากภายใน     หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Academic Impact Initiative (UNAI) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Accelerating Education for the SDGs in Universities: A Guide for Universities, Colleges, and Tertiary and Higher Education Institutions Guidelines for the Use of the SDG Logo including […]

  • The Costs of Achieving the Sustainable Development Goals

    รายงานการวิเคราะห์ “The costs of achieving the Sustainable Development Goals” รูปแบบออนไลน์ เสนอผลการประเมินมูลค่าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพื่อช่วยให้ผู้จัดทำนโยบายตัดสินใจลงทุนและจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุ SDGs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย UNCTAD วิเคราะห์ข้อมูลเกือบ 50 ตัวชี้วัด SDGs จาก 90 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 48 ประเทศกำลังพัฒนา ทั้งหมดคิดเป็นสามในสี่ของประชากรโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Achieving the Sustainable Development Goals in India: Ensuring No State Falls Behind Regional Action Agenda on Achieving the. Sustainable Development Goals […]