Sorting:
Sort Descending
  • Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’

    เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: Towards Achieving the SDGs […]

  • Europe Sustainable Development Report 2020

    รายงาน “Europe Sustainable Development Report 2020” เป็นฉบับที่ 2 ที่รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2019 Europe Sustainable Development Report Sustainable Development Report 2020 World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) 2019 US Cities Sustainable Development Report

  • Global Wage Report 2020-21: Wages and minimum wages in the time of COVID-19

    รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2020/21 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำหนดค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำ ผลกระทบจากโควิด – 19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Wage Report 2008/09: Minimum wages and collective bargaining: Towards policy coherence Global Wage Report 2012/13: Wages and Equitable Growth Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality Global Wage Report 2010/11: Wage policies […]

  • Atlas of Sustainable Development Goals 2020

    Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Municipal Atlas of the SDGs in Bolivia 2020 World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) Sustainable […]

  • WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health

    คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: International Health Regulations (2005): Guidance Document for the State Party Self-assessment Annual Reporting Tool Operational Framework for Building Climate Resilient and […]

  • Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector

    คู่มือ “Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้ประเมินการดำเนินงานของภาคการท่องเที่ยวต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย และให้สถานที่ท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบตนเองได้ว่าดำเนินงานสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้วหรือไม่     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network (Spain) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development GCED: Taking It […]

  • ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020

    รายงาน “ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2022” เป็นรายงานเรื่องตัวชี้วัด SDGs ฉบับแรกของอาเซียนที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลฐาน (baseline information) ของติดตามและวัดผล การดำเนินการบรรลุ SDGs ในภูมิภาค และจะช่วยสนับสนุนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลของรัฐสมาชิกอาเซียนที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ASEAN SDG Baseline Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

  • เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)

    ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

  • เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)

    สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]

  • เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

    ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย […]

  • เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)

    ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

  • เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

    ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: […]

  • เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Responsible consumption and production)

    รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องลดรอยเท้าทางนิเวศลงอย่างเร่งด่วน โดยการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภคสินค้าและทรัพยากร การเกษตรกรรมเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในโลก และในขณะนี้มีการจัดการน้ำให้ถึง 70% ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด การจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการกำจัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ การส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลและลดขยะมูลฝอยในอุตสาหกรรม ธุรกิจและผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญเท่าเทียมกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่แผนการบริโภคที่ยั่งยืนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

  • เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (SDG 11: Sustainable cities and communities)

    การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งนำไปสู่ความเจริญในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมืองใหญ่ที่มีพลเมืองจำนวน 10 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน ความยากจนมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น การทำให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืน หมายถึง การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: 2019 US Cities Sustainable Development Report SDG Index and Dashboards Report for European Cities 2017 U.S. Cities SDG Index เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG […]

  • เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)

    ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below […]

  • เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation and infrastructure)

    พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เป็นกุญแจสำคัญในการหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีชิ้นงานใหม่และส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและการลงทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เหล่านี้เป็นวิธีที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนา 17 ข้อ ที่อยู่ในวาระการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) วิธีการแบบบูรณาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความคืบหน้าไปยังเป้าหมายอื่นๆ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

  • เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth)

    ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานที่ประสบปัญหาความยากจนขั้นรุนแรงลดลงอย่างมาก จำนวนชนชั้นกลางมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการเติบโตยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น การจ้างงานไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงานที่เติบโตขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2558 มีผู้ไม่มีงานทำถึง 204 ล้านคนทั่วโลก เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยบรรลุการมีผลิตภาพและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผ่านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการและการสร้างงาน รวมทั้งมาตรการที่มีประสิทธิผลในการขจัดแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อบรรลุการจ้างงานเต็มรูปแบบ มีประสิทธิภาพและมีคุณค่า สำหรับทุกคนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :   Related posts: เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger) เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation […]

  • เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy)

    ในห้วงเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกสามารถเข้าถึงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ล้านคนทั่วโลก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานราคาถูกมากขึ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้น การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 7 ภายในปี 2573 จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อน รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพพลังงาน และการสร้างหลักประกันการเข้าถึงพลังงานโดยถ้วนหน้า โดยการขยายโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกประเทศจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation) เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: […]

  • เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation)

    ปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกกว่าร้อยละ 40 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ปริมาณน้ำดื่มสะอาดที่ลดลงยังเป็นปัญหาสำคัญ หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และภาวะการเป็นทะเลทรายที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ การจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนภายในปี 2573 จึงต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ รวมทั้งการมีสุขอนามัยและการสุขาภิบาลที่เหมาะสม ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ ตลอดจนสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมโดยถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water) เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being) เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: […]

  • เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)

    การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ : Related posts: In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy) เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth) […]