Sorting:
Sort Descending
  • Tracking Universal Health Coverage: 2023 Global Monitoring Report

    รายงาน “Tracking universal health coverage: 2023 global monitoring report” ศึกษาความครอบคลุมของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับโลก ที่ทำให้เห็นสถานการณ์การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นที่ยากลำบากและอุปสรรคทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนยากจนและคนที่เปราะบางมากกว่าคนกลุ่มอื่น ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าโลกยังอยู่นอกเส้นทางสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญต่อการพัฒนาและขยายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สำเร็จได้ทันภายในปี 2030   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Report of the Global Conference on Primary Health Care: From Alma-Ata Towards Universal Health Coverage and the Sustainable Development Goals World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics […]

  • Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda

    รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 […]

  • คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

    “คู่มือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” ให้ข้อมูลรายละเอียดของ ‘กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งเดิมคือกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบ ภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง     หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template คู่มือประกอบการฝึกอบรมว่าด้วย การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน SDG Impact Assessment Tool

  • Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda

    รายงาน “Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda” นำเสนอข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับเพื่อแสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการโยกย้ายถิ่นฐานสามารถช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อที่ประชุม SDG Summit ปี 2023   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review […]

  • Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023

    รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of Food […]

  • Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines

    รายงาน “Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines” นำเสนอประมาณการแนวโน้มความยากจนในเด็ก 10.4 ล้านคนจาก 147 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2013 – 2022 พบว่ามีเด็กประมาณ 333 ล้านคนทั่วโลก หรือ 1 ใน 6 ใช้ชีวิตอยู่ความยากจนขั้นรุนแรง (มีระดับรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อวันต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์สหรัฐ) และจากการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าระดับปัจจุบัน การยุติความยากจนขั้นรุนแรงในเด็กจะไม่สามารถบรรลุได้ทันภายในปี 2030   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และธนาคารโลก ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2023 Global Multidimensional Poverty Index (MPI) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty) […]

  • Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together

    รายงาน “Synergy Solutions for a World in Crisis: Tackling Climate and SDG Action Together” เป็นรานงานฉบับแรกที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ทั้งหมด 14 ท่าน เพื่อให้ภาพรวมและคำแนะนำสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ส่งเสริมกัน (synergy) บนฐานของข้อมูล หลักฐาน และประสบการณ์จากคนทำงานแนวหน้าเอง     หน่วยงานที่จัดทำ: UNDESA และ UNFCCC ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index) Proposals for Crisis-response Provisions in […]

  • Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions

    หนังสือ “Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions” วิเคราะห์บทบาทของบริษัทในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงวิธีการสร้างกรอบการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่มีประสิทธิภาพ และร่างกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นสำหรับกิจกรรมและการลงทุนที่ยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business Lessons from COVID-19 for Climate Change Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social […]

  • Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023

    รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยฉบับที่สองประจำปีค.ศ. 2023 นี้ถือเป็นการทบทวนครึ่งทางของวาระ จึงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมด้วยวิทยาศาสตร์ ที่จะสามารถเปลี่ยนทิศทางการขับเคลื่อน (SDGs) ให้ไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019 Sustainable Development Report 2023 Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition Economic and Social […]

  • World Public Sector Report 2023

    รายงาน “World Public Sector Report 2023” นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาครัฐในระดับโลก ภายใต้ธีม Transforming institutions to achieve the Sustainable Development Goals after the pandemic เพื่อศึกษาบทบาทของนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านสถาบันและการกำกับดูแลที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ในระดับประเทศ ในการส่งเสริมความก้าวหน้าสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Economic and Social Survey of Asia and the Pacific 2023: Rethinking Public Debt for the Sustainable Development Goals Guide to Sustainable Tourism. Challenges […]

  • Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2023

    รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The gender snapshot 2023” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition Sustainable Development Report 2023 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable […]

  • รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565

    “รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565 รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565

  • Key Indicators for Asia and the Pacific 2023

    รายงาน “Key Indicators for Asia and the Pacific 2023” นำเสนอสถิติเกี่ยวกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงตัวชี้วัดที่สำคัญบางประการสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ล่าสุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศที่เป็นสมาชิกธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เนื้อหาภายในวิเคราะห์แนวโน้มความก้าวหน้าในการพัฒนา และอุปสรรคในการบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นควบคู่ไปกับผลกระทบที่ยังคงอยู่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนหลายล้านคนในภูมิภาคเข้าสู่ภาวะยากจนมากขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023 Economic and Social Survey of Asia and the Pacific 2023: […]

  • The Future of Asia & Pacific Cities 2023: Crisis Resilient Urban Futures

    รายงาน “The future of Asia & Pacific cities 2023 : crisis resilient urban futures” นำเสนอผลวิเคราะห์และการประเมินการพัฒนาเมืองยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกอย่างครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญภายใต้ผลกระทบต่อเนื่องที่เมืองต้องเผชิญจากวิกฤตการณ์ระดับโลกในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบการบริหารจัดการ (governance) เมือง พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูพื้นที่เขตเมืองอย่างยั่งยืน     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก. (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods วิกฤติสภาพภูมิอากาศ […]

  • คู่มือองค์ความรู้ BCG

    “คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น     หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development Preparing Teachers for Global Citizenship Education: A Template คู่มือประกอบการฝึกอบรมว่าด้วย การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน SDG Impact Assessment Tool

  • Asia-Pacific Migration Data Report 2022

    “รายงาน “”Asia-Pacific Migration Data Report 2022″” รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานล่าสุด และข้อมูลเชิงลึกในด้านแนวโน้มต่างๆ ที่สังเกตการณ์ได้ตลอดปี 2022 ซึ่งแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักของการโยกย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังคงทิ้งผลลัพธ์ทางอ้อมไว้ต่อผู้อพยพทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย-แปซิฟิกฉบับนี้เป็นรายงานฉบับที่สาม ที่จัดทำมาต่อเนื่องประจำปีนับตั้งแต่ปี 2020″   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Asia-Pacific Migration Data Report 2021 Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022 Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in […]

  • Climate Finance Landscape of Asia and the Pacific

    รายงาน “Climate Finance Landscape of Asia and the Pacific” ประเมินภาพรวมสถานการณ์การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และวิเคราะห์แนวทางที่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนเหล่านี้เพื่อขยายการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นช่องว่างทางการเงิน เสนอแนะการพิจารณาแนวทางเพิ่มการลงทุนสำหรับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เงินทุนเหล่านี้ไปถึงยังประเทศและภาคส่วนที่ต้องการมากที่สุด     หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions The Race to Net Zero: Accelerating Climate […]

  • รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565

    รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2565 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2022) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด       หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565 รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565

  • Global Climate Litigation Report: 2023 Status Review

    รายงาน “Global Climate Litigation Report: 2023 Status Review” ทบทวนภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันและเทรนด์การดำเนินคดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก รายงานนี้มุ่งเน้นเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้พิพากษา ทนายความ นักวิจัย นักสิ่งแวดล้อม นักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศ นักสิทธิมนุษยชน NGOs ภาคธุรกิจ และประชาคมโลก ที่สามารถแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านคดีส่วนใหญ่ที่ฟ้องร้องต่อศาล โดยรวบรวมข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2022 จาก Climate Change Litigation Databases ของ Sabin Center for Climate Change Law     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Status Report on Road Safety […]

  • The Journey of Food

    อินโฟกราฟิก “The Journey of Food” แสดงภาพรวมของความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่าของระบบอาหาร พร้อมด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชน   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of Food and Agriculture 2020 The State of Food Security and Nutrition in the World 2021 The State of Food Security and Nutrition in the World 2020 Food Waste Index Report 2024