The Cost of Inaction: Quantifying the Impact of Climate Change on Health in Low- and Middle-Income Countries
รายงาน “The Cost of Inaction: Quantifying the Impact of Climate Change on Health in Low- and Middle-Income Countries” ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเด็นสุขภาพในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) โดยประเมินผลกระทบจากโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ เช่น โรคที่เกิดจากยุงและน้ำ การขาดสารอาหาร และอุณหภูมิความร้อนที่สูงเกินไป พร้อมทั้งคำนวณต้นทุนทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต รายงานนี้ครอบคลุม 69 ประเทศใน LMICs และประเมินผลกระทบในช่วงปี 2026-2100 ตามสองสถานการณ์เศรษฐกิจ (SSP3 และ SSP2) โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Health Equity for Persons with Disabilities: Guide for Action
เอกสาร “Health Equity for Persons with Disabilities: Guide for Action” เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของคนพิการ ซึ่งรายงานของ WHO พบว่าคนพิการมักเสียชีวิตเร็วกว่า มีสุขภาพไม่ดี และได้รับผลกระทบจากโรคภัยไข้เจ็บมากกว่าคนทั่วไป คู่มือฉบับนี้จึงเสนอแนวทางให้ประเทศต่างๆ ปรับปรุงระบบสุขภาพ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2024
รายงาน “The State of Food and Agriculture 2024” นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับระบบการผลิตอาหารทั่วโลกยอดจาก The State of Food and Agriculture 2023 โดยมุ่งเน้นการใช้วิธีการประเมินต้นทุนที่แท้จริง (True Cost Accounting) ในการวิเคราะห์ระบบเกษตรและอาหาร (agri-food systems) และเสนอแนวทางนโยบายเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ยั่งยืนมากขึ้น รายงานนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมในระบบเกษตรและอาหาร และเน้นความสำคัญในการทำให้ระบบนี้มีความครอบคลุม (inclusive) ทนทาน (resilient) และยั่งยืน (sustainable) มากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Turning the Tide: From Climate Crisis to Climate Action
รายงาน “Turning the Tide: From Climate Crisis to Climate Action” เน้นย้ำความเร่งด่วนในการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศเพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หากไม่ทำตามเป้าหมายนี้ ผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานชี้ให้เห็นถึงช่องว่างทางการเงินมหาศาลในการบรรลุเป้าหมายนี้ และเสนอแนวทางการแก้ไขโดยการระดมทุนและความร่วมมือจากทั่วโลก เพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์ป่า การใช้พลังงานสะอาด และการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้เป็นการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลงทุนในอนาคตที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The Least Developed Countries Report 2024
รายงาน “The Least Developed Countries Report 2024” เป็นแหล่งข้อมูลและการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคมประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก (LDCs) ที่ครอบคลุม โดยมุ่งเน้นให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของประเทศยากจนที่สุดในโลก โดยเฉพาะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเข้าร่วมตลาดคาร์บอน รายงานฉบับนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงประสบการณ์ของประเทศเหล่านี้ในการใช้ตลาดคาร์บอนเพื่อพัฒนาประเทศ และเสนอแนวทางในการใช้ประโยชน์จากตลาดคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Cities Report 2024: Cities and Climate Action
รายงาน “World Cities Report 2024: Cities and Climate Action” ชี้ให้เห็นว่าเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ เมืองต่าง ๆ ยังขาดแคลนงบประมาณในการปรับตัวรับกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้เสี่ยงต่อภัยพิบัติต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานยังมองในแง่บวก โดยชี้ให้เห็นว่าเมืองสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาได้ หากมีการวางแผนและดำเนินการที่เหมาะสม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2025
รายงาน “World Happiness Report 2025” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยใช้ข้อมูลจาก Gallup World Poll และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยฉบับปีพ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) กล่าวถึงวัยหนุ่มสาวทั่วโลกกว่า 19% ระบุว่าไม่มีใครให้พึ่งพิงทางสังคม ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 39% จากปี 2006 หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Risks Report 2025
รายงาน “Global Risks Report 2025” นำเสนอผลจากการเก็บข้อมูลผ่านการสำรวจ Global Risks Perception Survey (GRPS) ปี พ.ศ. 2567 – 2568 สำรวจความเห็นข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 900 รายทั่วโลกในหลากหลายสาขารวมถึงผู้กำหนดนโยบายและผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีต่อความเสี่ยงโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น (2 ปี) และความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในระยะยาว (10 ปี) หน่วยงานที่จัดทำ: สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2025
รายงาน “Asia and the Pacific SDG Progress Report 2025: Engaging communities to close the evidence gap” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยได้นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก พร้อมเน้นย้ำว่าความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ คู่มือ “Active Learning on Biodiversity and Climate Change: ABC” เพื่อช่วยในการสอนเด็กอายุ 7-18 ปีเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คู่มือนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และเครือข่ายเยาวชน โดยประกอบด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Population Prospects 2024: Summary of Results
รายงาน “World Population Prospects 2024: Summary of Results” เป็นรายงานสรุปผลการประมาณการและการคาดการณ์ประชากรโลกอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ โดยใช้ข้อมูลประชากรจาก 237 ประเทศ/รัฐทั่วโลก ตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน โดยรายงานฉบับนี้ยังได้คาดการณ์จำนวนและสถานการณ์ประชากรไปจนถึงปีค.ศ. 2100 โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หลายกรณีในระดับโลก ภูมิภาค และระดับชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ((United Nations Department of Economic and Social Affairs: UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG 7 Road Map for Thailand
เอกสาร “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG 7 Road Map for Thailand” มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลไทยในการประเมินว่านโยบายและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีอยู่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมาย SDG 7 และ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) ภายในปี ค.ศ. 2030 เสนอมุมมองเชิงยุทธศาสตร์แก่ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพลังงานคาร์บอนต่ำของไทย ให้สอดคล้องกับการพยายามระดับโลกเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2024
รายงาน “Sustainable Development Goals Report 2024หรือ รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2024 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน รายงานประจำปีนี้พบว่ามีเป้าหมายย่อยของ SDGs แค่ 17% เท่านั้นที่จะบรรลุได้ทันตามเป้าหมายเวลาปี 2030 ซ้ำยังพบช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ขยายกว้างขึ้น รายงานยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเพิ่มการลงทุนและการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Child Food Poverty: A Nutrition Crisis in Early Childhood – 2024
รายงาน “Child Food Poverty: A Nutrition Crisis in Early Childhood – 2024” วิเคราะห์ผลกระทบและสาเหตุของภาวะขาดสารอาหารในเด็กเล็กทั่วโลกเป็นครั้งแรก ครอบคลุมข้อมูลจากเกือบ 100 ประเทศและทุกกลุ่มรายได้ รายงานนี้ให้ภาพรวมสถานการณ์โลกพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หลายล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและหลากหลายเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีที่สุดในวัยเด็กและอนาคตได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools 2015-2023: Special Focus on Menstrual Health
รายงาน “Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools 2015-2023: Special Focus on Menstrual Health” นำเสนอข้อมูลสถานการณ์น้ำสะอาด สุขาภิบาล และสุขอนามัย (Wash and Sanitation, Hygiene) ในโรงเรียนจนถึงปีค.ศ. 2023 ทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลก โดยมุ่งเน้นเป็นพิเศษเรื่องสุขอนามัยขณะมีประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2024 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้แนวโน้มความก้าวหน้าที่ดีขึ้นของอายุขัยคาดเฉลี่ยแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีถอยหลังลง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 – 2566
รายงาน “สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 – 2566” เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย นำเสนอผลการดำเนินงานของหน่วยบริการที่ให้การรักษาวัณโรคทั่วประเทศที่บันทึกในระบบโปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของประเทศ (National Tuberculosis Information Program: NTIP) หน่วยงานที่จัดทำ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
IMF ทำงานส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินชั่วคราวและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบัน IMF มียอดสินเชื่อคงค้างใน 74 ประเทศ ถึง 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สำนักเลขาธิการ UNFCCC (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ) ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เมื่อ 197 ประเทศรับรองกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดบทำงานในฐานะหน่วยงานของสหประชาชาติที่ได้รับมอบหมายให้รับมือต่อการคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Press and Planet in Danger: Safety of Environmental Journalists; Trends, Challenges and Recommendations
รายงาน “Press and Planet in Danger: Safety of Environmental Journalists; Trends, Challenges and Recommendations” เปิดเผยกรณีตัวอย่างที่สื่อมวลชนและสำนักข่าวที่รายงานเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกระหว่างปี 2009-2023 ที่ตกเป็นเป้าหมายของการประทุษร้าย ทั้งด้วยการฆาตกรรม ความรุนแรงทางกาย การคุมขังและการจับกุม การโจมตีทางออนไลน์ หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกัน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็พบการเพิ่มขึ้นของข้อมูลเท็จออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ รายงานฉบับนี้ยังเรียกร้องให้มีการสนับสนุนการทำงานของนักข่าวสายสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ดีขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Are We Getting there? A Synthesis of UN System Evaluations of SDG 5
รายงาน “Are We Getting there? A Synthesis of UN System Evaluations of SDG 5” นำเสนอผลสังเคราะห์ผลการประเมินการทำงานข้ามหน่วยงานของหน่วยงานในระบบสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการทำงานที่ประสบความสำเร็จ ช่องว่างของข้อมูล และบทเรียนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของ SDG 5 หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA), องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และ โครงการอาหารโลก (WFP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Impact of Climate Change on Education and What to do About it
รายงานการศึกษา “The Impact of Climate Change on Education and What to do About it” มุ่งเน้นไปที่การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการศึกษา โดยเฉพาะผลกระทบเชิงลบของสภาพอากาศเลวร้ายที่มีต่อผลลัพธ์ด้านการศึกษา งานวิจัยนี้มุ่งเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญและดำเนินกลยุทธ์เพื่อปกป้องระบบการศึกษาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การลดความยากจน และความเป็นปึกแผ่นสมานฉันท์ในสังคม (social cohesion) หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566/67
รายงาน “รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566/67” เป็นฉบับแปลภาษาไทยของรายงาน “The State of the World’s Human Rights 2023/24” นำเสนอข้อมูลภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในระดับโลก ผ่านข้อมูลจาก 155 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาค โดยชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับผละกระทบจากความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นและระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เกือบจะล่มสลาย การปราบปรามสิทธิมนุษยชนและการละเมิดหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ และยังพบอีกว่าการแย่งชิงความเป็นใหญ่ของประเทศมหาอำนาจยิ่งทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศตกอยู่ในความรุนแรง หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
State of the Climate in Asia 2023
รายงาน “State of the Climate in Asia 2023” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงอัตราเร่งของตัวชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิผิวน้ำ การละลายของธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate
รายงาน “Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate” ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดและมลพิษทางอากาศ โดยค้นพบว่าปัญหาสุขภาพของแรงงาน ทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไตทำงานผิดปกติ และความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิต มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานยังศึกษาการตอบสนองของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงหรือสร้างกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ เช่น มาตรการประหยัดพลังงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action
รายงาน “UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action” เป็นรายงานฉบับแรกที่ศึกษาว่า “ปัญญารวมหมู่” (collective intelligence) สามารถยกระดับการรับมือกับปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ผ่านการระดมข้อมูลสภาพภูมิอากาศแบบเรียลไทม์ในพ้นที่อย่างละเอียด รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนจำนวนมากขึ้นและมุมมองที่หลากหลายขึ้น ให้ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว่าประเทศในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) กว่า 100 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) 36 ประเทศและกลุ่มรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States: SIDS) 38 ประเทศ วิเคราะห์โดย UNDP Accelerator Labs Network หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A Review in the Context of El Nino
เอกสารข้อสรุปเชิงนโยบาย “Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A review in the context of El Nino” ศึกษาผลกระทบของคลื่นความร้อนและภัยแล้งอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอล นีโญ (El Niño) ต่อความมั่นคงทางอาหาร ผลผลิตทางเศรษฐกิจ และงานดูแลของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงเน้นย้ำถึงอัตราการเกิดความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศที่น่าอันตรายในช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ เอกสารฉบับนี้ยังเสนอแนะแนวทางเชิงรุกที่คำนึงถึงมิติด้านเพศสภาพในการแก้ปัญหาทั้งด้านมนุษยธรรมและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติที่เกิดต่อผู้หญิง หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Guide for Adaptation and Resilience Finance
เอกสาร “Guide for Adaptation and Resilience Finance” เป็นคู่มือเพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวและเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับและฟื้นคืนทางการเงินเมื่อต้องรับมือกับภัยพิบัติ โดยเสนอแนวทางในการบูรณาการการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction: DRR) เข้ากับแผนการเงินแห่งชาติ ผ่านหลายกิจกรรมที่แนะนำมากกว่า 100 รายการที่สามารถระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว เช่น การพัฒนาพืชที่ทนต่อสภาวะอากาศ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลรัฐ และการอนุรักษ์ป่าชายเลน ด้วยการลงทุนเหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการความเสี่ยงทางการเงินจากภัยพิบัติและเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนักลงทุนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN Office for Disaster Risk Reduction: UNDRR) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และบริษัทผู้สอบบัญชี KPMG ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2024 Financing for Sustainable Development Report: Financing for Development at a Crossroads
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2024: Financing for Development at a Crossroads” นำเสนอสถานการณ์การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่าความท้าทายด้านการเงินยังเป็นรากฐานปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการดำเนินการเพื่อแก้ไขและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ช่องว่างทางการเงินสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีขนาดใหญ่และกว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุมาจากทั้งกรอบนโยบายและกฎระเบียบที่ยังไม่สามารถกำหนดแรงจูงใจ (incentive) ที่เหมาะสม งบประมาณภาครัฐและการใช้จ่ายยังไม่สอดคล้องกับ SDGs อย่างเต็มที่ นักลงทุนภาคเอกชนยังขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนใน SDGs และในกิจกรรมเพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มากพอ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Hepatitis Report 2024: Action for Access in Low- and Middle-income Countries
รายงาน “Global Hepatitis Report 2024” เป็นรายงานฉบับรวบรวมเล่มแรกขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบและการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขและยา โดยมีข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินการ โดยเน้นไปที่ประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูง รายงานฉบับนี้ นำเสนอข้อมูลประมาณการล่าสุดเกี่ยวกับภาระของโรคและการเข้าถึงบริการไวรัสตับอักเสบที่จำเป็นจาก 187 ประเทศทั่วโลก แบ่งการวิเคราะห์ตาม 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Role of Volunteers in Leaving No One Behind: Supporting United Nations Entities and National Governments towards Realizing the 2030 Agenda for Sustainable Development
เอกสารการศึกษา “The Role of Volunteers in Leaving No One Behind: Supporting United Nations Entities and National Governments towards Realizing the 2030 Agenda for Sustainable Development” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับบทบาทของอาสาสมัครในการสนับสนุนเป้าหมายของการ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leave No One Behind) เน้นย้ำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และเสนอแนะนโยบายที่หน่วยงานภาครัฐบาลของชาติต่าง ๆ และองค์กรสหประชาชาติจะสามารถบูรณาการและส่งเสริมการทำงานของอาสาสมัครในกลยุทธ์การทำงานเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ (UN Volunteers: UNV) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific
เอกสาร “Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific” ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) สำหรับการจัดการน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้วิธีการป้องกันน้ำท่วมแบบเดิมไม่เพียงพอ NbS นำเสนอแนวทางใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบตามธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและยังก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รายงานนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีแนวทางที่ชัดเจนและกลไกการเงินเพื่อนำ NbS ไปใช้ในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การพัฒนาแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Development Centre) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Food Waste Index Report 2024
รายงาน “Food Waste Index Report 2024” นำเสนอปัญหาอาหารเหลือทิ้งทั่วโลก รายงานประเมินว่า ในหนึ่งวันมีอาหารเหลือทิ้งกว่าหนึ่งพันล้านมื้อ แม้ว่าทั่วโลกจะมีคนหลายล้านคนที่ยังอดอยากอยู่ และปริมาณขยะอาหารมาจากในครัวเรือนเป็นสัดส่วนสูงสุด นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยระบุว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในการลดขยะอาหารได้ดีที่สุด หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
UN World Water Development Report 2024: Water for Prosperity and Peace
รายงาน “The United Nations World Water Development Report 2024: Water for Prosperity and Peace” เน้นย้ำถึงความสำคัญของน้ำที่มีต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยสำรวจศักยภาพของน้ำในการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ ความมั่งคั่ง และสันติภาพ หน่วยงานที่จัดทำ:UN Water ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship Index 2024
รายงาน “Global Commons Stewardship Index 2024” จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 4 รวบรวมข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในประเทศและผลกระทบล้นไหล (spillover) ข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ โดยได้นำเสนอข้อมูล สถิติ และแนวทางนโยบายในการลดผลกระทบที่จะมีต่อทรัพย์สินร่วมของโลก เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศของโลกมากยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy, และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality
ชุดภาพอินโฟกราฟิก “The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality” วิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายที่เลือกปฏิบัติและการใช้กรอบทางกฎหมายที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5.1 ในทั้งหมด 120 ประเทศ เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของกรอบทางกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ นำเสนอตัวอย่างที่ดีของประเทศต่าง ๆ ชี้ให้เห็นช่องว่างทางกฎหมาย และเน้นย้ำการดำเนินการที่สำคัญเพื่อสร้างความก้าวหน้า หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights
เอกสาร “The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและการสืบพันธุ์ (Sexual and Reproductive Health and Rights: SRHR) รวมถึงเน้นให้ข้อมูลความเสี่ยง ผลกระทบ และข้อควรพิจารณาเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ บทสรุปนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ใน SRHR และชี้ประเด็นสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความรับผิดชอบ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Women in Action
หนังสือภาพ “Women in Action” รวบรวมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจของผู้หญิงและเด็กหญิงชาวอินเดียห้าคนที่เข้าร่วมโครงการเสริมพลังให้แก่ผู้หญิง Women’s Access to Education and Livelihood Opportunities in Maharashtra โดยเขียนจากมุมมองของเธอเอง เล่าถึงการต่อสู้ อุปสรรคจากความด้อยโอกาสอันมาจากการอยู่ในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ติดเชื้อ และเปราะบางต่อการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ ไม่มีทักษะการจ้างงาน และไม่ได้รับโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ จนถึงวันที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2024
รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2024” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยฉบับนี้กล่าวถึงความสุขของคนแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงสูงอายุ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of the Global Climate 2023
รายงาน “State of the Global Climate 2023” นำเสนอสถานการณ์สภาพภูมิอากาศโลก ผ่านข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าสถิติระดับก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิผิวน้ำ ความร้อนและกรดในมหาสมุทร ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปริมาณน้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติกา และธารน้ำแข็งที่ละลาย ล้วนทำลายสถิติเดิมอย่างสิ้นเชิง และรายงานฉบับนี้ยังยืนยันอีกว่า ปี 2023 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ และนำเสนอผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและการอพยพของประชากร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Human Development Report 2023-24
รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
State of Global Environmental Governance 2023
รายงาน “State of Global Environmental Governance 2023” นำเสนอสถานการณ์ของการอภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมโลกประจำปีเป็นฉบับที่ 5 โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกจาก Earth Negotiations Bulletin (ENB) ที่ติดตามการเจรจาระหว่างประเทศในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สารเคมี ป่าไม้ และที่ดิน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute for Sustainable Development: IISD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work
รายงาน “Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work” เสนอผลการศึกษาว่าการลงทุนอย่างเท่าเทียมกันระหว่างเพศในด้านสุขภาพและงานดูแล (care work) สามารถช่วยยอมรับคุณค่าของงานเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยุติธรรมและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนทำให้คนทุกเพศสภาพมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการลงทุนในระบบสุขภาพและการดูแลไม่เพียงแต่เร่งความก้าวหน้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) เท่านั้น แต่ยังช่วยกระจายภาระงานด้านสุขภาพและการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Levels and Trends in Child Mortality Report 2023
รายงาน “Levels and Trends in Child Mortality” ประจำปี 2023 นำเสนอข้อมูลและการประมาณการอัตราการตายของเด็กและวัยรุ่นจากทุกสาเหตุในแต่ละประเทศ ผลการศึกษาค้นพบว่าจำนวนการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อปี ลดลงเหลือ 4.9 ล้านคนในปี 2023 และลดลง 51% ตั้งแต่ปี 2000 รวมถึงอัตราการลดลงของเด็กตายในประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางล่างหลายประเทศต่ำลงกว่าตัวเลขประมาณการ ซึ่งเป็นผลของความมุ่งมั่นของรัฐบาล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครอบครัว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Contribution of Volunteering to Climate Action and Community Resilience
รายงาน “The Contribution of Volunteering to Climate Action and Community Resilience” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงวิธีการที่อาสาสมัครทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชนของตนเองในการปรับตัว – และสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว – เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังกล่าวถึงรูปแบบและขอบเขตที่หลากหลายของงานอาสาสมัคร โดยเน้นที่งานอาสาสมัครในระดับท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ (UNV) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Status Report for Buildings and Construction
รายงาน “Global Status Report for Buildings and Construction 2024” เป็นรายงานประจำปีที่แสดงภาพรวมความก้าวหน้าของภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างในระดับโลก รายงานสถานการณ์อาคารโลกทบทวนสถานะของนโยบาย การเงิน เทคโนโลยี และแนวทางแก้ไข เพื่อติดตามความสอดคล้องของภาคส่วนนี้กับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ รายงานยังมอบข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อโน้มน้าวให้ผู้กำหนดนโยบายและชุมชนคนทำงานภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างให้ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และพันธมิตรอาคารและการก่อสร้างโลก (GlobalABC) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Female Genital Mutilation: A Global Concern – 2024 Update
อินโฟกราฟิก “Female Genital Mutilation: A Global Concern – 2024 Update” นำเสนอผลการประเมินสถานการณ์การขลิบอวัยวะเพศหญิง (Female Genital Mutilation: FGM) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยจะเล่าเรื่องผ่านตัวเลขเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของผู้หญิงและเด็กหญิงหลายล้านคนที่รอดชีวิตจากการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies
รายงาน “Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies” นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการการย้ายถิ่นฐานทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลดัชนีการบริหารจัดการการย้ายถิ่น (Migration Governance Indicators: MGI) จาก 100 ประเทศและ 69 หน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อประเมินแนวโน้มทั่วโลก เสนอข้อเสนอแนะ และแสดงตัวอย่างแนวทางการตอบสนองด้านนโยบายในบริบทต่าง ๆ นอกจากนี้ บทวิเคราะห์ยังเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันในประเด็นนโยบายต่าง ๆ และเน้นบทบาทสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการย้ายถิ่นฐานที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems
เอกสาร “Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems” นำเสนอสรุปงานวิจัยแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสวัสดิการสังคมทั่วโลก และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งเกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดหย่อนภัยคุกคามดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่