Green Jobs Policy Readiness Assessment in Thailand
รายงาน “Green Jobs Policy Readiness Assessment in Thailand” สรุปภาพรวมของกรอบนโยบายและกิจกรรมด้านงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green job) และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just transition) ในระดับมหภาคของประเทศไทย โดยรวมถึงขอบเขตและความสอดคล้องของนโยบายและยังประเมินความพร้อมของประเทศและภูมิภาคในการสนับสนุนงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับกิจกรรมใด ๆ ที่มุ่งสร้างศักยภาพเพื่อไปสู่การเกิดงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม หน่วยงานที่จัดทำ: Partnership for Action on Green Economy (PAGE) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship (GCS) Index 2022
การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2022 ให้ข้อมูลล่าสุดของการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) โดยรายงานฉบับนี้เผยให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกประสบความสำเร็จในการจัดการเพื่อบรรลุการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง (วัดโดย GDP ต่อหัวหรือดัชนีการพัฒนามนุษย์) และกลุ่มประเทศร่ำรวย เช่น ในกลุ่ม G20 ส่งผ่านผลกระทบทางลบในระดับสูงอันเป็นผลมาจากการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Rescuing SDG 11 for a Resilient Urban Planet
รายงาน “Rescuing SDG 11 for a resilient urban planet” แสดงสถานะของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ว่ายังห่างไกลจากความสำเร็จและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการดำเนินการในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Path that Ends AIDS
รายงาน “The Path that Ends AIDS” นำเสนอข้อมูลและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การยุติการเกิดโรคเอดส์ให้สำเร็จได้นั้นเป็นการทำงานทางการเมืองและการเงินที่เข้มแข็งของประเทศนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามข้อมูลวิทยาศาสตร์ ความรู้ และหลักฐาน การแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ขัดขวางความก้าวหน้า การสนับสนุนชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมในบทบาทสำคัญของการตอบสนอง และการประกันเงินทุนที่เพียงพอและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership
บทความวิจัยเชิงกรณีศึกษา “COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด-19 ของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมที่ผู้หญิง แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ แต่ก็ยังมีตัวอย่างความเป็นผู้นำจากองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสตรีระหว่างการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะนำไปต่อยอดในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
2023 Global Multidimensional Poverty Index (MPI)
รายงาน “2023 Global Multidimensional Poverty Index (MPI)” หรือ ดัชนีความยากจนหลายมิติ นำเสนอข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะของความยากจนหลายมิติระดับโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากประเทศกำลังพัฒนา 110 ประเทศ ครอบคลุมประชากร 6.1 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 92 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา โดยรายงานในปีนี้แสดงให้เห็นว่าโลกสามารถบรรลุการลดความยากจนได้ อย่างไรก็ตาม การขาดข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้เกิดความท้าทายในการประเมินความเป็นไปได้ได้ทันทีทันเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และโครงการริเริ่มความยากจนและการพัฒนามนุษย์แห่งอ็อกซ์ฟอร์ด (OPHI) ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition
“The Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition” หรือ รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2023: ฉบับพิเศษ ณ ครึ่งทางของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย อิงตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลก โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ล่าสุดในปัจจุบัน รายงานประจำปีนี้เน้นย้ำถึงช่องว่างของการดำเนินการและความท้าทายที่ยังมีอยู่ในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทันภายในปี 2030 และเรียกร้องให้โลกเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)
คู่มือ “Achieving the Sustainable Development Goals through Tourism – Toolkit of Indicators for Projects (TIPs)” พัฒนามาเพื่อเป็นชุดเครื่องมือในการจัดการโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการบูรณาการแนวปฏิบัติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเข้าไว้ในนโยบาย กรอบการเงิน และการดำเนินธุรกิจ คู่มือนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 อธิบายว่าเหตุใดจึงจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดตามโครงการ วิธีใช้ตัวชี้วัดในวัฏจักรของโครงการ และวิธีที่ผู้จัดการโครงการสามารถติดตามความก้าวหน้าของ SDGs ส่วนที่ 2 แสดงรายละเอียดของ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เป้าหมายย่อยและตัวชี้วัดที่อาจนำไปปรับใช้และใช้กับโครงการได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (World Tourism Organization: UNWTO) ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Framework for the Response to Malaria in Urban Areas
รายงาน “Global framework for the response to malaria in urban areas” นำเสนอกรอบการทำงานในการสนับสนุนการควบคุมและกำจัดโรคติดต่อมาลาเลีย (รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะ) ในสภาพแวดล้อมเขตเมืองที่จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่บริหารพื้นที่เขตเมือง โครงการด้านสุขภาพ และนักออกแบบผังเมือง ให้ตอบสนองต่อปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วทันต่อการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามบริบทของเมืองแต่ละที่ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
MY Neighbourhood
คู่มือ ‘MY Neighbourhood’ จัดทำเช็กลิสต์ที่ครอบคลุมหลักการออกแบบชุมชนเมืองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในบริบทวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ที่หลากหลายในขนาดพื้นที่ระดับย่านที่อยู่อาศัย (neighbourhood scale) โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการในการออกแบบผ่านฟังก์ชันสำคัญของพื้นที่เมือง 5 ประการ ได้แก่ การคมนาคม ที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะ สาธารณูปโภค และผนวกรวมกับมิติด้านการออกแบบ ได้แก่ ย่านที่พักอาศัย ถนน พื้นที่สาธารณะแบบเปิด และกลุ่มอาคาร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods
รายงาน “Thailand Economic Monitor” หรือ รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมิถุนายน 2566 ในหัวข้อ ‘การรับมือกับภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อสร้างอนาคตที่อยู่รอดและยั่งยืน’ ให้ข้อมูลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ดีขึ้น แต่ยังคงระบุว่าการรับมือกับความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality
บทสรุปเชิงนโยบาย “Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality” เน้นย้ำถึงความสำคัญของผู้หญิงในภาคการเกษตรกรรมและศักยภาพของผู้หญิงในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เอกสารฉบับนี้ยังระบุถึงแนวทางปฏิบัติสำคัญที่สามารถขจัดอุปสรรคสำหรับผู้หญิงในภาคการเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึง การรวบรวมข้อมูลที่แยกตามเพศสำหรับการวางแผนที่คำนึงถึงเพศ การวิจัยและวิเคราะห์ การผลักดันให้มีการเข้าถึงทรัพย์สินเพื่อการผลิตอย่างเท่าเทียมกัน การเสริมสร้างศักยภาพและการสร้างเสริมความตระหนัก การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เงินทุน ทรัพย์สินเพื่อการผลิต และบริการอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกันทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2023
รายงาน “Sustainable Development Report 2023” นำเสนอดัชนี SDGs (SDG Index) และ dashboards ประจำปี ค.ศ. 2023 แสดงความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs ของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้เน้นไปที่ความจำเป็นในการขยายขนาดการเงินเพื่อการพัฒนา และการปฏิรูปสถาปัตยกรรมทางการเงิน (financial architecture) ระดับโลกเพื่อสนับสนุน SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, the Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
From Commitment to Action: Integrating Sustainable Development into National Education Priorities: A Practical Guide for Policymakers, Practitioners, and Researchers.
ชุดเครื่องมือออนไลน์ (Online Toolkit) “From Commitment to Action: Integrating Sustainable Development into National Education Priorities: A Practical Guide for Policymakers, Practitioners, and Researchers.” สำหรับการบูรณาการการพัฒนาที่ยั่งยืนกับการศึกษาในระดับชาติ จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน ผู้กําหนดนโยบายและนักวิจัย ใช้เป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนรวมถึงการบูรณาการหลักสูตรนี้เข้ากับประเด็นสําคัญระดับชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: The Global Schools Program (GSP) และ Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Case for Long-Term SDG Financing
บทความ “The Case for Long-Term SDG Financing” เน้นย้ำลำดับความสำคัญสี่ประการในการขยายขนาดและปรับกระแสการจัดหาเงินทุนระดับโลกสำหรับการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ได้แก่ 1) การปฏิรูปสถาปัตยกรรมทางการเงินทั่วโลก 2 ) ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้รัฐบาลที่พิจารณาถึงศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของการลงทุน SDGs ด้วย และ 4) การวางแผนการลงทุนระยะยาว หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2023 Gender Social Norms Index (GSNI)
รายงาน “2023 Gender Social Norms Index (GSNI)” หรือดัชนีบรรทัดฐานทางสังคมทางเพศ ประเมินว่าความเชื่อทางสังคม (social beliefs) นั้นขัดขวางการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การทำงาน และการศึกษาอย่างไร โดยการจัดทำดัชนี GSNI ปี 2023 ดัชนีดังกล่าวครอบคลุมร้อยละ 85 ของประชากรโลก และผลการศึกษาเผยให้เห็นว่าชายและหญิงเกือบ 9 ใน 10 คนมีอคติพื้นฐานต่อผู้หญิง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Transforming Our World: Interdisciplinary Insights on the Sustainable Development Goals
เอกสาร “Transforming Our World: Interdisciplinary Insights on the Sustainable Development Goals” นำเสนอข้อค้นพบเชิงลึกแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ (interdisciplinary) เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีเนื้อหารวมไปถึง โอกาสของสหภาพยุโรปในการจัดการความท้าทายในการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก ความเชื่อมโยงระหว่างทุนทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม ศักยภาพของงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล การทำฟาร์มคาร์บอนและตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจในสหภาพยุโรป การให้ทุนสนับสนุนของภาคเอกชนของ SDGs และการระบุประเด็น SDGs ในพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ทางการเงิน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking SDG7: The Energy Progress Report 2023
รายงาน “Tracking SDG7: The energy progress report 2023” ติดตามความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ ทำหน้าที่เป็นแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายและประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาการเข้าถึงพลังงาน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงานทดแทน และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG 7 โดยข้อมูลล่าสุดจากรายงานฉบับนี้ระบุว่าการดำเนินงานของโลกยังไม่อยู่ในแนวทางที่จะบรรลุเป้าประสงค์ใดของ SDG 7 ได้ทันเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (IRENA), กองสถิติแห่งสหประชาชาติ (UNSD) ธนาคารโลก และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 12 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future
รายงาน “Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future” ประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย หลังมีการใช้นโยบายการคลังขนานใหญ่ในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบุถึงแนวทางปฏิรูปที่จำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาครัฐด้วย เพื่อการรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562
“รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562” แสดงภาระทางสุขภาพด้วยดัชนี DALYs หรือปีสุขภาวะที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร และภาวะบกพร่องทางสุขภาพจากการเจ็บป่วยและความพิการ และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี เพื่อใช้ประกอบการจัดลำดับความสำคัญและนำ เสนอปัญหาภาระทางสุขภาพของประชากรไทย สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ วางระบบงานสาธารณสุข และเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวิจัยต่อไป เช่น การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภาระทางสุขภาพ การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2023 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลจนถึงปี 2022 ตอกย้ำให้เห็นถึงความซบเซาของความก้าวหน้าด้านสุขภาพจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เห็นในช่วงปี 2000-2015 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Press Freedom Index
ดัชนี “World Press Freedom Index” จัดอันดับดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนประจำปี โดยเป็นการประเมินจากข้อมูลจาก 180 ประเทศทั่วโลก ผ่านการตอบแบบสอบถามของทั่งสื่อมวลชน นักกฎหมาย และนักสังคมวิทยา ร่วมกับพิจารณาข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการละเมิดและการกระทำอันรุนแรงต่อนักข่าวในช่วงเวลาที่ประเมิน เกณฑ์ที่พิจารณาในแบบสอบถาม ได้แก่ ความเป็นอิสระของสื่อมวลชน สภาพแวดล้อมของสื่อมวลชนและการเซ็นเซอร์ตัวเอง กรอบกฎหมาย ความโปร่งใส และคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการผลิตข่าวสาร จัดทำขึ้นมาตั้งปี 2002 หน่วยงานที่จัดทำ: Reporters Without Borders (RSF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2023
รายงาน “Global Report on Food Crises 2023” ว่าด้วยวิกฤติด้านอาหารในระดับโลก พบว่ามีจำนวนผู้ประสบภัยจากความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสงครามในยูเครนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Study Report for Transitioning to Electric Public Buses in Thailand
รายงานการศึกษา “Study report for transitioning to electric public buses in Thailand” เก็บรวบรวมข้อมูลด้านนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าและการดำเนินธุรกิจรถโดยสารสาธารณะ และศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนมาใช้รถโดยสารไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินการตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ร่วมกับ ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566
รายงาน “การประกันภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้และการเงิน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในประเทศไทย ภาพรวมและทิศทาง พ.ศ. 2566” (Inclusive Insurance and risk financing in Thailand: Snapshot and way forward 2023) สรุปข้อค้นพบที่สำคัญของการประกันภัยและการเงินเพื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบครอบคลุมของประเทศไทย โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย และ Insurance and Risk Finance Facility (IRFF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of the World’s Children 2023
รายงาน “The State of the World’s Children 2023” นำเสนอสถานการณ์เด็กทั่วโลก ฉบับประจำปีนี้มุ่งเป้าไปที่การศึกษาแนวทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนในโลกได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่ โดยจะฉายภาพให้เห็นว่าความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) และเพศส่งผลต่อการเข้าถึงวัคซีนของเด็กอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการได้รับวัคซีนให้เด็กทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษ และอ่านรายงานรูปแบบ interactive ได้ ที่นี่
Net Zero on Campus: A Guide and Accompanying Toolkit for Universities and Colleges to Accelerate Climate Action Worldwide
เอกสาร “Net Zero on Campus: A guide and accompanying toolkit for universities and colleges to accelerate climate action worldwide” พัฒนาโดย SDSN ร่วมกับ Climateworks Centre, Monash University, Second Nature และ EAU ให้เป็นคู่มือและชุดเครื่องมือออนไลน์เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในการเร่งแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไข้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ เน้นไปที่การลดการปล่อยคาร์บอนของกิจกรรมในแคมปัสต่าง ๆ ทั้งด้านพลังงาน การเดินทางขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก ของเสียและการรีไซเคิล และการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, the Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2023: Unlock the Global Pathways to Resilience, Growth, and Sustainability
รายงาน “SDGs Mega Trends 2023” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2023” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อปลดล็อคจากความท้าทาย สู่การฟื้นตัวหลังโควิด-19 เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และตอบโจทย์ SDGs ในหลากหลายมิติ หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
The Race to Net Zero: Accelerating Climate Action in Asia and the Pacific
รายงาน “The Race to Net Zero: accelerating climate action in Asia and the Pacific” ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับพลิกโฉมที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) โดยให้ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทระดับภูมิภาค และระบุนโยบายและการดำเนินการที่จำเป็นในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนวาระระดับโลกในการจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก ขณะเดียวกันก็สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในวงกว้างด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาสำหรับประเทศไทย
รายงาน “การประเมินการเงินเพื่อการพัฒนาสำหรับประเทศไทย” (Development Finance Assessment for Thailand) นำเสนอรายละเอียดของกระแสการเงินในปัจจุบัน ที่ทำให้สามารถระบุถึงความต้องการด้านการเงินเพื่อเพื่อสนับสนุนวาระการพัฒนาของประเทศไทยและเพื่อความก้าวหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญได้แก่ (1) การส่งเสริมความเท่าเทียม (2) การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (3) การสร้างงานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (4) การเสริมสร้างประสิทธิภาพภาคสาธารณสุข และ (5) การใช้ประโยชน์จากการเงินดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
Economic and Social Survey of Asia and the Pacific 2023: Rethinking Public Debt for the Sustainable Development Goals
รายงาน “Economic and Social Survey of Asia and the Pacific 2023: Rethinking Public Debt for the Sustainable Development Goals” สำรวจว่ามุมมองที่ต่อการวิเคราะห์และนโยบายการคลังและหนี้สาธารณะสามารถช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกใหม่ ๆ จะสามารถช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปีค.ศ. 2030 ได้อย่างไร และจะช่วยเพิ่มโอกาสไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations” พบว่า ความต้องการด้านการเงินสำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำลังเพิ่มขึ้น แต่การจัดหาเงินทุนที่ได้ในปัจจุบันนั้นตามไม่ทัน เป็นผลมาจากทั้งสงครามในยูเครน ราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาความหิวโหยและความยากจนรุนแรงขึ้น และจะทำให้ความก้าวหน้าเพื่อบรรลุ SDGs นั้นเดินถอยหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565” ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม (Public Policy for Just Sustainable Futures)
หนังสือ เรื่อง “นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม” (Public Policy for Just Sustainable Futures) รวบรวม 6 บทความที่ถูกเรียบเรียงมาจากเวทีเสวนาระหว่างนักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะรุ่นใหม่ในเครือข่าย Thailand Public Policy Network (TPPN) เพื่อทบทวนมุมมองการสร้างความยั่งยืนอย่างเป็นธรรมผ่านนโยบายสาธารณะ ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2023
รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2023” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยยังคงกล่าวถึงผลพสงจากโควิด-19 และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รายจังหวัด
“แผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” รวบรวมแผนการขับเคลื่อน SDGs รายจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด โดยละเอียด อันเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่กระทรวงมหาดไทยพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ “76 จังหวัด 76 คํามั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) กับสหประชาชาติประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานจังหวัดของแต่ละจังหวัด ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
เอกสารรายงานแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ระดับจังหวัด
“เอกสารรายงานแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” รวบรวมแผนการขับเคลื่อน SDGs รายจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด อันเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่กระทรวงมหาดไทยพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ “76 จังหวัด 76 คํามั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) กับสหประชาชาติประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: กองการต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า
รายงาน “งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า” (Thai Women’s Unpaid Care and Domestic Work and the Impact on Decent Employment) อธิบายขอบเขตพลวัต และผลกระทบจากการดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างและงานบ้านที่มีต่อผู้หญิงในประเทศไทย และระบุมาตรการสำคัญหลายประการเพื่อจัดการกับพลวัตดังกล่าว รวมถึงเสนอการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2566
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2566 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
The 2023 Climate Risk Landscape
รายงาน “The 2023 Climate Risk Landscape” ให้ข้อมูลภูมิทัศน์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อสนับสนุนสถาบันการเงินให้เข้าใจเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศอันหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมากขึ้น รายงานนี้สำรวจแนวโน้มของตลาดที่มีต่อเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risk) และความเสี่ยงเชิงการเปลี่ยนผ่าน (transition risk) รวมถึงการวิเคราะห์เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ อย่างละเอียด หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน (United Nations Environmental Program Finance Initiative: UNEP-FI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2023
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2023 : championing sustainability despite adversities” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance
รายงาน “Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่า สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อการก่อตัว การแพร่เชื้อ และการติดเชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial Resistance: AMR) ซึ่งแนวทางในการรับมือปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทาง “One Health” ซึ่งเป็นแนวทางแบบบูรณาการที่มองเห็นว่าสุขภาพของคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด แนวทางนี้จึงจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเชื้อโรคดื้อยา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Gendered Impacts of Climate Change: Evidence from Asia
รายงาน “Gendered impacts of climate change: Evidence from Asia” เสนอข้อค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับทางเพศจากการศึกษาในประเทศบังคลาเทศ กัมพูชา เนปาล ฟิลิปปินส์ และติมอร์-เลสเต เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ในการเพิ่มความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้งผู้หญิงและผู้ชายในสถานะที่หลากหลายให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goal Interactions Through A Climate Lens: A Global Analysis
รายงาน “Sustainable Development Goal interactions through a climate lens: a global analysis” วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญกับการดำเนินการตามความพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5°C ว่าสามารถทำงานร่วมกันหรือขัดแย้งกันอย่างไร และเสนอข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการดำเนินการทั้งสองมิติดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Stockholm Environment Institute (SEI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Child-responsive Urban Policies, Laws and Standards: A Guidance
คู่มือ “Child-responsive urban policies, laws and standards: a guidance” พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนภาครัฐในการสร้างพื้นที่เขตเมืองที่เด็กสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน อากาศและน้ำสะอาดได้ รวมถึงรู้สึกปลอดภัยที่จะเล่น เรียนรู้ และเติบโต โดยรับฟังความต้องการของเด็กเข้ามาในนโยบายสาธารณะและกระบวนการตัดสินใจด้วย และชี้ให้เห็นว่านโยบายและกฎหมายมีบทบาทในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประเด็นดังกล่าวอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World
รางาน “World Social Report 2023” มาในธีม Leaving No One Behind in an Ageing World แสดงสถานการณ์ของผู้สูงอายุ และประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างความสูงวัยของประชากรและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การดูแลสุขภาพ และการบริบาลในระยะยาวของผู้สูงวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas
เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Managing Smart City Governance – A playbook for Local and Regional Governments
เอกสาร “Managing smart city governance – A playbook for local and regional governments” ฉบับนี้มุ่งเน้นสร้างประโยชน์ให้แก่องค์การการปกครองท้องถิ่น ผู้นำทางการเมือง ผู้บริหารระดับท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะ ในการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และยั่งยืนสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลของเมืองต่าง ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566
รายงาน “สถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566” นำเสนอสถานะข้อมูลตัวชี้วัด (indicators) SDGs ของประเทศไทยทั้ง 17 เป้าหมาย ตามกรอบตัวชี้วัดสากลขององค์การสหประชาชาติ เป็นรายงานฉบับที่สองต่อเนื่องจากฉบับปี 2562 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของข้อมูลตัวชี้วัดแต่ละตัว หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่