Blog

Dec
29

ASEAN Sustainable Urbanisation Report

รายงาน “ASEAN Sustainable Urbanisation Report” ฉายภาพความหลากหลายของบริบทเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของเมืองรอง (Secondary Cities) ที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการเสริมสร้างศักยภาพของเมืองเหล่านี้อย่างเต็มที่ รายงานนี้มุ่งหวังส่งเสริมความเข้าใจถึงโอกาสและความท้าทายของการพัฒนาเมืองและเน้นวิธีการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดอนาคตเมืองที่ยั่งยืน     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Dec 29 2022
รายงาน
DETAIL
Dec
12

Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights

คู่มือกระบวรกร “Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights” ฉบับนี้จะช่วยให้กระบวนกรนำกิจกรรมเวิร์กช็อปสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิด้านสุขภาพอนามัยทางเพศและการสืบพันธุ์แก่เยาวชนได้ง่ายขึ้น เยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบบางประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิทธิและสุขภาพของตนเอง ไปจนถึงสุขภาพของผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรวม จุดมุ่งหมายคือการเสริมพลังให้เยาวชนผ่านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวคิดรวมถึงแรงจูงใจให้เยาวชนลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่และระดับโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 12 2022
คู่มือ
DETAIL
Dec
01

สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย

เอกสาร “สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย” ศึกษารวบรวมกลุ่มผู้ติดตามผู้ลี้ภัย ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องสถานะบุคคลตามกฎหมายของประเทศไทย โดยสรุปความสำคัญในการพัฒนาสถานะบุคคล สิทธิที่กฎหมายรับรอง และกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องพอสังเขปเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มอื่น ๆ จะได้ศึกษาข้อมูลด้านสถานะบุคคล และสิทธิตามกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเบื้องต้นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Dec 01 2022
รายงาน
DETAIL
Nov
23

The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report

รายงาน “ASEAN SDG Snapshot Report” ประจำปีค.ศ. 2022 ติดตามและแสดงผลการประเมินสถานะความก้าวหน้าของ SDGs ของประเทศสมาชิกอาเซียน แม้จะมีความท้าทายอันเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 23 2022
รายงาน
DETAIL
Nov
01

Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action

หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 01 2022
หนังสือ
DETAIL
Nov
01

แผนพัฒนาประชากร เพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580)

เอกสาร “แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว ปี 2565-2580” นำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาประชากรไทย โดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้าน ได้แก่ การเกิดอย่างมีคุณภาพ การอยู่อย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการแก่และตายอย่างมีคุณภาพ   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

Nov 01 2022
คู่มือ
DETAIL
Oct
27

การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.

การนำเสนอ ” การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.” ให้แผนการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดยเน้นไปที่บริษัทและธุรกิจที่อยู่ในตลาดหุ้นและตลาดทุน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL
Oct
27

Global Tuberculosis Report 2022

รายงาน “Global Tuberculosis Report 2022” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 202 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 27 2022
รายงาน
DETAIL
Oct
18

รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)

รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 18 2022
รายงาน
DETAIL
Oct
04

คู่มือประกอบการฝึกอบรมว่าด้วย การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

“คู่มือประกอบการฝึกอบรมว่าด้วย การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน” (Human Rights Due Diligence Training Facilitation Guide) นำเสนอโมดูลการฝึกอบรมที่จะสร้างความชัดเจนในการดำเนินการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมุ่งเน้นหลักการท่ีเป็นท่ียอมรับในระดับสากลและคําศัพท์เฉพาะที่เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเริ่มต้นการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Oct 04 2022
คู่มือ
DETAIL
Oct
01

Practical Guide to Data Storytelling in Voluntary National Reviews and SDG Reporting

คู่มือ “Practical Guide to Data Storytelling in Voluntary National Reviews and SDG reporting” สามารถช่วยสนับสนุนนักสถิติ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ผู้กำหนดนโยบาย นักวิเคราะห์ คนทำงานด้านการสื่อสาร เล่าเรื่องราวผ่านข้อมูลในรายงาน VNR และรายงาน SDGs ได้อย่างน่าเชื่อ โดยมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจบริบทและสร้างเรื่องเล่า ประกอบด้วยตัวอย่างที่ดึงมาจากการรายงาน VNRs และ รายงาน SDGs รวมถึงแหล่งข้อมูลภายนอกอื่น ๆ     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Statistics Division) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 01 2022
คู่มือ
DETAIL
Oct
01

รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565

รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.​ 2564-2565   หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Oct 01 2022
รายงาน
DETAIL
Oct
01

Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand

รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง)   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 01 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
29

เกม The Collectors เก็บขยะ พิทักษ์โลก

“เกม The Collectors เก็บขยะ พิทักษ์โลก” เกมโมบายผู้ชนะจากเวทีการประกวดแข่งขันออกแบบและพัฒนาเกม “SDGs Game Fest” ที่จัดขึ้นโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด ที่ถูกพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมในเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยให้เยาวชนรุ่นใหม่ตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการขยะ     หน่วยงานที่จัดทำ: THAItan สนับสนุนโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และบริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด ดาวน์โหลด: เกมฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL
Sep
14

คู่มือพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน

“คู่มือพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน” (Community-Based Tourism Social Innovation Playbook) รวบรวมเครื่องมือนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความยั่งยืนและรับมือกับความผันผวนของโลกได้มากขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Accelerator Lab ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 14 2022
คู่มือ
DETAIL
Sep
13

Overcoming Data Graveyards in Official Statistics

รายงาน “Overcoming Data Graveyards in Official Statistics” ให้ความชัดเจนด้านแนวคิดเกี่ยวกับความท้าทายและแนวทางในการพัฒนาการใช้ข้อมูลสถิติเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและแนวทางการวิจัยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ OPEN DATA WATCH ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 13 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
07

Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022

รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้แสดงข้อมูลให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าในปัจจุบัน อาจต้องใช้เวลาเกือบ 300 ปีจึงจะบรรลุความเท่าเทียมทางเพศอย่างสมบูรณ์     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 07 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
07

Climate Science Literacy: Media Toolkit in Support of the Sustainable Development Goals

“Climate Science Literacy: Media toolkit in support of the Sustainable Development Goals” หรือ “ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นโปสเตอร์ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยานี้จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในขั้นพื้นฐานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้อธิบายความเสี่ยงและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะโดยรวม เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของวิกฤตนี้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL
Sep
06

Addressing Mental Health in Thailand

รายงาน “Addressing mental health in Thailand” เป็นเอกสารเพื่อประกอบการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) สมัยที่ 75 ของคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO Regional Committee for South-East Asia) นำเสนอข้อมูลภาพรวมของปัญหาสุขภาพจิตและการบริการด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยล่าสุด   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO South-East Asia) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่    

Sep 06 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
06

Social Outlook 2022: The Workforce We Need

รายงาน ‘Social Outlook for Asia and the Pacific: The Workforce We Need’ ระบุถึงสถานการณ์แรงงานในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ว่า เเรงงานกว่า 2.1 พันล้านคนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงงานที่มีคุณค่า (decent work) การดูแลสุขภาพ (healthcare) และการคุ้มครองทางสังคม (social protection) เเม้ว่าจะมีนโยบายและเครื่องมือการจัดการจำนวนมากที่รัฐบาลสามารถใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง สร้างหลักประกันว่าสิทธิความต้องการของเเรงงานและครอบครัวของพวกเขาจะถูกยกระดับให้ดีขึ้นก็ตาม   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 06 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
05

The Workforce We Need: Social Outlook for Asia and the Pacific

รายงาน “The Workforce We Need: social outlook for Asia and the Pacific” มุ่งเน้นสำรวจประเด็นการพัฒนาสังคมในเอเชียและแปซิฟิกโดยเฉพาะ โดยภายใต้ธีมของปีค.ศ. 2022 นี้ ให้เนื้อหาวิธีการสร้างแรงงานที่มีสุขภาพดี ได้รับการคุ้มครอง และมีประสิทธิผลในเอเชียและแปซิฟิก เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน และกล่าวถึง 4 เมกะเทรนด์หลักที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูงวัย การเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล และความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ประชากรศาสตร์ และดิจิทัล ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการทำงานในอนาคต   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Sep 05 2022
รายงาน
DETAIL
Sep
01

รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2564

“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่    

Sep 01 2022
รายงาน
DETAIL
Aug
31

Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery

บทสรุปเชิงนโยบาย “Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery” ให้ความสำคัญและขยายความแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำต่อประชากรในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ งาน สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคงทางอาหาร โดยบทสรุปเชิงนโยบายนี้เป็นผลลัพธ์จากการหารือบนเวทีการประชุมเชิงวิชาการอาเซียน-จีน-UNDP ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับ SDGs     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Aug 31 2022
รายงาน
DETAIL
Aug
24

Asia-Pacific Migration Data Report 2021

รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 24 2022
รายงาน
DETAIL
Aug
22

SDG Investor Map Thailand 2022

โครงการ “แผนท่ีการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนา ท่ียั่งงยืน” (SDG Investor Maps) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Investor Platform) เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอโอกาสด้านการลงทุน (Investment Opportunity Area: IOA) ในธุรกิจท่ีสามารถตอบ โจทย์การพัฒนาท่ียั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ อาทิ โอกาสทางการตลาด ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความเสี่ยงท่ีเกี่ยวข้อง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 22 2022
รายงาน
DETAIL
Aug
22

คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย

“คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย” (AN ARCHITECTURE GUIDE to the UN 17 Sustainable Development Goals (THAI VERSION) ให้ตัวอย่างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่การออกแบบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของการมีสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างที่สามารถสนับสนุน SDGs แต่ละเป้าหมายอย่างไร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสีเขียวและยั่งยืนที่ดีที่สุดในบริบทของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: มูลนิธิอาคารเขียวไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่

Aug 22 2022
คู่มือ
DETAIL
Aug
11

Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in Transforming Futures for Young People

รายงาน “Global Employment Trends for Youth 2022: Investing in transforming futures for young people” นำเสนอข้อมูลว่าผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเเรงงงานเยาวชนหรือแรงงานใหม่เผชิญกับภาวะว่างงานที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับแรงงานสูงอายุ และผลกระทบตกอยู่กับแรงงานวัยรุ่นหญิงมากกว่าวัยรุ่นชาย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 11 2022
รายงาน
DETAIL
Aug
01

รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564

รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

Aug 01 2022
รายงาน
DETAIL
Jul
26

รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565

“รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย: มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Sustainable Development Report 2022: TSDF Report)” พัฒนาจากผลของการระดมความคิดเห็นของภาคส่วนที่ดำเนินงาน SDGs ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และเรียบเรียงประเด็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมของประเทศไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพการเชื่อมโยง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากเข้าด้วยกัน   หน่วยงานที่จัดทำ: เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Sustainable Development Solutions Network (SDSN) Thailand) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Jul 26 2022
รายงาน
DETAIL
Jul
07

Sustainable Development Goals Report 2022

รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2022 นำเสนอความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายและเส้นทางที่ยังเหลืออยู่ รายงานประจำปีฉบับที่ 7 นี้ยังพิจารณาแนวโน้มความก้าวหน้านับตั้งแต่ปี 2015 และผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้เห็นว่าวิกฤตที่ลดหลั่นกันและเชื่อมโยงกันในหลายมิติทำให้การดำเนินการเพื่อวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความท้าทายรุนแรง เช่นเดียวกับโอกาสในความอยู่รอดของมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 07 2022
รายงาน
DETAIL
Jul
05

การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย

รายงาน “การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย” (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand) ฉายภาพสถานการณ์ปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคนพิการในสถานที่ทำงาน ตลอดจนอุปสรรคในการจ้างงานที่มีคุณค่าของคนพิการ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อผู้พิการและการจ้างงานที่มีคุณค่าของผู้พิการ     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 05 2022
รายงาน
DETAIL
Jul
01

Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets

Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets เป็นแนวทางเเนะนำ (guidance) ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2022 เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้สำหรับบูรณาการ SDGs เข้ากับกระบวนการรายงานความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปรียบเทียบและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI) และ UN Global Compact (UNGC) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 01 2022
คู่มือ
DETAIL
Jul
01

Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model

เอกสาร “Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model” นำเสนอกรอบแนวทางของประเทศไทยในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และเร่งรัดความสำเร็จผ่านโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แยกตามรายมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)     หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 01 2022
คู่มือ
DETAIL
Jun
22

Circular Economy Policy Forum Report 2022 ภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลือนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

รายงาน “Circular Economy Policy Forum Report 2022” รวบรวบและประมวลข้อมูลเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ได้จากการประชุมหารือภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือโครงการ Circular Economy Innovation Policy Forum ภายใต้ข้อตกลงบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน” ระหว่างสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กับ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) กิจกรรม โครงการฯ เริ่มดำเนิน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา Circular Economy Innovation Forum ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นให้เกิดการตั้งประเด็น (Agenda) เพื่อระดมความคิดในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคทียังยืน (ประเทศไทย) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่

Jun 22 2022
รายงาน
DETAIL
Jun
07

รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564

“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่    

Jun 07 2022
รายงาน
DETAIL
Jun
06

รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63

“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่    

Jun 06 2022
รายงาน
DETAIL
Jun
02

Sustainable Development Report 2022

รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น”   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jun 02 2022
รายงาน
DETAIL
Jun
01

รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564

รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2564 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2021) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด       หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Jun 01 2022
รายงาน
DETAIL
May
30

รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565

“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19”   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่

May 30 2022
รายงาน
DETAIL
May
22

Global Happiness and Well-being Policy Report 2022

รายงาน “Global Happiness and Well-being Policy Report 2022” จัดทำโดย Global Happiness Council (GHC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิชาการชั้นนำด้านความสุขและคนทำงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา สาธารณสุข ภาคประชาสังคม ธุรกิจ และรัฐบาล ทำการประเมินผลกระทบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ผ่านเลนส์ความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) และถ่ายทอดบทเรียนข้อค้นพบบางประการที่จะมีประโยชน์กับรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Global Happiness Council ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 22 2022
รายงาน
DETAIL
May
17

Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume

รายงาน “Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume” นำเสนอข้อมูลล่าสุดของแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานที่ส่งผลกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะกับทุกตัวชี้วัดภายใต้เป้าประสงค์ SDG10.7 รวมทั้งยังรวบรวมแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

May 17 2022
รายงาน
DETAIL
May
15

Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022

รายงาน “Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022” หรือ “รายงานยาเสพประเภทติดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพัฒนาและความท้าทายล่าสุด ปี 2565” แสดงสถานการณ์รล่าสุดของยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ (synthetic drugs) โดยเฉพาะสารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน (ATS) และสารออกฤทธิ์ทางจิตใหม่ ๆ รวมถึงฝิ่นสังเคราะห์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 15 2022
รายงาน
DETAIL
May
12

Lessons from COVID-19 for Climate Change

เอกสารสมุดปกขาว​ “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

DETAIL
May
04

Global Report on Food Crises 2022

Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 04 2022
รายงาน
DETAIL
May
01

Child Health and Well-being Dashboard

เว็บไซต์แสดงผล “Child Health and Well-being Dashboard” นำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของวัยรุ่นและเด็กในระดับประเทศทั่วโลกผ่านตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สิทธิเด็ก เพื่อสนับสนุนนโยบาย รัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในการติดตามและเปรียบเทียบตัวชี้วัดของแต่ละประเทศ ไปจนถึงการวางแผนและการกำหนดนโยบายเพื่อสิทธิเด็ก     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการ CAP 2030 ดาวน์โหลด: ข้อมูลฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

DETAIL
Apr
07

มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่

Apr 07 2022
หนังสือ
DETAIL
Mar
20

World Happiness Report 2022

รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 20 2022
รายงาน
DETAIL
Mar
17

Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022

รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2022 : widening disparities amid COVID-19” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และยังประเมินปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ ในภูมิภาค ชี้ให้เห็นช่องว่างที่จำเป็นต้องถมปิดเพื่อการบรรลุ SDGs ให้ทันภายในปีค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Mar 17 2022
รายงาน
DETAIL
Mar
10

SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action

รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Mar 10 2022
รายงาน
DETAIL
Mar
09

ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)

ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs  พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:            

DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP