Lessons from COVID-19 for Climate Change
เอกสารสมุดปกขาว “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2022
Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Child Health and Well-being Dashboard
เว็บไซต์แสดงผล “Child Health and Well-being Dashboard” นำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของวัยรุ่นและเด็กในระดับประเทศทั่วโลกผ่านตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สิทธิเด็ก เพื่อสนับสนุนนโยบาย รัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในการติดตามและเปรียบเทียบตัวชี้วัดของแต่ละประเทศ ไปจนถึงการวางแผนและการกำหนดนโยบายเพื่อสิทธิเด็ก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการ CAP 2030 ดาวน์โหลด: ข้อมูลฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2022
รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2022 : widening disparities amid COVID-19” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และยังประเมินปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ ในภูมิภาค ชี้ให้เห็นช่องว่างที่จำเป็นต้องถมปิดเพื่อการบรรลุ SDGs ให้ทันภายในปีค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action
รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่
สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ
หนังสือภาพ “สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ” เป็นส่วนหนึ่งของ UNDP ‘Tsunami Story Books’ ชุดของเรื่องราวชีวิตจริงจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความรุนแรงของสึนามิและวิธีรับมือให้ดียิ่งขึ้น แต่ละเรื่องประกอบด้วยฮีโร่ในชุมชนที่แตกต่างกัน และอธิบายวิธีที่เด็ก ๆ สามารถปกป้องตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูงจากสึนามิ และจัดการกับอารมณ์ที่ยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับสึนามิ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Asia-Pacific ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) พ.ศ. 2565
บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) จัดโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ รวมทั้งแลกเปลี่ยนและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ SDGs ในระดับพื้นที่ อ่านรายละเอียดหัวข้อการเสวนาและการบรรยายทั้งหมดได้ที่นี่
SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition
รายงาน “SDG Good Practices: A compilation of success stories and lessons learned in SDG Implementation – Second Edition” รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Good practices) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อทั่วโลกทั้งหมด 21 เรื่องราว เป็นฉบับที่สอง หลังจากเผยแพร่ไปครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2021 ให้เป็นบทเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในวงกว้างเพื่อทั้งเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs และรวมถึงฟื้นฟูสังคมโลกจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การนำเสนอ “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ให้ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) และเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
Compulsory Treatment and Rehabilitation in East and Southeast Asia
รายงาน “Compulsory drug treatment & rehabilitation in East & Southeast Asia” หรือ การบำบัดและการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่มที่รายงานความก้าวหน้าและตัวอย่างกรณีในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจากการเข้าสถานบำบัดสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับมาเป็นให้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (community-based treatment: CBTX) และการแพทย์ทางเลือก รวมไปถึงประเด็นการลดอันตรายจากยาเสพติดและบริการสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNAIDS Asia Pacific) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
“คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
เอกสาร “ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 จำนวน 23 ฉบับ (แผนระดับที่ 2) และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Directory of Stateless Children Protection Stakeholders
เอกสารรวบรวมรายชื่อองค์กรและหน่วยงานทั่วประเทศไทยที่ทำงานเพื่อสนับสนุนและคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
World Inequality Report 2022
รายงาน “World Inequality Report 2022” นำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำโลกล่าสุดและครอบคลุมที่สุด ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งมิติความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง รายได้ เพศ และทางนิเวศวิทยา (ecological) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทำงานจากนักวิจัยกว่าร้อยคนในระยะเวลาสี่ปีจากทุกทั่วโลกที่ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก (World Inequality Database: WID.world) หน่วยงานที่จัดทำ: World Inequality Lab ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021
การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ประจำปี 2019 ให้ข้อมูลล่าสุดและจัดอันดับการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) ของ 100 ประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
“คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism)” ให้กระบวนการและองค์ความรู้ที่จะเปลี่ยนภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบในตลาดท่องเที่ยวโลก หน่วยงานที่จัดทำ: ฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564 (National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand 2021)
เอกสาร “แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564” เป็นแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้การดำเนินงาน ป้องกัน ดูแลรักษา และควบคุมวัณโรคของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการควบคุมวัณโรคในประเทศไทยหลักตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เป้าหมายยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย
เอกสาร “สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย” นำเสนอเนื้อหาสรุปภาษาไทยฉบับ Child-friendly จากคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษไทยได้ ที่นี่
Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region
เอกสารคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาในเอกสารผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านสิทธิเด็กและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกับเด็กและเยาวชนจากทั่วทั้งภูมิภาคด้วย หลักการและแนวทางนโยบายในเอกสารนี้จะมอบแนวนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้รัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และเด็กนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in Thailand – The Case for Investment)
รายงาน “เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย” แสดงหลักฐานว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการลงทุนในมาตรการแทรกแซงนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น มลพิษทางอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2021
Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business
งานวิจัย “Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business” ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มความเสี่ยงของการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศอย่างไร โดยมุ้งเน้นพื้นที่ศึกษาคือภาคเกษตรกรรมในมาเลเซียและไทย หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) และ Stockholm Environment Institute ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่
Global Tuberculosis Report 2021
รายงาน “Global Tuberculosis Report 2021” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 197 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2563-2564 หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2563-2564
“CHULALONGKORN UNIVERSITY SUSTAINABILITY REPORT 2020-2021” รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2563-2564 หน่วยงานที่จัดทำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2021
รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2021” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้ยังคงแสดงความกังวลที่ยังไม่จางหายจากผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิง รวมถึงภัยคุกคามที่จะมีต่อผู้หญิงในรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Our Common Agenda
รายงาน “Our Common Agenda” โดยเลขาธิการสหประชาชาติ จะฉายภาพอนาคตอีก 25 ปีข้างหน้า ในด้านความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้เสนอต่อการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (General Assembly) ครั้งที่ 75 ในปีพ.ศ. 2564 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (UN) ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 (Thailand’s SDG Report 2016-2020)
“รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563” เป็นรายงานประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ของประเทศไทยในระยะ 5 ปี ฉบับแรก ที่จะแสดงสถานะการพัฒนาของแต่ละเป้าหมายย่อย (targrts) โดยใช้ข้อมูลตัวชี้วัดของสหประชาชาติและยุทธศาสตร์มาเป็นตัวประเมิน หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
World Social Protection Report 2020-22
Social protection at the crossroads – in pursuit of a better future รายงานการคุ้มครองทางสังคมของโลก 2563 – 2565 รวบรวมข้อมูลระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกล่าสุด รวมถึงแนวโน้มระบบการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน (social protection floors) และการใช้จ่ายของงบประมาณภาครัฐ อาทิ นโยบายที่เกี่ยวกับวัยแรงงานผู้หญิงและผู้ชาย การให้กำเนิดบุตร การจ้างงานผู้พิการและผู้ที่เจ็บป่วย การว่างงาน ผู้สูงอายุและเงินบำนาญ รวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และที่สำคัญคือผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อมาตรการคุ้มครองทางสังคม รายงานฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลเชิงสถิติสำหรับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.3.1 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2563
รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2563” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2563 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2020) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563
“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Progress on Transboundary Water Cooperation – 2021 Update
รายงานสถานการณ์ความร่วมมือบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดนของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.5 ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านทางความร่วมมือระหว่างเขตแดนตามความเหมาะสมภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.5.2 สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ข้ามเขตแดนมีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Water-related Ecosystems – 2021 Update
รายงานสถานการณ์ระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.6 ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.6.1 การเปลี่ยนแปลงในบริบทของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำตลอดทุกช่วงเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Integrated Water Resources Management – 2021 Update
รายงานสถานการณ์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม (IWRM) ของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.5 ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ ความร่วมมือระหว่างเขตแดนตามความเหมาะสมภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.5.1 ระดับการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Level of Water Stress – 2021 Update
รายงานสถานการณ์ระดับความตึงเครียดของน้ำของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.4.2 ระดับความตึงเครียดด้านน้ำ: สัดส่วนการใช้น้ำจืดต่อปริมาณน้ำจึดทั้งหมด หน่วยงานที่จัดทำ: United Nation Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Water-Use Efficiency – 2021 Update
รายงานสถานการณ์การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทุกช่วงเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Ambient Water Quality – 2021 Update
รายงานสถานการณ์คุณภาพของน้ำโดยรอบ (Ambient Water) ของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.3 ภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำ (เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ) ที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบที่ดี หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Wastewater Treatment – 2021 Update
รายงานความคืบหน้าสถานการณ์การบำบัดน้ำเสียของโลกในปี พ.ศ. 2564 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.3 ภายในปี พ.ศ. 2573 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.3.1 เรื่องการสัดส่วนของน้ำเสียจากครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia
รายงาน Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia มุ่งนำเสนอปัญหาจากภาวะ ‘Infodemic’ หรือการแพร่ระบาดของข่าวสาร ในระหว่างสถานการณ์ COVID-19 ว่ากระทบต่อความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ใน 10 ประเทศอาเซียนอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)
วิดีโอคลิป “แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)” ให้ข้อมูลความร่วมมือที่สำคัญของภาคการเงินไทยเพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานด้าน sustainable finance ในประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) รับชมวิดีโอ: ได้ ที่นี่
อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง
“อภิธานศัพท์สำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ว่าด้วยแรงงานหญิงข้ามชาติ และการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง (Media-friendly glossary on migration: Women migrant workers and ending violence against women (EVAW) edition)” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสื่อมวลชน นักวิจัย ผู้ฝึกอบรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ซึ่งดำเนิน การฝึกอบรมหรือผู้เขียนเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงานหญิง และความรุนแรงต่อผู้หญิงในบริบทของการย้ายถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index)
รายงานสรุป “วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก” นำเสนอข้อเท็จจริงใหม่ในระดับโลกเกี่ยวกับจำนวนเด็กที่กำลังเผชิญกับอันตรายและการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (Children’s Climate Risk Index) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่