ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand)
“ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงงานที่มีคุณค่าและเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความเหมาะสม และขอบเขตการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการทำงานของเยาวชนไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
“แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น” ให้แนวทางแก่หน่วยงานและชุมชนระดับท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะทำแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2021
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2021 นำเสนอผลกระทบจากกว่าหนึ่งปีของการระบาดใหญ่ที่สำคัญในหลายประเด็นการพัฒนา ทั้งอัตราความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี วิกฤตครั้งนี้คุกคามความก้าวหน้าของการพัฒนาที่ดำเนินการมาหลายทศวรรษ สร้างความถดถอยต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยิ่งแสดงถึงการเพิ่มความจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างเร่งด่วนขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2021
รายงาน “Sustainable Development Report 2021” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องทศวรรษแห่งการลงมือทำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและอธิบายว่าจะนำ SDGs มาช่วยฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Tonga
รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Tonga” นำเสนอการจัดทำ Roadmaps ของราชอาณาจักรทองกา (Tonga) ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยทางคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ได้จัดทำรายงานฉบับนี้ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล เทคโนโลยี มาตรการที่รัฐบาลควรคำนึงถึง ซึ่งนำเสนอแนวทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยข้อมูลเหล่านี้พัฒนามาจากชุดข้อมูลระดับประเทศที่มีอยู่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างเหมาะสมและบรรลุเป้าหมาย #SDG7 ภายในปี ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2021
Transforming food systems for food security, improved nutrition and affordable healthy diets for all รายงานนี้นำเสนอการประเมินความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการระดับขอปี 2020 และบ่งชี้ว่าสถานการณ์ความหิวโหยจะเป็นอย่างไรภายในปี 2030 ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีการประมาณการใหม่เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ในภาพรวม รายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการสะท้อนคิดถึงวิธีจัดการกับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของโลกเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Online Employability Resources for Youth 2021
“ONLINE EMPLOYABILITY RESOURCES FOR YOUTH 2021” เป็นคู่มือเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ทักษะออนไลน์แหล่งค้นหางานออนไลน์ สถานที่ฝึกงาน งานอาสาสมัคร และข้อมูลทุนการศึกษาสำหรับเยาวชนในประเทศไทย หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาทักษะใหม่ ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รายงาน “การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ((Bringing the School to the Students: Education Provision for Disadvantaged Children in the ‘District Schools’ of Mae Hong Son Province) นำเสนอข้อมูลประวัติความเป็นมา บทเรียนที่ได้รับจากการทำโครงการ “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอื่น ๆ โดยเป็นบทเรียนเฉพาะจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Summary Progress Update 2021: SDG 6 – Water and Sanitation for All
รายงานสรุปภาพรวมของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำและสุขาภิบาล ในปี 2021 ที่ได้ดำเนินการโดยโครงการ UN-Water Integrated Monitoring Initiative on SDG 6 (IMI-SDG6) ที่ติดตามการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 โดยอาศัยข้อมูลตัวชี้วัด SDG6 ของแต่ละประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2020
รายงานสถานการณ์และข้อมูลของการเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 2000 – 2020 และการประเมินสถานการณ์สำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน นอกจากนั้น ถือเป็นรายงานฉบับแรกที่ได้รวมเรื่องการจัดการสุขอนามัยประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “COVID-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Implications of the COVID-19 Pandemic for Commercial Contracts Covering the Transportation of Goods in the Asia-Pacific Region and Beyond
รายงาน “Implications of the COVID-19 pandemic for commercial contracts covering the transportation of goods in the Asia-Pacific region and beyond”เกี่ยวกับการขนส่งและการค้าในช่วงยุคของการแพร่รระบาด Covid-19 โดยจุดประสงค์ของรายงานฉบับนี้จัดทำเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลและผู้ให้บริการด้านขนส่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เกี่ยวกับกฏหมายการค้าที่ต้องเผชิญในช่วง Covid-19 รวมถึงตัวรายงานยังได้สรุปข้อสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบทางกฏหมายต่อการค้าระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ : คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด : รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี่
Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook
คู่มือ “Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook” นำเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการบูรณาการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) เข้ากับนโยบายและระบบการศึกษาในประเทศ พร้อมตัวอย่างจากหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goal: SDG Booklet
เอกสารเผยแพร่ชื่อเป้าหมาย (Goal) และเป้าหมายย่อย (Target) ของ SDGs ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Country Team: Thailand)
Proposals for Crisis-response Provisions in Regional and Bilateral Transport Agreements of the ESCAP Member States
รายงาน “Proposals for crisis-response provisions in regional and bilateral transport agreements of the ESCAP member States” นำเสนอข้อมูลว่าการขนส่งและการค้ามีความเชื่อมโยงอย่างไรกับการระบาดใหญ่ โดยพูดถึงเนื้อหาการออกกฎระเบียบหรือมาตราการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 แต่กลับนำไปสู่ผลกระทบทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรายฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้แต่ละประเทศ มีการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือมาตรการให้เข้ากับบริบทในประเทศและคู่ค้า และเตรียมความพร้อม หากเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Energy Progress Report 2021
รายงานสถานการณ์ความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 การเข้าถึงพลังงานและพลังงานสะอาด ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงงานหมุนเวียน และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ 7 โดยรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลและสถานะจากหลากหลายประเทศในปี 2020/21 เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้กำหนดนโยบาย และผู้สนใจ ในการติดตามสถานการณ์และออกแบบแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: International Energy Agency (IEA) the International Renewable Energy Agency (IRENA), the UN Department of Economic and Social Affairs (UN DESA), the World Bank และ the World Health Organization (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Employment and Social Outlook: Trends 2021
รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานโดยภาพรวมของโลกในปี 2021 ตั้งแต่แนวโน้มลักษณะของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการจ้างงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการจ้างงาน เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))
“รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6): Key results from the multiple indicator cluster survey Thailand 2019)” นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและความท้าทาย ในประเด็นความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กในมิติต่าง ๆ อาทิ โภชนาการของเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การเข้าเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ การสร้างวินัยให้กับเด็ก การสมรสในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ และรายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นสถานการณ์ความเหลือล้ำในการพัฒนาเด็ก โดยสามารถประเมินได้จากตัวชี้วัดที่แสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษาของมารดา ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเด็กที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงความแตกต่างระหว่างประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ฉบับที่สอง โดยนำเสนอแผนงานในการพัฒนาระยะยาวที่จำเป็นสำหรับองค์กรต่าง ๆ ทั้ง 13 องค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาด้านสุขภาพให้ประเทศต่าง ๆ ฟื้นกลับจากการระบาดของโควิด-19 พร้อมกับที่เดินหน้าขับเคลื่อนในเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World Health Statistics 2021: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นการรวบรวมข้อมูลล่าสุดด้านสุขภาพและตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพสำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำประเด็นผลกระทบและความสูญเสียจากการระบาดของโควิด-19 โดยการที่จะฟื้นฟูกลับมาต้องพึ่งพิงการมีข้อมูลจำนวนมากและระบบข้อมูลด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy in ASEAN Cities
รายงาน “SDG 7 Localization AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY in ASEAN cities” นำเสนอผลงานการวิจัยและการวิเคราะห์ที่เริ่มโดย ESCAP ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ United Cities and Local Governments AsiaPacific (UCLG ASPAC) ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก Energy Foundation China ความสำคัญของรายงานฉบับนี้คือการพัฒนากรอบการวิเคราะห์สำหรับการประเมินสถานะการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในท้องถิ่น (localization) และการประยุกต์ใช้กับเมืองที่อยู่ในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness
รายงาน “ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness” ประจำปี 2020 ฉบับนี้กล่าวถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งการป้องกันภัยสึนามิรวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กองทุน กองทุน ESCAP Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness ซึ่งจะออกเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality
รายงาน “In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality” เผยถึงความไม่ท่าเทียมทางเชื้อชาติ ซึ่งโดยเฉลี่ยชุมชนของคนขาว (white communities) ได้รับทรัพยากรและบริการมากกว่ากลุมอื่น ๆ ถึง 3 เท่า ขณะที่กลุ่มคนผิวสีและคนพื้นเมืองมีแนวโน้มที่จะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังมากที่สุด หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of the World’s Midwifery 2021
รายงานการศึกษาที่ประเมินสถานการณ์การผดุงครรภ์ (Midwifery)ในภาคสาธารณสุข เพื่อให้เห็นสถานการณ์ของการดูแลมารดาระหว่างและหลังจากที่ให้กำเนิดบุตร โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกในช่วงปี 2021 นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงประเด็นความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเด็นที่ต้องการส่งเสริม และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการผดุงครรภ์ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ สมาพันธ์ผดุงครรภ์นานาชาติ (International Confederation of Midwives: ICM) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2021
รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2564 ฉายภาพสถานการณ์วิกฤติความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงใน 55 ประเทศ/เขตแดนทั่วโลก โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลันอันเป็นผลมาจากโควิด-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather) ทั้งนี้ สำหรับปี 2564 จำนวนประชากรโลกที่เผชิญกับสภาวะดังกล่าว ถือว่ามีจำนวนสูงที่สุด ตามข้อมูลที่ปรากฎในรายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหารที่มีมา 5 ปีแล้ว หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2563 (2020 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2563 (2020 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development
คู่มือ “Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development” นำเสนอการใช้กระบวนการเรียนรู้ “สะท้อน-แบ่งปัน-ลงมือทำ” เพื่อการค้นหาและกำหนดนิยามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบริบทของแต่ละชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผ่านข้อมูลประสบการณ์จริงของชุมชนใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of World Population 2021
– Claiming the right to autonomy and self-determination รายงานนี้เป็นฉบับแรกที่เน้นประเด็นเรื่องสิทธิเหนือเรือนร่างของตนเอง โดยเฉพาะของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยไม่กังวลต่อการตัดสินจากผู้อื่นหรือหวาดกลัวต่อความรุนแรง เพราะหากไร้ซึ่งสิทธิดังกล่าว ย่อมจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิงและเด็กหญิง รวมถึงผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ทักษะในการทำงาน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อการบริการสาธารณสุข และทำให้กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับระบบยุติธรรม รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021
รายงานสำรวจวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ที่กระทบต่อภาคการเกษตรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การปศุสัตว์ การป่าไม้ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ ทั้งในลักษณะที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยได้ประเมินความเสียหายและความสูญเสียของภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Engineering for Sustainable Development: Delivering on the Sustainable Development Goals
รายงาน “Engineering for Sustainable Development: Delivering on the Sustainable Development Goals” เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวิศวกรรมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยชี้ให้เห็นว่าความเท่าเทียมกันด้านโอกาสของทุกคนในการเข้าถึงวิชาชีพจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวิศวกรในการดำเนินการตาม SDGs อีกทั้งรายงานฉบับนี้ยังนำเสนอภาพรวมของนวัตกรรมทางวิศวกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่มนุษยชาติและโลกกำลังเผชิญอยู่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ International Centre for Engineering Education ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2021
รายงานความสุขโลกประจำปี 2021 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ โดยฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของ COVID-19 และวิธีที่ผู้คนทั่วโลกจัดการกับชีวิต รายงานแบ่งเป็นสองส่วนคือ หนึ่ง เน้นที่ผลกระทบของ COVID-19 ต่อโครงสร้างและคุณภาพชีวิตของผู้คน และสอง เพื่ออธิบายและประเมินว่ารัฐบาลทั่วโลกจัดการกับโรคระบาดนี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาคำตอบว่าทำไมบางประเทศจึงทำได้ดีกว่าประเทศอื่น หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021
รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเชียและแปซิฟิก 2021 เป็นการวิเคราะห์ความก้าวหน้าและประเมินช่องว่างที่จะต้องเติมเต็มเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs ภายในปี 2030 ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนได้เสียสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดอันดับความสำคัญ วางแผน นำไปปฏิบัติ และติดตามประเมินผลการพัฒนาตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Liquidity and Debt Solutions to Invest in the SDGs: The Time to Act is Now
บทสรุปเชิงนโยบาย “Liquidity and Debt Solutions to Invest in the SDGs: The Time to Act is Now” ทำการรวบรวมการตอบสนองทางนโยบายทั่วโลกตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ประเมินช่องว่างและความท้าทายที่เหลืออยู่สำหรับการนำไปปฏิบัติ และเสนอข้อแนะนำในการแก้ปัญหาทางการเงินที่เป็นรูปธรรมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและการพัฒนาที่เป็นผลมาจากโควิด-19 รวมถึงทางเลือกในการฟื้นฟูที่ดีขึ้นและการลงทุนในอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (UN) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายการ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” We Shift…World Change ตอน SDGs Talk
รายการ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” We Shift… World Change ตอน SDGs Talk เชิญผู้นำที่ลงมือทำแล้ว เห็นผลจริง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการมาพูดคุยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย พร้อมแบ่งปันไอเดียการออกแบบธุรกิจอย่างไรให้สอดคล้องกับ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)
ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515–2563)
รายงานสรุป “ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515 – 2563) (Invisible Lives: 48 Years of the Situation of Stateless Children in Thailand (1972-2020))” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Ending Childhood Statelessness in Thailand: Developing an Accelerated Nationality Review Model through Research and Empowerment of Stakeholders ดำเนินการศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัญหา ข้อจำกัดในการเข้าถึงการจดทะเบียนการเกิด และพัฒนาสิทธิในสัญชาติไทยของเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2562 (2019 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2562 (2019 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind
รายงาน “ASEAN Gender Outlook 2024: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind” ชี้ให้เห็นช่องว่างของข้อมูลด้านเพศที่มีอยู่ในภูมิภาค และเรียกร้องให้มีการลงทุนและให้ความสำคัญกับงานด้านข้อมูลมากขึ้น เพื่อติดตามความก้าวหน้าสู่ความเท่าเทียมทางเพศและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับ ASEAN Complementarities Initiative, ASEAN Community Vision 2025 และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action
รายงาน “SDGs Mega Trends 2021” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2021” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญในปีดังกล่าว เพื่อสร้างความตระหนักและแรงบันดาลใจให้ภาคเอกชนร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
SDGs กับเยาวชน
เด็กและเยาวชนทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมสร้างโลกในวันข้างหน้า ด้วยการลงมือทำปรับพฤติกรรม เพื่อสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า โดยเริ่มจากการสร้างค่านิยมในการใช้ซ้ำ ลด ละ เลิก และงดการแชร์ส่งต่อ การล้อเลียน หรือ Bully ด้วยการสร้างวาทกรรมเสียดสี หรือ Hate Speech และหันมาใส่ใจกับคนรอบข้างและคนใกล้ตัวให้มากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDG Impact Assessment Tool
“SDG Impact Assessment Tool” เป็นครื่องมือการประเมิน สำหรับงานวิจัย สถาบันการศึกษา บริษัท ผู้ประกอบการ องค์กรภาคประชาชน และหน่วยงานรัฐ เพื่อระบุผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบของงานที่ทำต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ที่สามารถประเมินได้ด้วยตนเอง เครื่องมือนี้จะกระตุ้นให้เกิดการไตร่ตรองและการเรียนรู้ร่วมกันในประเด็น SDGs และการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเป้าหมาย ใช้งานได้ฟรีในรูปแบบออนไลน์ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษและลงทะเบียนและเข้าใช้งานได้ ที่นี่
SDGs กับภาคธุรกิจ
ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรามักให้ความสำคัญกับการทำกำไรสูงสุด โดยละเลยต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ และทางทะเล โลกร้อน การใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Business จึงกลายมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมและคุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยวาระการพัฒนาดังกล่าว ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก 169 เป้าหมายย่อย ซึ่งเชื่อมโยงเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มีตัวชี้วัดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายหลัก สามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ คือ มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติสันติภาพและความยุติธรรม และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับอาหารริมทาง
อาหารริมทาง (Street Food) มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของเมนูอาหาร ผนวกกับรสชาติที่โดดเด่น ราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้ครองใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตประจำวันของเราก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ปัญหาขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการใช้ภาชนะฟุ่มเฟือย และการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ถึงเวลาแล้วที่เราจะพลิกโฉม Street food ของเราให้มีสุขอนามัยที่ดี สะอาดปลอดภัย ไม่สร้างมลภาวะ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภค หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับเกษตรกร
เกษตรกรรมยั่งยืน คือ ระบบเกษตรที่ครอบคลุมวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งการเปลี่ยนจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือการลดใช้สารเคมี จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตรได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
SDGs กับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+)
ประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQI+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน คิดเป็น 6% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แม้ว่าในมุมมองของชาว LGBTQI+ ทั่วโลกจะเห็นว่าประเทศไทยค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และให้การยอมรับชาว LGBTQI+ อย่างเต็มที่ แต่การวิจัยจากกลุ่มธนาคารโลก ร่วมกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท Love Frankie ระบุว่ากลุ่มคนข้ามเพศ 77% หญิงรักหญิง 62.5% และชายรักชาย 49% ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากความแตกต่างทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้มีเพียงแค่ในสังคมที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับชาว LGBTQI+ โดยทั่วไป หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :
SDGs กับชีวิตคนเมือง
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้ง่ายๆด้วยการจัดสรรเวลาในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิต การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายด้าน เช่น มลภาวะทางอากาศ น้ำ ปัญหาขยะต่าง ๆ รวมถึงสุขภาพของคนเมือง หากคนเมืองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดีโอได้ที่นี่ :
SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action)
เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปี ที่ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจะบรรลุ SDGs ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นๆ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 National Review Reports
รายงาน “Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 national review reports” ประกอบด้วยบทสรุปความท้าทาย ความสำเร็จ และคีย์สำคัญในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศและสริมอำนาจของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่แต่ละประเทศควรดำเนินการในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งให้เบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รวมข้อเสนอแนะที่กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออกให้แก่ประเทศไทยว่าด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตย พ.ศ. 2557-2563
หนังสือ “รวมข้อเสนอแนะที่กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออกให้แก่ประเทศไทยว่าด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตย พ.ศ. 2557-2563” (Compilation of Recommendations Issued to Thailand by the UN Human Rights mechanisms on Issues Related to Democratic Space 2014-2020) รวบรวมข้อเสนอแนะที่เผยแพร่สู่สาธารณชนจากกลไกแห่งสหประชาชาติในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชาธิปไตย (democratic space) ไม่ว่าจะเป็น เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคมและการชุมนุม การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานที่จัดทำ:สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่