Blog

Jan
01

SWU Sustainable Development Goals Report 2021

รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ.​ 2564   หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

ชุดเอกสาร Inner Development Goals

ชุดเอกสาร “Inner Development Goals” หรือ “เป้าหมายการพัฒนาภายใน” นำเสนอกรอบทักษะสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดทำเป็นคู่มือซึ่งจะเผยแพร่แบบโอเพนซอร์สให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ฟรี กรอบการทำงานของ Inner Development Goals นั้นประกอบด้วย 5 มิติและ 23 ทักษะ คุณลักษณะ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำในการขับเคลื่อนป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และทุกคน กรอบการทำงานนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งที่ทรงพลังในการบรรลุ SDGs เและสร้างอนาคตที่ดีให้กับมวลมนุษยชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: Inner Development Goals Initiative ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
คู่มือ
DETAIL
Jan
01

การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก

รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Building Agricultural Resilience to Natural Hazard-induced Disasters

Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening

การมีภูมิต้านทานตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate resilience) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ รายงานฉบับนี้หยิบยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของภาคเกษตร ที่หมายรวมถึงพืชผล การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมง ว่าจะสามารถเสริมขีดความสามารถและเตรียมพร้อมระบบเกษตรกรรมให้สามารถปรับตัวและฟื้นกลับจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้อ่านสามารถนำรายงานฉบับนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบ หรือเป็นแนวทางในการระบุชี้/ตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนต้นของการออกแบบและการผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in 2020

รายงานสำรวจดูนโยบาย มาตรการ และรูปแบบการค้าสินค้าเกษตรของประเทศต่าง ๆ ในห้วงขณะการระบาดของโควิด-19 เพราะอุปสงค์และอุปทานด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าในโลกเนื่องมาจากโรคระบาด ตัวอย่างมาตรการมีอาทิ การจำกัดการส่งออก การกำหนดมาตรการของตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการใดที่เป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของส่วนอื่นในโลกได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Dec
29

Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia

รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศจอร์เจีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 29 2020
รายงาน
DETAIL
Dec
16

Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region

รายงาน “Regional Energy Trends Report 2020 : Tracking SDG 7 in the ASEAN Region” รายงานแนวโน้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการสร้างความสมดุลนโยบายต่อโลก ภูมิภาค ประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้ติดตามความคืบหน้าของภูมิภาคอาเซียนในการจัดให้มีการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง รวมถึงส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้พลังงานในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ยังคงช้าเกินไปในหลาย ๆ กรณีในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในปี ค.ศ. 2030     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 16 2020
รายงาน
DETAIL
Dec
10

GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia

เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 10 2020
รายงาน
DETAIL
Dec
10

Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’

เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 10 2020
คู่มือ
DETAIL
Dec
08

Europe Sustainable Development Report 2020

รายงาน “Europe Sustainable Development Report 2020” เป็นฉบับที่ 2 ที่รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 08 2020
รายงาน
DETAIL
Dec
02

Global Wage Report 2020-21: Wages and minimum wages in the time of COVID-19

รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2020/21 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำหนดค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำ ผลกระทบจากโควิด – 19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 02 2020
รายงาน
DETAIL
Nov
26

Atlas of Sustainable Development Goals 2020

Atlas of Sustainable Development Goals 2020 หรือ แผนที่สถานการณ์ความก้าวหน้า SDGs จากธนาคารโลก นำเสนอภาพแนวโน้มในการบรรลุ SDGs รวมถึงหลักการในการวัดผลตัวชี้วัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ต่อความก้าวหน้าในบางประเด็นที่มีข้อมูล ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ (interactive storytelling) และมีการออกแบบข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ที่ดึงดูดความสนใจ มาเพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นได้   หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World bank) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

DETAIL
Oct
30

WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health

คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่    

Oct 30 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
25

Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector

คู่มือ “Guide to Sustainable Tourism. Challenges and Criteria for Evaluation in the Tourism Sector” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้ประเมินการดำเนินงานของภาคการท่องเที่ยวต่อ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย และให้สถานที่ท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวจะสามารถตรวจสอบตนเองได้ว่าดำเนินงานสอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแล้วหรือไม่     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network (Spain) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 25 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
23

ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2020

รายงาน “ASEAN SDG Indicators Baseline Report 2022” เป็นรายงานเรื่องตัวชี้วัด SDGs ฉบับแรกของอาเซียนที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลฐาน (baseline information) ของติดตามและวัดผล การดำเนินการบรรลุ SDGs ในภูมิภาค และจะช่วยสนับสนุนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค รายงานฉบับนี้นำเสนอข้อมูลของรัฐสมาชิกอาเซียนที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 23 2020
รายงาน
DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17: Partnerships for the goals)

ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดและเอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ การประสานงานด้านนโยบายเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 17 มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North-South) และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South) โดยการสนับสนุนแผนระดับชาติเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มอัตราการส่งออกล้วนเป็นองค์ประกอบของการมีระบบการค้าซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์สากล มีความเสมอภาค ยุติธรรม เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (SDG 16: Peace, justice and strong institutions)

สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน (SDG 15: Life on land)

ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทรและทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน (SDG 14: Life below water)

ผู้คนกว่าสามพันล้านคนใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า 30% ของปลาทะเลของโลกได้ถูกใช้ไปเกินขนาด ซึ่งต่ำกว่าระดับที่พวกเขาสามารถผลิตผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้ได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างกรอบการทำงานเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนและปกป้องระบบนิเวศทางชายฝั่งและทางทะเลจากภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก ตลอดจนจัดการปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดของมหาสมุทร เสริมสร้างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทะเลผ่านกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)

ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 12 แผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SDG 12: Responsible consumption and production)

รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องลดรอยเท้าทางนิเวศลงอย่างเร่งด่วน โดยการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภคสินค้าและทรัพยากร การเกษตรกรรมเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในโลก และในขณะนี้มีการจัดการน้ำให้ถึง 70% ของผู้ใช้น้ำทั้งหมด การจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีการกำจัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ การส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลและลดขยะมูลฝอยในอุตสาหกรรม ธุรกิจและผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญเท่าเทียมกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่แผนการบริโภคที่ยั่งยืนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (SDG 11: Sustainable cities and communities)

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งนำไปสู่ความเจริญในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมืองใหญ่ที่มีพลเมืองจำนวน 10 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน ความยากจนมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง รัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่เหล่านั้น การทำให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืน หมายถึง การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและการจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)

ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9: Industry innovation and infrastructure)

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เป็นกุญแจสำคัญในการหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้กับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีชิ้นงานใหม่และส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและการลงทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เหล่านี้เป็นวิธีที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนา 17 ข้อ ที่อยู่ในวาระการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) วิธีการแบบบูรณาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความคืบหน้าไปยังเป้าหมายอื่นๆ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
12

เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8: Decent work and economic growth)

ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานที่ประสบปัญหาความยากจนขั้นรุนแรงลดลงอย่างมาก จำนวนชนชั้นกลางมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก แม้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่อัตราการเติบโตยังต่ำ และปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น การจ้างงานไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงานที่เติบโตขึ้น องค์การแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่าในปี 2558 มีผู้ไม่มีงานทำถึง 204 ล้านคนทั่วโลก เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยบรรลุการมีผลิตภาพและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผ่านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการและการสร้างงาน รวมทั้งมาตรการที่มีประสิทธิผลในการขจัดแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ เพื่อบรรลุการจ้างงานเต็มรูปแบบ มีประสิทธิภาพและมีคุณค่า สำหรับทุกคนภายในปี 2573 หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy)

ในห้วงเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกสามารถเข้าถึงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ล้านคนทั่วโลก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานราคาถูกมากขึ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้น การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 7 ภายในปี 2573 จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อน รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพพลังงาน และการสร้างหลักประกันการเข้าถึงพลังงานโดยถ้วนหน้า โดยการขยายโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกประเทศจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation)

ปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกกว่าร้อยละ 40 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ปริมาณน้ำดื่มสะอาดที่ลดลงยังเป็นปัญหาสำคัญ หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และภาวะการเป็นทะเลทรายที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ การจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนภายในปี 2573 จึงต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ รวมทั้งการมีสุขอนามัยและการสุขาภิบาลที่เหมาะสม ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ ตลอดจนสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมโดยถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)

การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality education)

เป้าหมายที่ 4 มุ่งสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในปี 2573 รวมทั้งให้มีการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
07

WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities

คู่มือ “WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถของการปกป้องและช่วยพัฒนาให้สุขภาวะของชุมชนที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนดีขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage – UHC)   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 07 2020
คู่มือ
DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being)

การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี 2543 – 2558 ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก การส่งเสริมสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของ MDGs ในการยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน ในราคาที่เหมาะสม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)

เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty)

การขจัดความยากจนทุกรูปแบบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของประชากรโลก ในปี 2558 ประชากรกว่า 736 ล้านคนทั่วโลก ยังดำรงชีพด้วยเงินน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์ต่อวัน หลายคนยังขาดการเข้าถึงอาหาร น้ำดื่มที่สะอาดและสุขอนามัยที่เพียงพอ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
01

รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562-2563

รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.​ 2562-2563   หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Oct 01 2020
รายงาน
DETAIL
Oct
01

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ.​ 2561-2563

“CHULALONGKORN UNIVERSITY SUSTAINABILITY REPORT 2018-2020” รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ.​ 2561-2563    หน่วยงานที่จัดทำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 01 2020
รายงาน
DETAIL
Sep
30

2020 Africa SDG Index and Dashboards Report

รายงาน “2020 Africa SDG Index and Dashboards Report” ประเมินความคืบหน้าของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศในทวีปแอฟริกา ผ่านเลนส์ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Sustainable Development Goals Center for Africa ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 30 2020
รายงาน
DETAIL
Sep
21

Accelerating Education for the SDGs in Universities: A Guide for Universities, Colleges, and Tertiary and Higher Education Institutions

คู่มือ “Accelerating Education for the SDGs in Universities: A guide for universities, colleges, and tertiary and higher education institutions” จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการนำการศึกษาเพื่อ SDGs (Education for the SDGs) เข้ามาอยู่ในหลักสูตรกระแสหลัก โดยจะมาพร้อมกับเว็บไซต์รวบรวมกรณีศึกษาที่มีตัวอย่างนวัตกรรมและการทำงานที่สร้างแรงบันดาลใจในการเร่งการดำเนินการด้านการศึกษาเพื่อ SDGs จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกเกือบ 50 ตัวอย่าง     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 21 2020
คู่มือ
DETAIL
Sep
15

Stronger Collaboration, Better Health: 2020 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ฉบับแรก ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการ 8 เดือนแรกตั้งแต่ที่ได้เปิดตัวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ เมื่อกันยายน 2562 โดยหน่วยงานภาคีได้ขยับจากคำมั่นสู่การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนได้ใช้แผนดังกล่าวเพื่อเติมช่องว่างและเพิ่มคุณค่าในกลไกความร่วมมือระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกที่มีอยู่เดิม เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 15 2020
รายงาน
DETAIL
Sep
14

เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2563

รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2563   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่

Sep 14 2020
รายงาน
DETAIL
Sep
13

Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Special focus on COVID-19

รายงานการติดตามสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยในโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2000 – 2020 ติดตามความคืบหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านข้อมูลการติดตามในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำคัญในช่วงสถานการณ์การแพร่ระชาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 13 2020
รายงาน
DETAIL
Sep
01

United Nations Common Guidance on Helping Build Resilient Societies

แนวทางของสหประชาชาติเล่มนี้ เป็นตำราแนวทางขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างบูรณาการทั้งระบบและภาคส่วน อาทิ งานด้านมนุษยธรรม สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างสังคมโดยเฉพาะในระดับประเทศ ให้มีความสามารถในการตั้งรับอย่างมีภูมิคุ้มกันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (resilience) หน่วยงานที่จัดทำ: สหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 01 2020
คู่มือ
DETAIL
Aug
04

บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ

คู่มือ “บทบาทของรัฐสภาในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ” (Parliament’s role in Implementing the Sustainable Development Goals) ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สมาชิกรัฐสภานำไปใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของรัฐสภาในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 04 2020
คู่มือ
DETAIL
Aug
04

การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย

รายงาน “การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย” (Socio-Economic Impact Assessment of COVID-19 in Thailand) ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการศึกษา การสำรวจ และการประเมินต่าง ๆ ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทย เพื่อศึกษาผลกระทบที่รุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสรุปกรอบนโยบายที่สำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการฟื้นฟูต่อไป   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารพัฒนาเอเชีย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 04 2020
รายงาน
DETAIL
Jul
27

Municipal Atlas of the SDGs in Bolivia 2020

รายงาน “Municipal Atlas of the SDGs in Bolivia 2020” รายงานความคืบหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศโบลิเวีย โดยครอบคลุมทั้งระดับประเทศ หน่วยงานและองค์กรรัฐ และเทศบาล   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 27 2020
รายงาน
DETAIL
Jul
21

การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย”

การ์ตูนเรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ “The Planet and the 17 Goals” โดย Margreet de Heer นักวาดการ์ตูนจากประเทศเนเธอร์เแลนด์ ภายใต้การดำเนินการในโครงการ Comics Uniting Nations ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง UNICEF, PCI Media, World’s Largest Lesson, มูลนิธิ PVBLIC และ Reading with Pictures มีเป้าหมายเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและทำความรู้จัก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs ผ่านการ์ตูนที่เข้าถึงผู้อ่านได้ทุกกลุ่ม   หน่วยงานที่จัดทำ: SDG Move ดาวน์โหลดได้ที่นี่

DETAIL
Jul
15

The SDSN Italia SDGs City Index

รายงาน “The SDSN Italia SDGs City Index” นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเมืองของอิตาลี ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต่อจากฉบับที่เผยแพร่ในปี 2018   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 15 2020
รายงาน
DETAIL
Jul
14

Sustainable Development Goals Report 2020

รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2020 นำเสนอภาพรวมของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย ที่ทำให้เห็นว่าแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบจาก COVID-19 แต่ละประเทศก็มีความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่เท่ากัน และด้วยวิกฤตด้านสาธารณสุขครั้งนี้ที่ส่งผลต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็ยิ่งทำให้การบรรรลุเป้าหมายให้ทันภายในปี 2030 มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 14 2020
รายงาน
DETAIL
Jul
13

The State of Food Security and Nutrition in the World 2020

Transforming food systems for affordable healthy diets รายงานฉบับนี้ได้ยืนยันแนวโน้มนับตั้งแต่ปี 2014 ของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากความหิวโหยในระดับโลก ความท้าทายของภาวะทุพโภชนาการในทุกรูปแบบที่ยังคงอยู่ แม้จะมีความก้าวหน้าในการลดจำนวนของเด็กที่มีภาวะแคระแกร็น น้ำหนักแรกเกิดต่ำ เพิ่มการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารกาเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังคงช้าเกินไป รายงานฉบับนี้ยังนำเสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในบริบทการพัฒนาที่แตกต่างกันด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 13 2020
รายงาน
DETAIL
Jul
10

Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: Towards Achieving the SDGs in Asia

เอกสาร “Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: Towards Achieving the SDGs in Asia” นำเสนอตัวอย่างแนวทางใหม่ ๆ ในการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development: ESD) ที่ดำเนินการโดย Regional Centres of Expertise on ESD (RCEs) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อประเด็นความยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 10 2020
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP