State of World Population 2020
– Defying the practices that harm women and girls and undermine equality รายงานฉบับนี้อธิบายสถานการณ์ของเด็กผู้หญิงที่เผชิญกับการปฏิบัติซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ โดยที่ครอบครัว เพื่อน และชุมชนต่างรับรู้แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติในสังคม สถานการณ์เช่นนี้เป็นการปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในอนามัยเจริญพันธุ์ และการใช้สิทธิเพื่อปกป้องตนเองของเด็กผู้หญิง รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2020
รายงาน Sustainable Development Report 2020 นำเสนอดัชนี SDGs และ Dashboard แสดงสถานะของข้อมูล ความก้าวหน้าในการดำเนินงานเพื่อนบรรลุ SDGs ของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด:รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 SDG Index for Latin America and the Caribbean
รายงาน “2019 SDG Index for Latin America and the Caribbean” นำเสนอเครื่องมือแรกที่ใช้ในการติดตามโดยเปรียบเทียบพัฒนาการการบรรลุเป่าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระหว่างประเทศแถบลาตินอเมริกาและ แคริบเบียน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance
รายงานสรุปข้อมูลและสถานการณ์ของการดำเนินนโยบายของภาครัฐ และหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ (external support agencies: ESAs) เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งข้อมูลถูกรวบรวมและวิเคราะห์โดย UN-Water Global Analysis and Assessment of Sanitation and Drinking-Water (GLAAS) หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2020: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” สรุปแนวโน้มล่าสุดเรื่องอายุขัยของคน (life expectancy) และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพ ตลอดจนเป้าหมายและเป้าประสงค์อื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Putting Children at the Centre of the Sustainable Development Goals
Policy Brief 5 ปีให้หลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ให้คำมั่นต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อปี 2015 เด็กจำนวนมากถึง 250 ล้านคนยังไม่ได้รับการส่งเสริมตามศักยภาพของตนอย่างเต็มกำลังได้ รายงาน “Putting children at the centre of the Sustainable Development Goals” ฉบับนี้ เป็นคำแนะนำให้ผู้กำหนดนโยบายตระหนักว่าความเป็นอยู่ของเด็กเป็นตัวชี้วัดหรือหัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons
คู่มือ “Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons” หรือ “คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งรวมถึงวงล้อสี SDGs และเครื่องหมาย (ไอคอน) SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย” (ฉบับปรับปรุงล่าสุด: พฤษภาคม 2020) ครอบคลุมแนวทางการใช้โลโก้ SDGs สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (non-UN entities) และอยู่ใต้องค์การสหประชาชาติ (UN entities) ข้อห้ามในการใช้โลโก้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งหมด ข้อกำหนดโดยละเอียดในการจัดวาง ขนาดและสัดส่วน การจับคู่โลโก้ วงล้อสี และเครื่องหมาย SDGs กับโลโก้อื่นเพื่อบริบทการใช้งานต่าง ๆ ฟอนต์และโค้ดสี พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดไฟล์โลโก้ทั้งหมดเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index
Policy Brief จากสถานการณ์โลกที่เผชิญกับภาวะโลกร้อน โรคระบาด วิกฤติภาวะทุพโภชนาการ และวิกฤติความขัดแย้งและการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้เด็กเปราะบางและมักตกเป็นเหยื่อ รายงานสรุปเชิงนโยบาย “Measuring children’s well-being: the Child Flourishing and Futures Index” จึงนำเสนอดัชนีโลก (global index) ที่สำรวจ 180 ประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับการที่เด็กจะมีได้มีสุขภาพที่ดีทั้งในวันนี้และในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ – Social justice and inequality journal
วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ ผ่านกระบวนทัศน์ในการนิยามและการรับรู้ นโยบายและกระบวนการทางนโยบายเพื่อยกระดับความเป็นธรรมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและปัจเจกบุคคลกับสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความเข้าใจต่ออำนาจในมิติอันหลากหลาย หน่วยงานที่จัดทำ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
Global Report on Food Crises 2020
รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2563 อธิบายถึงขนาดของความหิวโหยอย่างรุนแรงในโลก พร้อมวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติอาหาร และสำรวจสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่ามีผลต่อประเด็นความมั่นคงอาหารอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2020
รายงานความสุขโลกประจำปี 2020 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ และเป็นฉบับแรกที่มีการจัดอันดับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกตามความเป็นอยู่ที่ดี และเจาะลึกว่ามิติด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม พื้นที่เมือง และธรรมชาติ รวมกันนั้นส่งผลต่อความสุขของเราอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
บันทึกงานเสวนาหัวข้อ จาก ESG สู่ SDGs ทำไมจึงสำคัญ
วิดีโอบันทึก “การเสวนาหัวข้อ จาก ESG สู่ SDGs ทำไมจึงสำคัญ” เป็นช่วงหนึ่งของงานสัมมนา “From ESG to SDGs : Integrating SDGs Impact Measurement and Management Framework in Business and Investment Strategies” ซึ่งจัดโดยสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน สนับสนุนภาคเอกชนดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รับชมวิดีโอได้ที่นี่:
รายงานประเมินสถานะข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
“รายงานประเมินสถานะข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก” จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลสถานะตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในปัจจุบัน วิเคราะห์ช่องว่างของข้อมูลที่เกิดขึ้น ความก้าวหน้าการดําเนินงานในการพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัด ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ความท้าทายต่าง ๆ ในการทํางานเกี่ยวกับเรื่อง SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges
เอกสาร “GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges” รวบรวมและอภิปรายตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับ Global Citizenship Education (GCED) ที่ถูกนำปรับไปใช้ในแต่ละบริบทพื้นที่ มุมมองที่แตกต่างกันต่อ GCED จากผู้คนในประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ข้อกังวลของคนพื้นที่ต่อปัญหาระดับโลก และแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาด้วยการใช้แนวทาง GCED หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ)
การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) 15 เรื่อง จากผลงานทั้งหมด 274 ชิ้นจากศิลปินที่เข้าร่วมประกวดจาก 117 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฉายภาพความหมายของสันติภาพ ผ่านเรื่องราวหลายหัวข้อ เช่น เด็กนอกระบบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การต่อต้านการกลั่นแกล้งรังแก ความขัดแย้ง เยาวชน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ผู้ลี้ภัย และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมร่วม ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ ความเป็นธรรม ยุติธรรมยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
World Employment and Social Outlook: Trends 2020
รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานโดยภาพรวมของโลกในปี 2020 ตั้งแต่แนวโน้มลักษณะของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการจ้างงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการจ้างงาน เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SWU Sustainable Development Goals Report 2020
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ. 2563 หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Motivators for Sustainability: 17 Lessons of Sustainable Development Goals in Thailand
หนังสือ “Motivators for Sustainability: 17 Lessons of Sustainable Development Goals in Thailand” นำเสนอเรื่องราวของนักสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมทั้งหมด 17 ท่านจากทั่วประเทศในฉบับของตนเอง จนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น ๆ ลงมือริ่เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ต่อไปได้ หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ The Cloud ดาวน์โหลด : เอกสารได้ ที่นี่
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia
รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศอินโดนีเซีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2020
Overcoming water challenges in agriculture รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2563 ประเมินการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำชลประทานและในพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝน รวมทั้งประเมินผลกระทบที่มีต่อเกษตกรรายย่อยและประชาชน โดยมีข้อมูลและหลักฐานความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการจัดทำนโยบาย/มาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคเกษตรกรรม โดยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคได้อย่างเสมอภาคและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Small Island Developing States Response to COVID-19
Highlighting food security, nutrition and sustainable food systems Policy Brief นี้ได้สำรวจผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก รวมถึงการใช้มาตรการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อาทิ การพยายามทำให้มาตรการหลาย ๆ อย่างของภาคเกษตรกรรมเป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น e-commerce และ mobile banking เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Europe Sustainable Development Report
รายงาน “2019 Europe Sustainable Development Report” เป็นรายงานเชิงปริมาณฉบับแรกที่นำเสนอพัฒนาการของสหภาพยุโรปและกลุ่มสมาชิกในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Institute for European Environmental Policy ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Arab Region SDG Index and Dashboards Report
รายงาน “2019 Arab Region SDG Index and Dashboards Report” มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้ในการวัดความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคอาหรับ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2560 (2017 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2560 (2017 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด : เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ ภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering Food Security and Nutrition, Increasing Incomes and Empowerment
รายงาน “The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering food security and nutrition, increasing incomes and empowerment” นำเสนอบทเรียนและความสำเร็จของการลงทุนด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development: IFAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint external evaluation of IHR core capacities of Georgia
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of Georgia” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของประเทศจอร์เจีย ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2019 – Mediterranean Countries Edition
รายงาน “Sustainable Development Report 2019 — Mediterranean Countries Edition” ทบทวน Sustainable Development Report 2019 โดยเฉพาะ 23 ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสนับสนุนให้นำ SDGs ไปใช้ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network for the Mediterranean Area (SDSN—Mediterranean) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565)
เอกสาร “แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565)” (Thailand’s 1st National Action Plan on Business and Human Rights (NAP)) เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในการป้องกัน บรรเทา และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการประกอยธุรกิจ โดยเชื่อมโยงกับนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และพันธกรณีระหว่างประเทศ กับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) หน่วยงานที่จัดทำ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Stronger Collaboration, Better Health
Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All “Stronger Collaboration, Better Health” เป็นแผ่นพับ (Brochure) สรุปมาจากรายงาน “Stronger Collaboration, Better Health” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 12 องค์กรที่มีส่วนร่วมด้านสุขภาพ การพัฒนา และการตอบโต้ทางมนุษยธรรม เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: แผ่นพับฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Stronger Collaboration, Better Health
Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All นำเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 12 องค์กรที่มีส่วนร่วมด้านสุขภาพ การพัฒนา และการตอบโต้ทางมนุษยธรรม เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2562
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2562 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019
รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยในฉบับแรกภายใต้หัวข้อ “The Future is Now: Science for Achieving Sustainable Development” พบว่าการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมายกับระบบในสังคมที่เป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเสริมพลังกัน (synergy) และสวนทางกัน (trade-off) จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint external evaluation of IHR core capacities of New Zealand
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of New Zealand” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของประเทศนิวซีแลนด์ ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์กาารอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Six Transformations to achieve the Sustainable Development Goals
‘6 ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs’ เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Accord) มีมาตรการสำคัญ (Key Interventions) คือต้องดำเนินการควบคู่กันทั้ง 6 ด้าน เพื่อทำให้เกิดผลผลิต/ผลลัพธ์ขั้นกลาง (Intermediate Output/Outcome) ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs อีกต่อหนึ่ง ผู้แต่ง: Jeffrey Sachs และคณะ ดาวน์โหลดที่นี่
National Systems to Support Drinking-Water, Sanitation and Hygiene: Global Status Report 2019
รายงานสถานะระดับโลก ที่สำรวจระบบการบริหารจัดการน้ำสำหรับบริโภค สุขาภิบาล และระบบที่ส่งเสริมการมีสุขอนามัยที่ดีของ 115 ประเทศทั่วโลกในช่วงปี 2018 – 2019 รวมไปถึงการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ (external support agencies: ESAs) ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ:United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Building the Bridge To Reduce Armed Violence: Disrupt the Supply and Demand for Arms and Ammunition
รายงานวิจัยฉบับนี้นำเสนอบทวิเคราะห์ แนวปฏิบัติที่ดี และบทเรียนต่าง ๆ เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การบูรณาการการควบคุมอาวุธตามแบบ (conventional arms control) ในวิธีคิดและดำเนินการตามแนวทางการป้องกันและการพัฒนา (prevention and development) ซึ่งเป็นแนวคิดด้านการควบคุมอาวุธ สันติภาพ และความมั่นคงที่สอดแทรกอยู่ในวาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 โดยรายงานจะเน้นที่การจัดการกับอุปสงค์และอุปทานอาวุธ เพื่อให้สามารถลดความรุนแรงที่ใช้อาวุธลงได้ (armed violence) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (UN Institute for Disarmament Research – UNIDIR) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 Africa SDG Index and Dashboards Report
รายงาน “2019 Africa SDG Index and Dashboards Report” เรียกร้องให้ประเทศในแอฟริกาลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และพัฒนาข้อมูลที่ต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยเน้นถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะผนวกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในยุทธศาสตร์ชาติ งบประมาน การมีส่วนร่วมของประชาชน และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ SDG Center for Africa ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2019
Safeguarding against economic slowdowns and downturns รายงานฉบับนี้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าระดับโลกในการบรรลุ SDG 2 โดยได้ให้ข้อมูลการประมาณการล่าสุดของจำนวนผู้หิวโหยในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และข้อมูลล่าสุดของภาวะแคระแกร็นและภาวะผมแห้งในเด็ก รวมถึงโรคอ้วนในทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รายงานยังมีการวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนของความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะจากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2019
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2019 นำเสนอภาพรวมของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย โดยจะเห็นว่ามีความก้าวหน้าและแนวโน้มที่ดีขึ้นในบางประเด็นที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดให้ทันภายในปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Let’s Work Together: Education has a Key Role in Helping Achieve the Sustainable Development Goals
การ์ตูนสั้น 6 ตอน “Let’s Work Together: Education has a key role in helping achieve the Sustainable Development Goals” นำเสนอความเชื่อมโยงระหว่าง ‘การศึกษา’ และ ‘เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’ ช่วยแสดงให้เห็นความสำคัญของภาคส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2019 US Cities Sustainable Development Report
รายงาน “2019 US Cities Sustainable Development Report” รายงานที่จัดอันดับความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของเมืองในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 105 เมือง หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network United States ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
สถานะข้อมูลตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2562
รายงาน “สถานะข้อมูลตัวชี้วัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2562” นำเสนอสถานะข้อมูลตัวชี้วัด (indicators) SDGs ของประเทศไทยทั้ง 17 เป้าหมาย ตามกรอบตัวชี้วัดสากลขององค์การสหประชาชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2019
รายงาน “Sustainable Development Report 2019” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ Dashboards และวางกรอบการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไปปฏิบัติ กับ ‘six transformations’ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Iraq
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Iraq” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐอิรัก ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2017
รายงานสถานการณ์ของครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงน้ำดื่ม ระบบสุขาภิบาล และการมีสุขอนามัยที่ดี ระหว่างปี 2000 – 2017 โดยเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงในประเด็นดังกล่าวตั้งแต่ระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมายที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลังจากการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of the Philippines
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of the Philippines” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Malawi
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Malawi” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐมาลาวี ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Global Baseline Report 2018
รายงานสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และการมีสุขอนามัยที่ดีในโรงเรียน และกำหนดมาตรการขั้นพื้นฐานของโลกสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งประเมินการเข้าถึงน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และสุขอนามัย ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Index and Dashboards Report for European Cities
รายงาน “SDG Index and Dashboards Report for European Cities” รายงานฉบับต้นแบบ (prototype version) จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอภาพรวมการดำเนินการของเมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่จำนวน 45 แห่งในยุโรปในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ the Brabant Center for Sustainable Development ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Mauritius
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of the Republic of Mauritius” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสาธารณรัฐมอริเชียส ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่