Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2020
รายงานสถานการณ์และข้อมูลของการเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 2000 – 2020 และการประเมินสถานการณ์สำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน นอกจากนั้น ถือเป็นรายงานฉบับแรกที่ได้รวมเรื่องการจัดการสุขอนามัยประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Special focus on COVID-19
รายงานการติดตามสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยในโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2000 – 2020 ติดตามความคืบหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านข้อมูลการติดตามในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำคัญในช่วงสถานการณ์การแพร่ระชาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Global Baseline Report 2018
รายงานสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และการมีสุขอนามัยที่ดีในโรงเรียน และกำหนดมาตรการขั้นพื้นฐานของโลกสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งประเมินการเข้าถึงน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และสุขอนามัย ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia-Pacific Sustainable Development Journal
วารสาร “Asia-Pacific Sustainable Development Journal” ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละสองครั้งในเดือนพฤษาคมและพฤศจิกายน โดยเป็นวารสารต่อเนื่องจากชื่อเดิมคือ Asia Pacific Development Journal (APDJ) ที่ให้เนื้อหาสอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 เริ่มเผยแพร่ด้วยชื่อวารสาร Asia-Pacific Sustainable Development Journal ตั้งแต่ปีค.ศ. 2018 จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: วารสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
South-South and Triangular Cooperation In Action
– Sexual and Reproductive Health รายงานฉบับนี้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาหรือความร่วมมือใต้ – ใต้ (South-South) ในประเด็นสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเสริมพลังอำนาจแก่เยาวชน และข้อมูลประชากรเพื่อการพัฒนา โดยรวมถึงกรณีศึกษาในด้าน อาทิ การวางแผนครอบครัว สุขภาพมารดาและเด็ก และพยาบาลผดุงครรภ์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลหรือแนวทางให้สามารถเลือกนำไปใช้ประกอบการส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือใต้-ใต้ในประเด็นเหล่านี้ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Wage Report 2018/19: What lies behind gender pay gaps
รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2018/19 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำทางเพศในค่าจ้างแรงงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of World Population 2018
รายงานฉบับนี้อธิบายว่าปัจจัยอย่างการขาดแคลนการให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจและสังคม และปัญหาด้านการเข้าถึงยาคุมกำเนิด มีผลต่อการตัดสินใจมีบุตรและการกำหนดขนาดของครอบครัว โดยมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและการจัดทำโครงการที่จะช่วยให้แต่ละประเทศสามารถพัฒนาทางเลือกด้านอนามัยเจริญพันธุ์ได้มากขึ้น รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of Singapore
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of Singapore” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของสิงคโปร์ ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่