The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering Food Security and Nutrition, Increasing Incomes and Empowerment
รายงาน “The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering food security and nutrition, increasing incomes and empowerment” นำเสนอบทเรียนและความสำเร็จของการลงทุนด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development: IFAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Joint external evaluation of IHR core capacities of Georgia
รายงาน “Joint external evaluation of IHR core capacities of Georgia” เป็นหนึ่งในกระบวนการติดตามและประเมินผลขีดความสามารถของประเทศจอร์เจีย ให้เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งรักษาความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติในการขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2019 – Mediterranean Countries Edition
รายงาน “Sustainable Development Report 2019 — Mediterranean Countries Edition” ทบทวน Sustainable Development Report 2019 โดยเฉพาะ 23 ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสนับสนุนให้นำ SDGs ไปใช้ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network for the Mediterranean Area (SDSN—Mediterranean) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565)
เอกสาร “แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565)” (Thailand’s 1st National Action Plan on Business and Human Rights (NAP)) เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในการป้องกัน บรรเทา และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการประกอยธุรกิจ โดยเชื่อมโยงกับนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และพันธกรณีระหว่างประเทศ กับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) หน่วยงานที่จัดทำ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Stronger Collaboration, Better Health
Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All “Stronger Collaboration, Better Health” เป็นแผ่นพับ (Brochure) สรุปมาจากรายงาน “Stronger Collaboration, Better Health” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 12 องค์กรที่มีส่วนร่วมด้านสุขภาพ การพัฒนา และการตอบโต้ทางมนุษยธรรม เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: แผ่นพับฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Stronger Collaboration, Better Health
Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All นำเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 12 องค์กรที่มีส่วนร่วมด้านสุขภาพ การพัฒนา และการตอบโต้ทางมนุษยธรรม เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2562
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2562 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019
รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยในฉบับแรกภายใต้หัวข้อ “The Future is Now: Science for Achieving Sustainable Development” พบว่าการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมายกับระบบในสังคมที่เป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเสริมพลังกัน (synergy) และสวนทางกัน (trade-off) จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่