รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Social Protection Report 2020-22
Social protection at the crossroads – in pursuit of a better future รายงานการคุ้มครองทางสังคมของโลก 2563 – 2565 รวบรวมข้อมูลระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกล่าสุด รวมถึงแนวโน้มระบบการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน (social protection floors) และการใช้จ่ายของงบประมาณภาครัฐ อาทิ นโยบายที่เกี่ยวกับวัยแรงงานผู้หญิงและผู้ชาย การให้กำเนิดบุตร การจ้างงานผู้พิการและผู้ที่เจ็บป่วย การว่างงาน ผู้สูงอายุและเงินบำนาญ รวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และที่สำคัญคือผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อมาตรการคุ้มครองทางสังคม รายงานฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลเชิงสถิติสำหรับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.3.1 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2563 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2020) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563
“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2020
รายงานสถานการณ์และข้อมูลของการเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 2000 – 2020 และการประเมินสถานการณ์สำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน นอกจากนั้น ถือเป็นรายงานฉบับแรกที่ได้รวมเรื่องการจัดการสุขอนามัยประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2563 (2020 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2563 (2020 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia
รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศจอร์เจีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region
รายงาน “Regional Energy Trends Report 2020 : Tracking SDG 7 in the ASEAN Region” รายงานแนวโน้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการสร้างความสมดุลนโยบายต่อโลก ภูมิภาค ประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้ติดตามความคืบหน้าของภูมิภาคอาเซียนในการจัดให้มีการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง รวมถึงส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้พลังงานในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ยังคงช้าเกินไปในหลาย ๆ กรณีในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในปี ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่