การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก
รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
Building Agricultural Resilience to Natural Hazard-induced Disasters
Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening
การมีภูมิต้านทานตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate resilience) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ รายงานฉบับนี้หยิบยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของภาคเกษตร ที่หมายรวมถึงพืชผล การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมง ว่าจะสามารถเสริมขีดความสามารถและเตรียมพร้อมระบบเกษตรกรรมให้สามารถปรับตัวและฟื้นกลับจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้อ่านสามารถนำรายงานฉบับนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบ หรือเป็นแนวทางในการระบุชี้/ตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนต้นของการออกแบบและการผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in 2020
รายงานสำรวจดูนโยบาย มาตรการ และรูปแบบการค้าสินค้าเกษตรของประเทศต่าง ๆ ในห้วงขณะการระบาดของโควิด-19 เพราะอุปสงค์และอุปทานด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าในโลกเนื่องมาจากโรคระบาด ตัวอย่างมาตรการมีอาทิ การจำกัดการส่งออก การกำหนดมาตรการของตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการใดที่เป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของส่วนอื่นในโลกได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Wage Report 2020-21: Wages and minimum wages in the time of COVID-19
รายงานฉบับนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงสถานการณ์และแนวโน้มของค่าจ้างแรงงานในระดับโลก และภูมิภาค โดยฉบับ 2020/21 นอกจากจะช่วยแสดงแนวโน้มของค่าแรงโดยภาพรวม ยังมุ่งเน้นไปที่การกำหนดค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำ ผลกระทบจากโควิด – 19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย”
การ์ตูนเรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ “The Planet and the 17 Goals” โดย Margreet de Heer นักวาดการ์ตูนจากประเทศเนเธอร์เแลนด์ ภายใต้การดำเนินการในโครงการ Comics Uniting Nations ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง UNICEF, PCI Media, World’s Largest Lesson, มูลนิธิ PVBLIC และ Reading with Pictures มีเป้าหมายเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและทำความรู้จัก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs ผ่านการ์ตูนที่เข้าถึงผู้อ่านได้ทุกกลุ่ม หน่วยงานที่จัดทำ: SDG Move ดาวน์โหลดได้ที่นี่
Asia-Pacific Sustainable Development Journal
วารสาร “Asia-Pacific Sustainable Development Journal” ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละสองครั้งในเดือนพฤษาคมและพฤศจิกายน โดยเป็นวารสารต่อเนื่องจากชื่อเดิมคือ Asia Pacific Development Journal (APDJ) ที่ให้เนื้อหาสอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 เริ่มเผยแพร่ด้วยชื่อวารสาร Asia-Pacific Sustainable Development Journal ตั้งแต่ปีค.ศ. 2018 จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: วารสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่