สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย
เอกสาร “สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย” นำเสนอเนื้อหาสรุปภาษาไทยฉบับ Child-friendly จากคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษไทยได้ ที่นี่
Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region
เอกสารคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาในเอกสารผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านสิทธิเด็กและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกับเด็กและเยาวชนจากทั่วทั้งภูมิภาคด้วย หลักการและแนวทางนโยบายในเอกสารนี้จะมอบแนวนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้รัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และเด็กนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in Thailand – The Case for Investment)
รายงาน “เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย” แสดงหลักฐานว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการลงทุนในมาตรการแทรกแซงนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น มลพิษทางอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2021
Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business
งานวิจัย “Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business” ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มความเสี่ยงของการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศอย่างไร โดยมุ้งเน้นพื้นที่ศึกษาคือภาคเกษตรกรรมในมาเลเซียและไทย หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) และ Stockholm Environment Institute ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่
Global Tuberculosis Report 2021
รายงาน “Global Tuberculosis Report 2021” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 197 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2021
รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2021” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้ยังคงแสดงความกังวลที่ยังไม่จางหายจากผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อความเป็นอยู่ของผู้หญิง รวมถึงภัยคุกคามที่จะมีต่อผู้หญิงในรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Our Common Agenda
รายงาน “Our Common Agenda” โดยเลขาธิการสหประชาชาติ จะฉายภาพอนาคตอีก 25 ปีข้างหน้า ในด้านความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้เสนอต่อการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (General Assembly) ครั้งที่ 75 ในปีพ.ศ. 2564 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (UN) ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่