รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565
“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2022
“รายงาน “”Asia-Pacific Migration Data Report 2022″” รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานล่าสุด และข้อมูลเชิงลึกในด้านแนวโน้มต่างๆ ที่สังเกตการณ์ได้ตลอดปี 2022 ซึ่งแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักของการโยกย้ายถิ่นฐานอีกต่อไป แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังคงทิ้งผลลัพธ์ทางอ้อมไว้ต่อผู้อพยพทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย-แปซิฟิกฉบับนี้เป็นรายงานฉบับที่สาม ที่จัดทำมาต่อเนื่องประจำปีนับตั้งแต่ปี 2020″ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2565 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2022) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ASEAN Sustainable Urbanisation Report
รายงาน “ASEAN Sustainable Urbanisation Report” ฉายภาพความหลากหลายของบริบทเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของเมืองรอง (Secondary Cities) ที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการเสริมสร้างศักยภาพของเมืองเหล่านี้อย่างเต็มที่ รายงานนี้มุ่งหวังส่งเสริมความเข้าใจถึงโอกาสและความท้าทายของการพัฒนาเมืองและเน้นวิธีการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดอนาคตเมืองที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights
คู่มือกระบวรกร “Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights” ฉบับนี้จะช่วยให้กระบวนกรนำกิจกรรมเวิร์กช็อปสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิด้านสุขภาพอนามัยทางเพศและการสืบพันธุ์แก่เยาวชนได้ง่ายขึ้น เยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบบางประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิทธิและสุขภาพของตนเอง ไปจนถึงสุขภาพของผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรวม จุดมุ่งหมายคือการเสริมพลังให้เยาวชนผ่านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวคิดรวมถึงแรงจูงใจให้เยาวชนลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่และระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย
เอกสาร “สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย” ศึกษารวบรวมกลุ่มผู้ติดตามผู้ลี้ภัย ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องสถานะบุคคลตามกฎหมายของประเทศไทย โดยสรุปความสำคัญในการพัฒนาสถานะบุคคล สิทธิที่กฎหมายรับรอง และกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องพอสังเขปเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มอื่น ๆ จะได้ศึกษาข้อมูลด้านสถานะบุคคล และสิทธิตามกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเบื้องต้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
The 2022 ASEAN SDG Snapshot Report
รายงาน “ASEAN SDG Snapshot Report” ประจำปีค.ศ. 2022 ติดตามและแสดงผลการประเมินสถานะความก้าวหน้าของ SDGs ของประเทศสมาชิกอาเซียน แม้จะมีความท้าทายอันเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่