Overcoming Data Graveyards in Official Statistics
รายงาน “Overcoming Data Graveyards in Official Statistics” ให้ความชัดเจนด้านแนวคิดเกี่ยวกับความท้าทายและแนวทางในการพัฒนาการใช้ข้อมูลสถิติเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและแนวทางการวิจัยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ OPEN DATA WATCH ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022
รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2022” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 โดยรายงานฉบับนี้แสดงข้อมูลให้เห็นว่าด้วยอัตราความก้าวหน้าในปัจจุบัน อาจต้องใช้เวลาเกือบ 300 ปีจึงจะบรรลุความเท่าเทียมทางเพศอย่างสมบูรณ์ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Science Literacy: Media Toolkit in Support of the Sustainable Development Goals
“Climate Science Literacy: Media toolkit in support of the Sustainable Development Goals” หรือ “ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นโปสเตอร์ชุดความรู้สื่อประสมเรื่องภูมิอากาศวิทยานี้จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในขั้นพื้นฐานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้อธิบายความเสี่ยงและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะโดยรวม เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของวิกฤตนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
Addressing Mental Health in Thailand
รายงาน “Addressing mental health in Thailand” เป็นเอกสารเพื่อประกอบการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) สมัยที่ 75 ของคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO Regional Committee for South-East Asia) นำเสนอข้อมูลภาพรวมของปัญหาสุขภาพจิตและการบริการด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยล่าสุด หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO South-East Asia) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Social Outlook 2022: The Workforce We Need
รายงาน ‘Social Outlook for Asia and the Pacific: The Workforce We Need’ ระบุถึงสถานการณ์แรงงานในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ว่า เเรงงานกว่า 2.1 พันล้านคนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงงานที่มีคุณค่า (decent work) การดูแลสุขภาพ (healthcare) และการคุ้มครองทางสังคม (social protection) เเม้ว่าจะมีนโยบายและเครื่องมือการจัดการจำนวนมากที่รัฐบาลสามารถใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง สร้างหลักประกันว่าสิทธิความต้องการของเเรงงานและครอบครัวของพวกเขาจะถูกยกระดับให้ดีขึ้นก็ตาม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Workforce We Need: Social Outlook for Asia and the Pacific
รายงาน “The Workforce We Need: social outlook for Asia and the Pacific” มุ่งเน้นสำรวจประเด็นการพัฒนาสังคมในเอเชียและแปซิฟิกโดยเฉพาะ โดยภายใต้ธีมของปีค.ศ. 2022 นี้ ให้เนื้อหาวิธีการสร้างแรงงานที่มีสุขภาพดี ได้รับการคุ้มครอง และมีประสิทธิผลในเอเชียและแปซิฟิก เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน และกล่าวถึง 4 เมกะเทรนด์หลักที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูงวัย การเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล และความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ประชากรศาสตร์ และดิจิทัล ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการทำงานในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery
บทสรุปเชิงนโยบาย “Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery” ให้ความสำคัญและขยายความแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำต่อประชากรในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ งาน สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคงทางอาหาร โดยบทสรุปเชิงนโยบายนี้เป็นผลลัพธ์จากการหารือบนเวทีการประชุมเชิงวิชาการอาเซียน-จีน-UNDP ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Investor Map Thailand 2022
โครงการ “แผนท่ีการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนา ท่ียั่งงยืน” (SDG Investor Maps) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Investor Platform) เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอโอกาสด้านการลงทุน (Investment Opportunity Area: IOA) ในธุรกิจท่ีสามารถตอบ โจทย์การพัฒนาท่ียั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ อาทิ โอกาสทางการตลาด ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความเสี่ยงท่ีเกี่ยวข้อง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่