รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2022
รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น” หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564
รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2564 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2021) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Happiness and Well-being Policy Report 2022
รายงาน “Global Happiness and Well-being Policy Report 2022” จัดทำโดย Global Happiness Council (GHC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิชาการชั้นนำด้านความสุขและคนทำงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา สาธารณสุข ภาคประชาสังคม ธุรกิจ และรัฐบาล ทำการประเมินผลกระทบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ผ่านเลนส์ความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) และถ่ายทอดบทเรียนข้อค้นพบบางประการที่จะมีประโยชน์กับรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Global Happiness Council ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume
รายงาน “Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume” นำเสนอข้อมูลล่าสุดของแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานที่ส่งผลกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะกับทุกตัวชี้วัดภายใต้เป้าประสงค์ SDG10.7 รวมทั้งยังรวบรวมแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022
รายงาน “Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022” หรือ “รายงานยาเสพประเภทติดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพัฒนาและความท้าทายล่าสุด ปี 2565” แสดงสถานการณ์รล่าสุดของยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ (synthetic drugs) โดยเฉพาะสารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน (ATS) และสารออกฤทธิ์ทางจิตใหม่ ๆ รวมถึงฝิ่นสังเคราะห์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Lessons from COVID-19 for Climate Change
เอกสารสมุดปกขาว “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่