Global Report on Food Crises 2022
Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Child Health and Well-being Dashboard
เว็บไซต์แสดงผล “Child Health and Well-being Dashboard” นำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของวัยรุ่นและเด็กในระดับประเทศทั่วโลกผ่านตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สิทธิเด็ก เพื่อสนับสนุนนโยบาย รัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในการติดตามและเปรียบเทียบตัวชี้วัดของแต่ละประเทศ ไปจนถึงการวางแผนและการกำหนดนโยบายเพื่อสิทธิเด็ก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการ CAP 2030 ดาวน์โหลด: ข้อมูลฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2022
รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2022 : widening disparities amid COVID-19” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และยังประเมินปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ ในภูมิภาค ชี้ให้เห็นช่องว่างที่จำเป็นต้องถมปิดเพื่อการบรรลุ SDGs ให้ทันภายในปีค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action
รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)
คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่